นายกฯ เปิดประชุมรมต.อาเซียน ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์ประชาคมเชื่อมโยงปี 58
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/160/804759/news.jpgนายกฯ เปิดประชุมรมต.อาเซียน ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์ประชาคมเชื่อมโยงปี 58

    นายกฯ เปิดประชุมรมต.อาเซียน ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์ประชาคมเชื่อมโยงปี 58

    2009-07-20T11:34:21+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    อภิสิทธิ์ กำหนด 3 ยุทธศาสตร์ให้อาเซียนก้าวไปสู่การเป็นประชาคมที่ปฏิบัติได้จริงและเป็นประชาคมที่เชื่อมโยงกันได้ทุกด้าน เดินหน้าตั้งประชาคมเสร็จปี 2558 และจะต้องเป็นประชาคมของประชาชนอย่างแท้จริง

    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 20 กรกฏาคม โรงแรมเชอราตันแกรนด์ ลากูน่า ภูเก็ต พร้อมกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ดังนี้

    ในโอกาสแรก นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต่อร่างเอกสารขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรม าธิการระหว่างรัฐบาลของอาเซียนว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนอาเซียน ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนแล้ว พร้อมทั้งกล่าวต้อนรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 (the 42nd ASEAN Ministerial Meeting -AMM) ณ เกาะภูเก็ต หรือ ไข่มุกแห่งอันดามัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก ที่ผ่านมาเคยได้รับความเสียหายจากวาตภัยสึนามิ แต่ในวันนี้พบเห็นได้ คือ เศรษฐกิจท้องถิ่นที่หลากหลาย ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณชาวภูเก็ตที่ร่วมให้การต้อนรับผู้มาเยือนครั้งนี้อย่างอบอุ่น

    อาเซียนได้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 42 ปีที่ผ่านมา โดยในอดีตได้ถูกแบ่งแยกตามแนวคิดนิยม ปัจจุบัน คือ หนึ่งชุมชนที่ประกอบด้วย 10 ชาติสมาชิก ภาตใต้จุดหมายเดียวกัน ในฐานะภูมิภาคแล้ว อาเซียนต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ นับตั้งแต่ การเป็นด่านหน้าในช่วงสงครามโลก จนถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 จากสึนามิ ซาร์ส ถึงไข้หวัดนก ในแต่ละครั้งอาเซียนในฐานะกลุ่มภูมิภาค เอาชนะความท้าทายและเดินหน้าสู่การสร้างชุมชน และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นชุมชนที่มีความสามารถในการแข่งขันและให้ความเอาใจใส่ประชาชนของตนเอง

    ตั้งแต่ประเทศไทยได้รับตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว มีการกำหนดเป้าหมายหลักในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย 3 ประการ ที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ คือ

    1. การปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน โดยการจัดตั้งกลไกต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในกฎบัตร เพื่อพัฒนาองค์กรของอาเซียน รวมทั้งการจัดตั้งคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน อันจะช่วยผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนตามปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน

    2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ชะอำ หัวหิน นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสพบปะกับตัวแทนภาคเอกชน เยาวชน สมาชิกรัฐสภา และภาคประชาสังคม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในทุกระดับได้มีการตระหนักรู้และมีส่วนร่วมในการ สร้างประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน กำลังจะได้รับการจัดตั้งขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนตุลาคมที่ จะถึงนี้ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายและตามเวลาที่กำหนดไว้

    3. การร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาค และกับประเทศพันธมิตรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค ที่ผ่านมา อาเซียนได้มีบทบาทในการสร้างความมั่นคงมนุษย์และปกป้องสวัสดิการให้กับคนใน ภูมิภาคนี้ แต่เพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจโลก พวกเราต่างเห็นพ้องที่จะพัฒนา มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ สู่การเป็นพหุภาคี เพื่อเป็นแนวทางเพื่อต้าน ระบบคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรต่างๆในชุมชนระหว่างประเทศ อาทิ G-20 เพื่อร่วมกันฟื้นคืนเศรษฐกิจโลกโดยความรวดเร็วและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขณะนี้ ทั่วโลก กำลังจ้องมองอาเซียนและหวังว่าเราจะเป็นพลวัตรการเติบโตที่สำคัญที่ขับ เคลื่อนเศรษฐกิจโลกออกจากภาวะวิกฤต

    ทั้งนี้ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน จะเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอาเซียนเองก็มีการเตรียมการในเรื่องนี้อย่างทันท่วงที ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การจัดให้มีกลไกระบบสำรองข้าวของประเทศอาเซียน +3 ในภูมิภาคนี้ และให้มีความร่วมมือด้านพลังงานที่เข้มแข็ง สำหรับการแพร่กระจายของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (A H1N1) มีการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 นัดพิเศษ เพื่อร่วมมือกันสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งเราได้มีความร่วมมือร่วมกันเพื่อการเร่งผลิตวัคซีนให้เพียงพอสำหรับการ แพร่ระบาด โดยร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก เดือน ตุลาคม นี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดหวังที่จะได้ผลสรุปร่วมกันเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของประชาคม และในเดือนธันวาคมประเทศไทยจะมอบวาระประธานอาเซียนให้กับเจ้าภาพคนต่อไป ซึ่งก็คือ ประเทศเวียดนาม

    อาเซียนยังคงก้าวต่อไปข้างหน้าตามเป้าประสงค์ของการเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 และเพื่อไปยังจุดนั้น เราต้องช่วยกันคิดว่า ประชาคมประเภทไหนที่เราอยากเห็น และในภูมิภาคที่มีความหลากหลายเช่นนี้ นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่า จะได้เห็นความหลากหลายทางความคิด แต่กว่าจะถึงปี 2558 นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า จะได้เห็นการบรรจบลงทางความคิดที่เป็นทางเดียวกัน สำหรับมุมมองของประเทศไทย ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างแรก ต้องเป็นประชาคมแห่งการปฏิบัติ "Community of Action" อาเซียนต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและทันเวลาในการจัดการกับ ภัยคุกคามและความท้าทายต่างๆทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยแก่ประเทศสมาชิกและประชาชนในประชาคมอาเซียน การทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนี้มากไปกว่าการใช้เวลาเพื่อใคร่ครวญ อย่างรอบคอบ เราต้องทำให้โลกเห็นว่า อาเซียน พร้อมรับกับความท้าทายต่างๆและมีการเตรียมตัวที่ดีทันเวลา เราต้องปลูกฝังวัฒนธรรมที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอาเซียน

    ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณี หากโรคระบาดได้มีการแพร่ขยายไปทั่วภูมิภาคเอเชีย หน่วยงานด้านสาธารณสุขจะกำหนดมาตรการกักกังและตรวจสอบ รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลและผลตรวจจากห้องปฎิบัติการ อาสาสมัครและวัคซีนทั่วภูมิภาคจะถูกนำมาใช้อย่างรวดเร็ว ตามระเบียบปฎิบัติโดยทั่วไป หากพบกรณีฉุกเฉินในพื้นที่หรือนอกภูมิภาค หรือมีการร้องขอความช่วยเหลือ อาเซียนจะมีการดำเนินการในฐานะองค์กรภูมิภาคในเวลาที่เหมาะสม ประการที่สอง ชุมชนอาเซียนในปี 2015 จะเป็นชุมชนที่มีการติดต่อเชื่อมโยงกัน (Community of Connectivity) หมายถึง สินค้าและประชาชน การลงทุนและนวตกรรมใหม่ๆ สามารถเดินทางไปมา อย่างไม่มีอุปสรรค ทั่วทั้งภูมิภาค จากสุมาตรา (Sumatra) ถึงลูซอน (Luzon) จากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ในฐานะตลาดและฐะฐานผลิตเดียวกัน จะต้องมีการเชื่อมโยงทั้งในเชิงโครงสร้าง (hardware) และ ระเบียบ กฎเกณฑ์ (software)

    ด้านโครงสร้างนั้น อาทิ เส้นทางคมนาคมจะต้องมีการเชื่อมโยงทั่วภูมิภาค จะสามารถใช้ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก หรือเหนือ-ใต้ การคมนาคมทางน้ำ จากกช่องแคบมะละกาและแหลมอื่นๆ รวมทั้ง การเชื่อมโยงเส้นทางทางอากาศผ่านสนามบินทั้งภูมิภาค ด้านระเบียบ กฎเกณท์ นั้น กฎระเบียบและกฎเกณท์ต่างๆ ที่ออกโดยรัฐบาลทั้งภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม การค้าและการลงทุน จะต้องเกื้อกลูกัน อาทิ ภายในภูมิภาคจะต้องเป็นปลอดจากวีซ่า (visa-free) และการเดินทางเข้ามาจากนอกภูมิภาคสามารถขอใช้วีซ่าเดียวกัน (single visa) การที่ชุมชนมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันได้นั้น ต้องตระหนักถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากสถานที่ตั้งในเชิงยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจของ เอเชียใต้ เอเชียตะวันตก เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และเอเชียเหนือ ประการที่สาม ชุมชนอาเซียน ในปี 2015 ควรจะเป็นชุมชนของประชาชน (Community of Peoples)

    ประชาชนอาเซียนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งต้องมั่นใจได้ว่า จะต้องได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างเหมาะสมเท่าเทียม โดยมีการส่งเสริมและลงทุนในด้านการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิตและสร้างศักยภาพของคน เป็นการลงทุนระยะยาวและเป็นโอกาสของชุมชน ถือเป็นจุดเปลี่ยนในกระบวนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน การรวมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคจะประสบความสำเร็จก็ต่อ เมื่อประชาชนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการรวมกลุ่มนี้ โลกาภิวัฒน์จะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อประชาชนในภูมิภาคมีการแข่งขันและมีความ เตรียมพร้อมที่เก็บเกี่ยวความได้เปรียบจากโอกาสนี้และประชาคมอาเซียนจะ สามารถพึ่งพาตัวเองได้ก็ต่อเมื่อประชาชนในอาเซียนเป็นทั้งแรงขับเคลื่อนและ ผู้รับผลประโยชน์

    ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า เราเป็นภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่มีความหลากหลายทางความเชื่อและศรัทธา ที่แตกต่างกัน แต่เราสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน หลายคนมาจากสังคมที่มีหลากหลายวัฒนธรรมแต่เราต่างรับฟังและเคารพความเห็นของ ผู้อื่นที่มีความหลากหลาย เราเป็นส่วนประกอบสำคัญของการแสดงถึงศรัทธาและอารยธรรมร่วมกันในเวทีโลก ซึ่งเป็นมุมมองใหม่สำหรับการนำไปสู่ความสันติสุขและเจริญรุ่งเรือง นายกรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะสร้างประสบการณ์ร่วมกันและเดินหน้า ความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคนี้เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นภูมิภาคที่อยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลาย นายกรัฐมนตรีกล่าวอวยพรให้การประชุมนี้ประสบความสำเร็จและเป็นอีกก้าวหนึ่ง ของการไปสู่ประชาคมอาเซียน