มีคนกล้าทำ?

มีคนกล้าทำ?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
บ้านเรานี้ถือว่าโชคดีนะครับ นอกจากจะมีกระบวนการยุติธรรม เริ่มตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาลคอยพิสูจน์การกระทำของบุคคลทั่วไปว่าประพฤติกับหลักของกฎหมายหรือไม่ ยังมีคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ของรัฐสภามาช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับประชาชน อีกด้วย

ยิ่งถ้าหากข้อสรุปของ องค์กรต่าง ๆ ที่มีตัวแทน ประชาชนเข้าไปมีส่วนรวม ไม่คำนึงประโยชน์ทางการเมืองหรือเลือกว่าอยู่ข้างใคร ผมว่าจะเป็นประโยชน์มากเลยครับ แถมยิ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าออกนอกลู่นอกทาง

อย่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนซัมมิท.+3+6 ในช่วงเดือนเมษายนฯ ที่ต้องล้มไปเพราะฝีมือของ แกนนำ นปช. และคนเสื้อแดงบางคน ผมไม่รู้ว่าการดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุและสร้าง ความวุ่นวายในช่วงนั้น ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว การตั้งข้อกล่าวหา กับผู้กระทำความผิดมีระดับหนักเบาอย่างไร

แต่พอได้อ่าน ผลสอบของอนุกรรมการรวบรวมเหตุ การณ์ที่เมืองพัทยาและภูมิภาค ซึ่ง นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะประธานอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่เมืองพัทยาและภูมิภาค ไปสอบสวนมาและได้ข้อสรุปที่น่าสนใจ ผมขออนุญาตนำบางส่วนมาเผยแพร่

เพื่อช่วยย้อนความจำของ นยกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านความมั่นคง ไม่แน่ใจ ฯพณฯ ทั้งสองจะลืมเหตุการณ์ซึ่ง ทำให้ประเทศไทยต้องได้รับชื่อเสียไปทั่วโลกแล้วหรือยัง

อนุกรรมการฯ มีความเห็นสำหรับการบุกรุกเข้าไปโรงแรม ที่จัดการประชุมอนุกรรมการฯ เห็นว่ายังมีผู้กระทำผิด และร่วมกระทำความผิดอีกมาก โดยเฉพาะแกนนำกลุ่มเสื้อแดงที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี เพราะมีการปลุกระดมให้ผู้ชุมนุมใช้กำลังบุกรุกสถานที่ เพื่อจับกุมนายกรัฐมนตรีและผู้นำประเทศต่าง ๆ ซึ่งเข้าข่ายการประทุษร้ายต่อเสรีภาพของประชุมแห่งรัฐต่างประเทศ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดต่อความมั่นคงของ รัฐภายนอกราชอาณาจักรมาตรา 127 ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และถ้าเกิดเหตุร้ายผู้กระทำมีโทษถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังมีความผิดตามกฎหมายเดียวกันมาตรา 113 ประกอบมาตรา 130 เป็นต้น คำแถลงของนายอโณทัยที่ นสพ.ไทยโพสต์เขานำมาลงครับ

ก่อนหน้าคงจำกันได้ว่า ตำรวจเพิ่งแจ้งข้อกล่าวหากับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เข้าไปยึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองในข้อหา การก่อการร้าย

นอกจากในบทสรปรายงานชิ้นนี้ ยังสรุปถึงความบกพร่อง ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการดูแลการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนฯ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานด้านการข่าวรัฐบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วยนะครับ

หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ การทุบรถยนต์ของนายกฯ ในระหว่างติดไฟแดงในช่วงเดินทางไปพัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 7 เม.ย. คณะทำงานของสภาสูงก็สรุป โดยเชื่อว่าเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นความตั้งใจให้เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นไปเพราะความบังเอิญหรือผิดพลาดโดยไม่เจตนา และเสนอว่ารัฐบาลควรทำเรื่องนี้ให้กระจ่างและดำเนินคดีทางอาญาและทางวินัยกับผู้ที่กระทำความผิดอย่างเร่งด่วน

ก็ต้องวัดใจนายกฯ จะตรวจสอบเรื่องนี้ หรือจะปล่อยให้ผ่านเลยไป แต่ถ้าหากมีกระบวนการถึงขั้นวางแผนให้รถผู้นำประเทศติดไฟแดง เพื่อหวังทำร้าย ต้องไม่ใช่ฝีมือคนธรรมดา แล้วละครับ.

เขื่อนขันธ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook