สาวเดบูตองส์ประดิษฐ์เก้าอี้เพื่อเด็กพิการ

สาวเดบูตองส์ประดิษฐ์เก้าอี้เพื่อเด็กพิการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ก่อนเปิดตัวสาวน้อยเดบูตองส์ ทายาทผู้มีชื่อเสียงในสังคมที่เพียบพร้อม ด้วยการศึกษา กิริยามารยาทและความ สามารถเฉพาะตัว ให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน อย่างเป็นทางการในงาน เอ็มโพเรี่ยม เลส์ เดบูตองส์ ออง โบเต ในวันที่ 22 ก.ค. นี้ ศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรี่ยม ชอปปิง คอมเพล็กซ์ นำสาวเดบูตองส์ ปีที่ 4 ร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม เอ็มโพเรี่ยม เดบูตองส์ แคร์ริ่ง ฟอร์ คิดส์ ประดิษฐ์เก้าอี้กระดาษ เปเปอร์มาเช่ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และปัญหาพิการซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือให้สามารถนั่งเองได้ ณ พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลราชานุกูล สถาบันราชานุกูล เขตดินแดง

อรธิรา ภาคสุวรรณ ผู้จัดการทั่วไป การตลาดศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยมฯ กล่าวว่า กิจกรรมประดิษฐ์เก้าอี้เปเปอร์มาเช่เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เพื่อให้สาวเดบูตองส์ซึ่งเป็นเยาวชนต้นแบบคนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถตระหนักถึงคุณค่าของการให้ โดยสัมผัสและเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไป

กิจกรรมเพื่อสังคาวนำ 7 สาวจาก 8 สาวเดบูตองส์ ร่วมทำกิจกรรมได้ แก่ จันทร์สิรี ประวิตร ณ อยุธยา, พิชญาดา อัตตะนันทน์, พัทธมน เตชะณรงค์, ปรมา ไรวา, ริตา จิรา, อัญจิฎา กรรณสูต และ กิติวิชญา วัชโรทัย ขาดเพียง สุดหทัย เมทะนี เนื่องจากติดภารกิจสำคัญ กิจกรรมเริ่มด้วยการนำนิตยสารเก่ามา บริจาคให้แก่โครงการประดิษฐ์เก้าอี้ฯ จากนั้นรับฟังขั้นตอนการประดิษฐ์จาก อุบลรัตน์ ชุนเจริญ นักเวชนิทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สถาบันราชานุกูล เช่น การกวนกาวให้ถูกวิธี มีความเหนียวให้พอเหมาะ การแปะกระดาษ บนตัวโครงไม่ให้เกิด การโป่งพอง การเลือกกระดาษโดยใช้กระดาษปรู๊ฟแทนกระดาษมันเพื่อแห้งเร็วและไม่ขึ้นรา ส่วนการติดกระดาษขั้นสุดท้ายให้ใช้สีฉูดฉาด เนื่องจากเด็ก ๆ ชอบ โดยระหว่างการประดิษฐ์เน้นเรื่องความปลอดภัย เรียบสนิท และแข็งแรง

หลังแบ่งกลุ่มสาวเดบูตองส์เป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มลงมือสร้างสรรค์ผลงาน เริ่มตั้งแต่ฉีกกระดาษ ทากาว และแปะกระดาษจนหนาพอสมควรจึงนำมาผึ่งลม แต่ละคนตั้งอกตั้งใจในการทำประโยชน์เพื่อสัาก โดย นาม-ปรมา ไรวา กำลังศึกษา ไฮสคูลในประเทศอังกฤษ กล่าวว่า ภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้รับเลือกเป็นสาวเดบูตองส์ เพราะส่วนตัวเป็นคนไม่เรียบร้อย รู้สึกสนุก และรู้สึกดี ๆ ที่ได้มาทำประโยชน์ให้แก่สังคม

ด้าน พิม-ริตา จิรา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า เคยร่วมงานการกุศลโดยการเลี้ยงเด็กกำพร้า และทำบุญกับครอบครัวมาบ้าง แต่การประดิษฐ์เก้าอี้เปเปอร์มาเช่เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสมาร่วม นอกจากสนุก สิ่งที่ทำยังเกิดประโยชน์สำหรับเด็กผู้พิการ ขณะ ที่ มะปราง-กิติวิชญา วัชโรทัย นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า เกิดความรู้สึกดี ๆ ที่ได้ช่วยเหลือสังคม สาวเดบู ตองส์ไม่ได้แต่งตัวสวยอย่างเดียวแต่เป็นสาวสังคมที่สวยงาม และมีการสอดแทรกการทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วย.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook