ผลสรุปความสมานฉันท์ต้องทำให้ได้

ผลสรุปความสมานฉันท์ต้องทำให้ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ในสถานการณ์ขณะนี้ทั้งเรื่องวิกฤติทางเศรษฐกิจ และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดลุกลามไปทั่วโลก มีผล กระทบถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ถึงแม้ว่า ปัญหาการเมืองในเวลานี้ดูแล้วเหมือนว่าจะเบาบางลงไปได้บ้าง แต่ในเรื่อง ความสมานฉันท์ทางการเมืองของแต่ละกลุ่มแต่ละสี ยังแบ่งแยกกันอย่าง ชัดเจน อย่างไรก็ดี ในเรื่องความสมานฉันท์ทางการเมืองนั้น คณะกรรมการ สมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้สรุป ประเด็นต่าง ๆ ส่งมอบรายงานให้แก่ประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคงต้องรอดูผลต่อไปว่าจะเกิดผลตามมาอย่างไรบ้าง

ปัญหาทางการเมืองที่ผ่านมา หลายคนได้ลงความเห็นว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้ เกิดอุปสรรคติดขัดในการดำเนินการทางการเมือง และก็มีอีกหลายคนไม่เห็นว่า เป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ แต่ที่เกิดปัญหานั้นก็เพราะนักการ เมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่เถียงกันไปมาไม่จบสิ้นว่าอะไรเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้การเมืองไทยเกิดปัญหาไม่หยุดหย่อน และเชื่อว่ามีเสียงจำนวนมากที่เห็นด้วยกับคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่เห็นว่าสภาพปัญหาของการเมืองไทย นั้นมีบางส่วนมาจากรัฐธรรมนูญ จึงสมควรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางประเด็น และบางมาตราเป็นการเร่งด่วนเฉพาะหน้า

สำหรับ 6 ประเด็นที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอให้แก้ไขเฉพาะหน้านั้น อยากจะย้ำให้รับทราบกันมากยิ่ง ๆ ขึ้น ซึ่งมีประเด็นดังต่อไปนี้คือ 1 ประเด็นการยุบพรรคการเมือง ประเด็นที่ 2 เรื่องของที่มา ส.ส. โดยให้ใช้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว และเรื่อง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ประเด็นที่ 3 เรื่องที่มาของ ส.ว. โดยให้ใช้ระบบแบบปี 2540 ประเด็นที่ 4 เรื่องก็การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ประเด็นที่ 5 เรื่องให้ ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ อาทิ เลขาฯ หรือที่ปรึกษารัฐมนตรีได้ ประเด็นที่ 6 ให้ ส.ส. และ ส.ว. สามารถเข้าไปแก้ปัญหาของประชาชนผ่านส่วนราชการได้

แน่นอนที่สุดประเด็นต่างๆที่ทางคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการเร่งด่วนนั้น ย่อมจะมีกลุ่มที่เห็นด้วย และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งคิดว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดกระแสในความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านติดตามมา อย่างไรก็ตามความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดาทางการเมือง แต่อยากให้กลุ่มที่คัดค้านหรือสนับสนุนจะต้องร่วมด้วยช่วยกันคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ มิใช่เอาแต่ใจของกลุ่มพวกตนเองเท่านั้น ควรที่จะฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนทั้งประเทศด้วยว่ามีความเห็นไปในทิศทางใด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของคนไทยทั้งมวล ไม่ใช่เป็นของเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook