ปล่อยเต่าถูกวิธี เปลี่ยนบาปเป็นบุญ

ปล่อยเต่าถูกวิธี เปลี่ยนบาปเป็นบุญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คงไม่ผิดหากบอกว่าการปล่อยเต่าและตะพาบน้ำถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง แต่จะได้บุญจริงหรือ!! หากว่าแหล่งน้ำที่นำไปปล่อยไม่มีความเหมาะสม แทนที่จะได้บุญกลับกลายเป็นบาป เช่น การปล่อยเต่าบกลงบ่อน้ำที่ไม่มีพื้นที่ให้เต่าขึ้นมาพัก ทำให้เต่าจมน้ำตายในที่สุด หรือแหล่งน้ำเน่าเสียและมีสภาพเป็นกรด ทำให้เต่าติดเชื้อโรค ตาบอด ถูกน้ำกัดและเป็นแผล การปล่อยเต่าในแหล่งน้ำขนาดเล็กและคับแคบ ทำให้เต่าอยู่กันอย่างแออัด ทุกข์ทรมาน บาดเจ็บ และจบชีวิตลงในที่สุด

โครงการคืนชีวิตเต่าและตะพาบน้ำสู่ธรรมชาติ จึงเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินการของ ชมรมรักษ์เต่า โดย ขจร เจียรวนนท์ ประธานชมรมฯ และ รศ.สพญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานร่วมฯ เพื่อช่วยชีวิตเต่าและตะพาบน้ำที่บาดเจ็บจากเหตุการณ์เหล่านี้ โดยทำการอนุบาลและรักษาให้หาย ก่อนนำไปปล่อยยังแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ล่าสุดจับมือกับ www.helplink.net เว็บไซต์ซึ่งมีแนวคิดที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการช่วยเหลือ และอาสาสมัคต่าที่มีผู้นำมาปล่อยไว้จนอยู่อย่างแออัด ณ วัดโพสพผลเจริญ จ.ปทุมธานี มารักษาและนำไปปล่อย ณ โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี

ขจร เจียรวนนท์ กล่าวว่า กิจกรรมแต่ละครั้งไม่ได้กำหนดว่าต้องปีละกี่ครั้งหรือช่วงไหน แต่อยู่ที่ว่าจะรวมพลได้เมื่อไหร่ เต่าบางตัวหายเร็ว แต่บางตัวที่กระดองหัก ปอดยุบ เพราะโดนรถชนต้องรักษาเป็นปี ค่าใช้จ่ายสูงมากอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาทต่อตัว ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 สามารถรอดชีวิตได้ เพราะเมื่อให้การรักษาแล้วก็จะรอดูจนแน่ใจว่าเขาปลอดภัยแล้วจึงนำไปปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติ หลังจากทำการปล่อยเต่าลงแหล่งน้ำใหม่แล้ว มีการติดตามผลด้วยว่าเขาเป็นอย่างไร

รศ.สพญ.ดร.นันทริกา กล่าวว่า เต่าที่นำมาปล่อยครั้งนี้มีจำนวน 203 ตัว ส่วนใหญ่จับมาจากวัดโพสพฯ รวมกับเต่าบาดเจ็บที่นำไปรักษาที่บ้านจนอาการดีขึ้น อาการเจ็บป่วยของเต่าที่พบมีหลายอย่าง เช่น ขาดอาหาร บาดเจ็บทางกายภาพ ถูกรถทับ ติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อต่าง ๆ แต่เจอพยาธิกับปลิงในเต่ามากที่สุด คาดว่าน่าจะมีเต่าที่มีปัญหาอยู่นับหมื่นตแม้จะมีกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า อยู่แต่ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้เยอะ สำหรับแหล่งน้ำแห่งใหม่พยายามหาแหล่งที่มีความหลาก หลายทางชีวภาพ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ และจะเลือกเฉพาะเต่าที่พบได้ในเขตนั้นไปปล่อย จะไม่เอาเต่าต่างถิ่นไปปล่อย

ฝากถึงคนที่อยากทำบุญปล่อยเต่าว่า หากอยากได้บุญจริง ๆ ควรดูว่าสถานที่ ที่นำเต่าไปปล่อยนั้นมีภาวะมลพิษหรือไม่ เขาอยู่ได้มั้ย จะกินอะไรเป็นอาหารได้บ้าง อยากให้ศึกษาข้อมูลหรือสอบถามผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญก่อน นำมาปล่อย เขาจะได้ไม่เป็นอันตราย ส่วนพ่อค้าแม่ค้าที่ขายเต่าก็อย่าให้อยู่อย่างแออัดหรือขาดอาหาร อยากให้เห็นใจสัตว์เหล่านี้บ้าง ผักที่ให้เต่ากินก็ควรล้างอย่าให้มียาฆ่าแมลง ขนมปังไม่เหมาะ ให้เต่ากิน เพราะเป็นแป้ง ถ้าใส่ใจดูแลกันอย่างนี้ก็จะมีความสุขและได้บุญกันทุกฝ่าย รศ.สพญ.ดร. นันทริกา กล่าว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook