ระบบควบคุมเครื่องพิมพ์ร้อน

ระบบควบคุมเครื่องพิมพ์ร้อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฝีมือมทร.ธัญบุรี

การผลิตสินค้าในปัจจุบันมีการใส่ตัวเลขลอตที่ผลิต หรือวัน เดือน ปี ที่ทำการผลิต และวัน เดือน ปี ที่หมดอายุ ลงบนหีบห่อของสินค้าแต่ละชิ้น แต่การใส่ตัวเลขเหล่านี้บนสินค้าแต่ ละชิ้นจำเป็นต้องใช้เวลาและคนจำนวนมากในการทำงาน ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง และอัตรา การผลิตสินค้าน้อย

จึงมีการคิดค้น การพัฒนาระบบควบคุมเครื่องพิมพ์ร้อน โดยนางสาวศุภลักษณ์ จำปาวัลย์ นายพงศธร กีบุญมี นายพัฒนชัย มงคล นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดยมี ผศ.ธนะพงศ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมงาน

ผศ.ธนะพงศ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวว่า เครื่องพิมพ์ร้อนที่ใช้อยู่ทั่วไปจะใช้ตัวต้านทานปรับค่า (VR) ในการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทำให้ไม่มีความเสถียรในการทำงาน เพราะประมาณค่าพารามิเตอร์ ทำให้ไม่ทราบค่าที่แน่นอน และถ้าใช้งานเครื่องเป็นเวลานาน ๆ ตัวต้านทานปรับค่ายังมีการยึดค่าและหดค่าของอุปกรณ์

นอกจากนี้ เมื่อทำการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าตัวผลิตภัณฑ์ชิ้นเดิม จะต้อง ทำการตั้งค่าพารามิเตอร์ใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ทำให้เกิดความยุ่งยากในการปรับค่าพารามิเตอร์ใหม่ ซึ่งในการตั้งค่าใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องทดสอบกับฉลากของตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ทำให้ต้องใช้ฉลากเป็นจำนวนมากในการทดสอบแต่ละครั้ง เป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น และยังทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น จึงได้คิดค้นและพัฒนาระบบเครื่องพิมพ์ร้อนเพื่อลดปัญหาดังกล่าว โดยปรับเปลี่ยนในส่วนของการตั้งค่า พารามิเตอร์ต่าง ๆ ให้เป็นระบบดิจิทัลทำการแสดงค่าเป็นตัวเลข เพื่อลดความยุ่งยาก ตั้งค่ง่ายขึ้น

หลักการทำงานคือ ทำให้หัวพิมพ์เกิดความร้อน จากนั้นแรงจากลมอัดจะทำให้หัวพิมพ์กดลงบนผ้าหมึก (Robbin) ซึ่งเมื่อผ้าหมึกถูกความร้อนหมึกจะละลายติดลงบนชิ้นงาน เครื่องพิมพ์ร้อนที่นำมาทำการพัฒนา สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้ 12 ชิ้นต่อนาที โดยแสดงค่าพารามิเตอร์และจำนวน ชิ้นงานได้ 99 ชิ้น บนหน้าจอแอลซีดีอุณหภูมิที่ใช้ในการพิมพ์ชิ้นงาน คือ ระหว่าง 100-150 องศาเซลเซียส ใช้ลมอัด 3-4 บาร์ ในการควบคุมแรงกดของหัวพิมพ์ โดยสามารถทำการเปลี่ยนตัวเลขหรือตัวอักษรได้ เครื่องพิมพ์ร้อนสามารถบันทึกค่าและดึงค่าที่บันทึกไว้ออกมาใช้งาน และทำงานได้สองระบบ คือแบบ อัตโนมัติและแบบทั่วไป.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook