ส.ส.-ส.ว.เสี่ยงเบาหวานสูง2เท่า
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    ส.ส.-ส.ว.เสี่ยงเบาหวานสูง2เท่า

    2009-07-06T11:45:37+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    จากที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายคนไทยไร้พุง จัดกิจกรรมสุขภาพฟิต พิชิตหวัด ระหว่างวันที่ 17-18 และ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่ก่อให้เกิดโรค

    วันที่ 5 ก.ค. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงผลการตรวจสุขภาพว่า จากจำนวนผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งสิ้น 625 คน ประกอบด้วยส.ส. 81 คน ส.ว. 39 คน และบุคคลทั่วไป ได้แก่ ผู้สื่อข่าว ผู้ติดตาม และบุคลากรในรัฐสภา จำนวน 505 คน พบว่า สุขภาพของส.ส.ชาย มีภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอวเกิน 90 ซ.ม.) 44% ปริมาณไขมันในช่องท้องเกินค่ามาตรฐาน 82% สุขภาพของส.ส.หญิง มีภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอวเกิน 80 ซ.ม.) 67% ปริมาณไขมันในช่องท้องเกินค่ามาตรฐาน 44% ความฟิตของร่างกายเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ขณะที่สุขภาพของส.ว.พบว่า เกือบทั้งหมดของจำนวนส.ว.เข้าร่วมตรวจสุขภาพมีไขมันในช่องท้องเกินเกณฑ์มาตรฐานมากกว่า 80 % ขึ้นไป ส่วนความฟิตของร่างกายในอยู่เกณฑ์ปานกลาง ซึ่งใกล้เคียงกับส.ส.

    นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า ขณะที่ผลการตรวจสุขภาพของบุคคลทั่วไปพบว่า ผู้ชายมีรอบเอวเกินค่ามาตรฐานเพียง 38% ปริมาณไขมันในช่องท้องเกินค่ามาตรฐาน 41% ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดน้อยกว่าส.ส.และส.ว. 1 เท่า ขณะที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวน้อยกว่ากลุ่มส.ว.ถึง 5 เท่า พบว่ามีรอบเอวเกินค่ามาตรฐานเพียง 29% ปริมาณไขมันในช่องท้องเกินค่ามาตรฐาน 14 %

    บ่งชี้ได้ว่า ส.ส.และส.ว. ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอายุมากกว่าบุคคลทั่วไป และมีกิจกรรมที่เคลื่อนไหวน้อย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือด สูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า เนื่องจากภาวะอ้วนลงพุงหรือไขมันในช่องท้องเกินค่ามาตรฐาน เป็นไขมันที่พร้อมจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระได้ง่าย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลินที่ส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป แนวทางแก้ไขจึงควรลดน้ำหนัก ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

    น.พ.ฆนัท ครุธกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ส.ส.และส.ว.มีน้ำหนักเกินเนื่องจากลักษณะของงานที่ต้องประชุมบ่อยครั้งและการลงพื้นที่ในงานต่างๆ ทำให้ต้องบริโภคอาหารบ่อย โดยเฉพาะอาหารว่าง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น ลดปริมาณอาหารว่างที่เป็นขนมหรือน้ำหวานเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น