เผย ล่าสุด แรงงานนอกระบบ ทะลุ 24 ล้านคน แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เผย ล่าสุด แรงงานนอกระบบ ทะลุ 24 ล้านคน แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เปิดเผยผลสำรวจแรงงานนอกระบบ ล่าสุดปี 2551 พบ แรงงานนอกระบบ เพิ่มเป็น 24.1 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 63.7 หรือเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านคนทั้งนี้ แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้ที่ทำงานตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่การทำงานไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน

ทั้งนี้ ผลการสำรวจแรงงานนอกระบบในปี 2551 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้ จำนวนแรงงานนอกระบบ จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้นประมาณ 37.8 ล้านคน ผลการสำรวจ พบว่าเป็นแรงงานนอกระบบ 24.1 ล้านคน หรือร้อยละ 63.7 และเป็นแรงงานในระบบ 13.7 ล้านคน หรือร้อยละ 36.3

อย่างไรก็ดีตั้งแต่ปี 2548 ถึงปี 2551 พบว่า แนวโน้มของผู้มีงานทำที่อยู่ในแรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2548มีแรงงานนอกระบบ 22.5 ล้านคน

คิดเป็นร้อยละ 62.1 และปี 2551เพิ่มขึ้นเป็น 24.1 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 63.7 หรือเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านคน

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสัดส่วนร้อยละของแรงงานในระบบและนอกระบบ ในแต่ละภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนแรงงานนอกระบบมากที่สุด คือ แรงงานนอกระบบร้อยละ 79.4 และแรงงานในระบบร้อยละ 20.6 รองลงมาเป็นภาคเหนือร้อยละ 74.3 และร้อยละ 25.7 และภาคใต้ ร้อยละ 60.3 และร้อยละ 39.7ตามลำดับ

ส่วนกรุงเทพมหานครสัดส่วนของแรงงานในระบบมีมากกว่าแรงงานนอกระบบ คือ แรงงานในระบบร้อยละ 68.4 และแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 31.6 และภาคกลาง มีร้อยละ 50.8 และร้อยละ 49.2ตามลำดับ

สำหรับระดับการศึกษาของแรงงานนอกระบบ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับต่ำกว่าและประถมศึกษาถึง 16.8 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 69.7 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด รองมาเป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา 5.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 24.2 ส่วนผู้จบในระดับอุดมศึกษามี 1.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.9 จะเห็นได้ว่าแรงงานนอกระบบจะเป็นผู้มีการศึกษาในระดับไม่สูงนักและเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องดูแล พัฒนาฝีมือ และทักษะของแรงงานเหล่านี้ให้มีศักยภาพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook