เปิดแผนแม่บทรถไฟฟ้าใหม่ จำนวน 12 สาย รองรับการจราจรศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะและรามคำแหง

เปิดแผนแม่บทรถไฟฟ้าใหม่ จำนวน 12 สาย รองรับการจราจรศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะและรามคำแหง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ระยะทาง 487 กิโลเมตร เงินลงทุน 838,250 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 700 ตารางกิโลเมตร สนข.เตรียมชงครม.อนุมัติสิงหาคมนี้ ทุ่ม 400 ล้าน ออกแบบรายละเอียดสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี และสายสีชมพู ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี รองรับการจราจรศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะและรามคำแหง

นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและความต้องการของประชาชน ครั้งที่2 โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครอบคลุมพื้นที่ 700 ตารางกิโลเมตร

โดยข้อสรุปในแผนแม่บทที่ปรับใหม่ ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจพิจารณาภายในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีโครงการรถไฟฟ้าทั้งหมด 12 สาย จากแผนแม่บทเดิม 7 สาย เวลาดำเนินการ 20 ปี (2553-2572) รวมระยะทาง 487 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 838,250 ล้านบาท

ประกอบด้วย 1.สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย) ระยะทาง 85.3 กิโลเมตร เงินลงทุน 147,750 ล้านบาท เป็นเส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ ตามแนวของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) แนวเส้นทางมีช่วงบางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์ ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-บางบอนและช่วงบางบอน-มหาชัย

2.สายสีแดงอ่อน(ศาลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก) ระยะทาง58.5 กิโลเมตร เงินลงทุน 86,340 ล้านบาท เป็นเส้นทางในแนวตะวันออก-ตะวันตก ตามแนวของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) แนวเส้นทางมีช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน

3.สายสีแอร์พอร์ตลิงก์ จากพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ ระยะทาง28.5 กิโลเมตร เงินลงทน 25,920 ล้านบาท

4.สายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-หมอชิต-สมุทรปราการ-บางปู) ระยะทาง 66.5 กิโลเมตร เงินลงทุน 102,420 ล้านบาท เป็นเส้นทางในแนวเหนือ-ตะวันออก ตามแนวถนนพหลโยธินและสุขุมวิท แนวเส้นทางมีช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ช่วงสะพานใหม่-คูคต-ลำลูกกา ช่วงอ่อนนุช-แบริ่งและแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู

5.สายสเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) ระยะทาง15.5 กิโลเมตร เงินลงทุน 15,130 ล้านบาท เป็นเส้นทางแนวตะวันตก-ใต้ ตามแนวถนนพระราม1 ถนนสาธร แนวเส้นทางมีช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน-ถนนตากสิน-บางหว้าและช่วงสนามกีฬา-ยศเส

6.สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค-พุทธมณฑลสาย4) ระยะทาง 55 กิโลเมตร เงินลงทุน 93,100 ล้านบาท เป็นเส้นทางสายวงแหวนและเส้นทางตามแนวถนนเพชรเกษม แนวเส้นทีช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแคและช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย4

7.สายสีม่วง(บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะและแคราย-ปากเกร็ด) ระยะทาง 49.8 กิโลเมตร เงินลงทุน 135,880 ล้านบาท เป็นเส้นทางหลักแนวเหนือ-ใต้ แนวเส้นทางมีช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และช่วงแคราย-ปากเกร็ด

8.สายสีส้ม(บางบำหรุ-มีนบุรี) ระยะทาง 32 กิโลเมตร เงินลงทุน 117,600 ล้านบาท เป็นเส้นทางหลักแนวตะวันออก-ตะวันตก แนวเส้นทางมีช่วงบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิและช่วงบางกะปิ-มีนบุรี

9.สายสีชมพู (ปากเกร็ด-มีนบุรี) ระยะทาง29.9 กิโลเมตร เงินลงทุน 31,240 ล้านบาท เป็นเส้นทางรองรับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และการเจริญเติบโตทางด้านเหนือของกรุงเทพน แนวเส้นทางช่วงปากเกร็ด-วงเวียนหลักสี่-วงแหวนรอบนอก-มีนบุรี

10.สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง30.4 กิโลเมตรเงินลงทุน 38,120 ล้านบาท เป็นเส้นทางเพื่อรองรับพื้นที่ย่านลาดพร้าว ศรีนครินทร์และทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ แนวเส้นทางช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง

11.สายสีเทา(วัชรพล-สะพานพระราม9) ระยะทาง 26 กิโลเมตร เงินลงทุน 31,870 ล้านบาท เป็นเส้นทางเพื่อรองรับพื้นที่ย่านสาธุประดิษฐ์และการเจริญเติบโตทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ แนวเส้นทางช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว ช่วงลาดพร้าว-พระราม4 และช่วงพระราม4-สะพานพระราม9

12.สายสีดำ(ดินแดง-สาทร) ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เงินลงทุน 12,880 ล้านบาท เป็นเส้นทางรองรับพื้นที่ย่านดินแดง ย่านมักกะสัน และหน่วยงานในสังกัดกทม.2 แนวเส้นทางช่วงกทม.2-ดินแดง-ศูนย์มักกะสัน-สาทร

นายโสภณกล่าวว่า โดยในการดำเนินการแบ่งเป็น ช่วง 10 ปีแรกตั้งแต่ปี 2553-2562 และ10ปีถัดไปจนถึงปี 2572ให้สนข.ไปจัดลำดับความสำคัญของแต่ละสายทางให้ชัดเจนขึ้นก่อนที่จะเสนอให้ครม.เศรษฐกิจพิจารณา นอกเหนือแนวเส้นทางต้องเร่งรัดในระยะแรก 145 กิโลเมตร 5 สายทาง มีทั้งที่กำลังก่อสร้างและเปิดประมูล จะเปิดให้บริการในปี 2557-2559

ได้แก่ สีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ธรรมศาสตร์ สีม่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สายสีเขียวช่วงตากสิน-บางหว้า สายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก

นอกจากนี้ให้เร่งออกแบบรายละเอียดสายสีชมพุและสีส้มพร้อมไปด้วย วงเงิน 400 ล้านบาท โดยโยกงบประมาณจากค่าออกแบบสายสีน้ำเงิน ช่วงวงแหวนด้านใน หลังจากที่บรรจุ 2 สายนี้เข้าไปในแผนแม่บทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะและรามคำแหง

นายโสภณกล่าวอีกว่า สำหรับส่วนต่อขยายสายสีเขียว 2 ช่วง คือ หมอชิต-สะพานใหม่และแบริ่ง-สมุทรปราการ ในสัปดาห์หน้า จะเชิญม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมาหนคร มาหารือร่วมกันถึวแนวทางการดำเนินงาน หลังกทม.มีแนวคิดจะนำไปก่อสร้างเอง ทั้งที่ครม.มีมติให้รฟม.เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ซึ่งจะคุยกับกทม.ว่าจะยืนตามมติครม.เดิม คือให้รฟม.ก่อสร้างโครงสร้าง ส่วนการเดินรถให้กทม.เข้ามาร่วมบริหารจัดการด้วย จะให้เอกชนรายไหนมาดำเนินการด้วยก็ได้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะให้รฟม.เปิดประกวดราคาได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานทางสนข.ได้ทำโผลสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมฟังสัมนา จำนวน 251 คน

โดย 96.8% เห็นด้วยที่จะมีรถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักชองกรุงเทพฯ

เห็นด้วย 82% จะมีโครงข่าย 12 สายทาง

เห็นด้วย 56.6%ที่ให้มีหน่วยงานหลักเพียงหน่วยงานเดียวในการบูรณาการ

มี82.5% เชื่อว่าการลงทุนโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้และเกิดประโยชน์กับประชาชนในวงกว้างและ96% ต้องการให้รัฐบาลก่อสร้างโครงการทั้ง 12 สายทางให้เกิดขึ้นตามแผนแม่บทโดยเร็ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook