กทม.ปรับแผนปรับปรุงสะพานข้ามแยก 13 แห่งให ดีเดย์1 ก.ย.นี้แยกรัชโยธินเป็นแห่งแรก

กทม.ปรับแผนปรับปรุงสะพานข้ามแยก 13 แห่งให ดีเดย์1 ก.ย.นี้แยกรัชโยธินเป็นแห่งแรก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กทม.ปรับแผนปรับปรุงสะพานข้ามแยก 13 แห่ง ใหม่ ดีเดย์1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป เริ่มแยกรัชโยธินเป็นแห่งแรก ใช้เวลาปรับปรุง 30 วัน แนะทางเลี่ยงใช้ทางลัด ห้าแยกลาดพร้าว และแยกดินแดนแทน ส่วนสะพานแยกอโศก-เพชรบุรี แยกพระราม9-รามคำแหงและแยกพระราม9-อสมท. ชะลอไปก่อน รอรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์และปรับปรุงถนนโลคัลโรดสร้างเสร็จ

นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากหารือร่วมกับตำรวจนครบาล(บช.น.) สถานีตำรวจนครบาล(สน.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อยุติจะปรับแผนการดำเนินงานปรับปรุงสะพานข้ามแยกทั้ง 13 แห่งใหม่ โดยจะปิดซ่อม 10 สะพาน สร้างใหม่ 1 สะพาน และอีก2 สะพาน จะชะลอออกไปก่อนจนกว่าโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์และการปรับปรุงถนนโลคัลโรลจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้

"ในการปรับปรุงจะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม และจะทำการปิดซ่อมทีละสะพานในแต่ละกลุ่ม เมื่อเสร็จแล้วถึงจะเริ่มสะพานตัวที่2,3และ4 ของแต่ละกลุ่ม จะไม่ปิดจราจรเกิน1 สะพานในจุดที่ใกล้ๆกัน ฉะนั้นในแต่ละช่วงเวลาจะมีการซ่อมไม่เกิน 4 สะพาน "

นายประกอบกล่าวว่า โดยจะเริ่มซ่อมสะพานแยกรัชโยธินก่อนเป็นแห่งแรก เริ่มวันที่ 1 กันยายนนี้ ใช้เวลา 30 วัน จะปิดจราจรฝั่งละ 15 วัน จากนั้นวันที่15 กันยายน เริ่มปิดสะพานสี่แยกบางพลัด ปิด90 วันฝั่งละ 45 วัน วันที่1 ตุลาคมมีสะพานแยกพงษ์เพชรและสะพานพระรามที่4 ปิด 90 ่งละ 45 วัน วันที่1 ธันวาคมมีสะพานแยกคลองตัน ปิด 180 วัน วันที่1 มกราคม 2553 ปิดสะพานแยกวงศ์สว่าง ปิด90 วันฝั่งละ 45 วัน วันที่ 1 เมษายน ปิดสะพานแยกเกษตร ปิด30 วัน วันที่ 15 เมษายน ปิดสะพานแยกสามเหลี่ยมดินแดง ปิด30 วัน วันที่1 พฤษภาคม ปิดสะพานแยกประชานุกูลและสะพานแยกท่าพระ ปิด 90 วัน ฝั่งละ45 วัน

สำหรับสะพานที่ต้องสร้างใหม่ คือ สะพานแยกอโศก-เพชรบุรี จะเริ่มรื้อโครงสร้างเดิมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไปใช้เวลารื้อ 4-5 เดือน จากนั้นใช้เวลาก่อสร้าง 8 เดือนสร้างเสร็จเดือนพฤษภาคม2553 ส่วนอีก 2 สะพานที่ต้องชะลอออกไป คือ สะพานแยกพระราม9-รามคำแหง และสะพาน9-อสมท. เพราะต้องรอให้โครงการแอร์พอร์ตลิงก์สร้างเสร็จ

"นับจากนี้จะทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้ทางทราบล่วงหน้า 30 วันโดยติดป้ายประกาศและป้ายนับถอนหลังในแต่ละแยกให้ทราบ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้สะพานที่ปรับปรุงใหม่ทั้งหมดนี้ เมื่อแล้วเสร็จจะมีสภาพเหมือนสะพานสร้างใหม่ มีอายุการใช้งาน 30 ปีขึ้นไป

พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.) กล่าว สาเหตุที่ปรับแผนเริ่มแยกรัชโยธินก่อนเพราะใช้เวลาซ่อมน้อยสุด ผั่งละ 15 วันเป็นการซ่อมแค่ผิวจราจรเท่านั้น เนื่องจากในอนาคตเส้นทางนี้จะมีรถไฟฟ้าสายใหม่เกิดขึ้น

สำหรับในการจัดจราจรจะมีการประสานกับสน.ท้องที่แต่ละแห่ง ทั้ง 13 แห่ง เพื่อดการจราจรในแต่ละพื้นที่รวมถึงทางเลี่ยงต่างๆด้วย ในเบื้องต้นจะมีการจัดจาจรทางราบแต่ละแยกโดยปล่อยสัญญาณไฟเขียวให้รถนานขึ้น

อย่างสะพานแยกรัชโยธิน ในช่วงปรับปรุงให้ประชาชนใช้ทางลัดต่างๆ เช่น ซอยหลังเมเจอร์รัชโยธิน ซอยโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ ซอยพหลโยธิน30 ซอยพหลโยธิน1 เป้นต้น หรือให้เลี่ยงไปใช้ห้าแยกลาดพร้าว แยกดินแดงแทน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ที่เป็นห่วงอีกอย่างคือช่วงฤดูฝน ที่มีปัจจัยแทรกซ้อนเยอะ ถ้าเลี่ยงได้อยากให้ประชาชนผู้ใช้ทางเลี่ยงด้วย เพื่อไม่ต้องประสบปัญหารถติด แต่คาดว่าจะประสบปัญหาไม่มาก เพราะบนสะพานยังเปิดให้ใช้อยู่ปิดแค่ฝั่งที่ทำการปรับปรุงแค่นั้น

"ทั้ง 13 แห่งที่น่าห่วงที่สุดคือ สะพานไทย-ญี่ปุ่น เพราะเป็นบริเวณที่ปริมาณการจราจรค่อนข้างหนาแน่นพล.ต.ต.กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook