วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ

วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา การเกษตรของประเทศไทยโดยเฉพาะประเด็นเรื่องพื้นที่การปลูกข้าว เป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกหยิบยกและพูดถึงโดยเฉพาะในการประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจาก นายสุรศักดิ์ เจือสุคนธ์ทิพย์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำหนังสือถึง นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสอบถามกรณี กลุ่มประเทศคณะรัฐมนตรีความมั่นคงรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) 6 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ โอมาน สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ บาห์เรน คูเวต และซาอุดิอาระเบีย แสดงความสนใจเข้ามาทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์และทำนาปลูกข้าวในไทย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากในช่วงเดือน พฤษภาคม 2551 สมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ชักชวนนักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย เข้ามาลงทุนทำนา หรือเช่าที่ดินทำนาและส่งข้าวออกขายต่างประเทศ พร้อมทั้งได้จัดตั้ง "บริษัทรวมใจชาวนา ขึ้นเพื่อรองรับการลงทุนของนักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย แต่ถูกกระแสต่อต้านทั้งจากพรรคการเมือง องค์กรภาคประชาชนกลุ่มเกษตรกร กรณีที่เกิดขึ้น ต่างมีเสียงตอบรับในหลายทางทั้งการคัดค้าน และการรอดูท่าทีของต่างประเทศ โดย นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลสนับสนุนให้ชาวต่างชาติลบทุนทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์และปลูกข้าวในไทยเท่ากับว่าขายชาติและทำร้ายเกษตรกรและวิถีชีวิตบรรพบุรุษไทยโดยจะทำให้คนส่วนใหญ่ในชาติกว่า 40 ล้านคน ที่ทำนา ทำไร่ ปลูกผักผลไม้ เลี้ยงสัตว์ เดือนร้อน ด้านบรรดาผู้ส่งออกข้าวระบุว่ารัฐไม่ควรอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เพราะไทยมีเทคโนโลยีการผลิตสูงอยู่แล้วและยังสามารถส่งออกเครื่องสีข้าวไปต่างประเทศได้ ส่วนเรื่องการร่วมทุนก็ไม่จำเป็น เพราะผู้ประกอบการไทยมีักยภาพแต่เป็นห่วงว่า ขณะนี้มีนายทุนต่างชาติพยายามใช้สิทธินอมินีเข้ามาซื้อที่ดินทำเกษตรกรรมมากขึ้น รัฐจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ประเด็นดังกล่าวทำให้การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีการหยิบยกกรณีดังกล่าวขึ้นมาพูดคุยกัน โดยคณะรัฐมนตรีได้พูดคุยกันถึงจุดยืนของประเทศไทยที่ว่า หากมีการลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตร การแปรรูป รับซื้อสินค้าเกษตร หรือร่วมโครงการสำรองอาหารและความมั่นคงทางอาหารในกรอบของอาเซียนนั้น ประเทศไทยไม่ได้ขัดข้อง แต่การจะเข้ามาทำนา ซึ่งกฎหมายประเทศไทยสงวนอาชีพนี้ไว้ก็คงจะไม่ได้ ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ การเข้ามาลงทุนทำธุรกิจด้านการเกษตรของชาวต่างชาติต้องดูด้วยว่ามีรูปแบบอย่างไร หากเป็นรูปแบบการร่วมมือทางการค้า แบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ในการรับซื้อสินค้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะอาหารฮาลาล ก็มีความเป็นไปได้ เพราะไทยสามารถอาศัยความร่วมมือดังกล่าว ในการให้กลุ่มประเทศอาหรับเหล่านี้เป็นศูนย์กลางในการขยายตลาดสินค้าฮาลาลได้ แต่ถ้าการลงทุนเป็นลักษณะการเข้ามาตั้งบริษัท เช่าที่ดิน และจ้างเกษตรกรเป็นพนักงาน ก็คงเป็นไปไม่ได้ โดยได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบรายละเอียดการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเอกชนไทยด้านธุรกิจการเกษตรที่ชาวต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนตั้งแต่ 40-49.99% ว่ามีปัญหาเรื่องนอมินีเกิดขึ้นหรือไม่ ภายหลังเกิดกระแสข่าวว่ามีชาวต่างชาติจำนวนมากให้ความสนใจเข้ามาลงทุนธุรกิจด้านการเกษตรในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เพราะอาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทย และมีกฎหมายป้องกันเรื่องการตั้งบริษัทนอมินีของชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด ผลของกระแสข่าวการเข้าลงทุนดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าถอเป็นข่าวดีที่ทำให้ทุกๆ หน่วยงานได้ให้ความสำคัญด้านการทำนาและพื้นที่การเกษตรมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ การจัดตั้งวันดังกล่าว ถือเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ข้าวไทย 2550-2554 เนื่องจากวันที่ 5 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทอดพระเนตรการทำนาที่ อ.บางเขน กรุงเทพมหานคร และทอดพระเนตรกิจการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เองในแปลงนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานต่อชาวสยามและข้าวไทย เป็นวาระสำคัญต่อกิจกรรมข้าวไทย ทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ กรณีการแสดงความสนใจเข้ามาทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์และทำนาปลูกข้าวในไทย ของกลุ่มประเทศ GCC นี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตื่นตัวถึงพื้นที่ทางการเกษตรและการทำนา รวมถึงชาวนาไทย ที่ทำให้ประเทศไทยอาจต้องหันมาทบทวนบทบาทของตนเองมากยิ่งขึ้น... เพราะหากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจะส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร? และเนื่องจากในอนาคตมีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอาหารและพื้นที่ทางการเกษตรจะเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการสูง ดังนั้นประเทศไทยควรต้องมีการเตรียมมาตรการในการตั้งรับปัญหาเหล่านี้อย่างไร? ติดตามคำตอบได้ในตอน บทวิเคราะห์: พื้นที่การเกษตรไทย กับการก้าวสู่ความเป็นครัวของโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook