แปลงเศษผ้าเป็นกระเป๋าน่ารัก

แปลงเศษผ้าเป็นกระเป๋าน่ารัก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ธุรกิจออนไลน์ของนศ.อีคอมเมิร์ซ

หลักสูตรอีคอมเมิร์ซแบบเข้มข้น ซึ่งเปิดสอนในสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีนักศึกษาลงทะเบียนตั้งสามร้อยกว่าคน จึงมีตัวอย่างคุณภาพมากมายที่ทำให้เห็นว่า ขอให้มีสินค้าและผู้ประกอบการที่รู้จริงและตั้งใจ โอกาสสร้างรายได้ก็ไม่ใช่เรื่องเกินฝัน

ศิริพร โพธิ์ดี คือนักศึกษา ปี 4 หลักสูตรอีคอมเมิร์ซคนหนึ่ง ซึ่งมีผลประกอบการน่าสนใจ จากธุรกิจจำหน่ายกระเป๋าผ้าลายน่ารัก ซึ่งผลิตและจำหน่ายเอง ด้วยการนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้า กิจการหลักของครอบครัว มาทำกระเป๋าไว้ใช้เอง หรือเป็นของขวัญให้เพื่อน พร้อมกับใช้ประกอบการเรียนวิชาการจัดการธุรกิจขนาดย่อม ที่ต้องคิดหาสินค้าแล้วลองขายจริง และพัฒนาสินค้ามาเรื่อย ๆ ให้มีความละเอียด ลวดลายสะดุดตา และเริ่มวางขายที่บ้านก่อน ขายกับคนรู้จักที่สนใจ จนกลายเป็นสินค้าที่ขายได้เรื่อย ๆ

จุดเปลี่ยนสำคัญของเธอเกิดในช่วงปีที่ 3 ต้องเรียนการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทำให้ได้ความคิดว่าการค้าแบบอีคอมเมิร์ซ น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้ โดยได้รับคำแนะนำจาก ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการ ผู้เป็นอาจารย์ประจำวิชา ในการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ปรากฏ ว่าทำได้ระยะหนึ่ง เธอมีลูกค้าติดต่อผ่านมาทางเว็บไซต์ของร้าน และทางโทรศัพท์จำนวนมาก เมื่อเทียบกับการขายรูปแบบปกติ จากที่เคยมีลูกค้าเดือนละ 3-4 ใบ แต่ขายผ่า์มีคำสั่งซื้อเดือนละ 10-15 ใบ เนื่องจากลูกค้าเห็นแบบหรือลายกระเป๋าผ่านหน้าเว็บที่ทำไว้

ศิริพร อธิบายวิธีจำหน่ายสินค้าที่เน้นช่องทางออนไลน์โดยเปิดเว็บขายบน www.Weloveshopping.com ภายใต้ชื่อร้าน Beauty Bag เธอบอกว่า ลงทุนวัตถุดิบช่วงแรกไม่มาก ค่าใช้จ่ายการเปิดร้าน ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ซึ่งต้นทุนด้าน การผลิตก็ไม่มาก เพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ที่บ้าน มีอุปกรณ์และวัสดุบางอย่างเท่านั้นที่ต้องลงทุนเพิ่ม ประมาณ 1,500 บาท

รายได้จากการขายราว 1,500-2,000 บาท ต่อสัปดาห์ค่ะ

การสนทนากับคนที่เรียนมาทางด้าน อีคอมเมิร์ซ เห็นได้ว่า ทุก อย่างเป็นอย่างมีระบบ ได้แก่การจัดการรับคำสั่งซื้อสินค้าและระบบการส่งสินค้า เริ่มจากการลงภาพสินค้าที่ได้ผลิตเสร็จแล้วบนเว็บอย่างละเอียด ในมุมต่าง ๆ ของสินค้า ราคา จำนวนที่มีจำหน่ายที่ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า และบางช่วงผลิตไม่ทัน เนื่องจากออกแบบและทำแบบชิ้นต่อชิ้น แต่เธอติดภารกิจการเรียนหรือการสอบซึ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ถึงตอนนั้นก็จะแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าว่าจะต้องรออีกกี่วัน

ส่วนการดูแลบริหารเว็บไซต์ ศิริพร บอกว่า ต้องตรวจสอบทุกวัน เพื่อดูส่วนต่าง ๆ รวมถึงปัญหาลิงก์เสียที่อาจเกิดขึ้น ลบโฆษณาแฝงที่มาลงในเว็บบอร์ดของร้านเสมอเพื่อป้องกันลูกค้าเข้าใจผิดและหลงเชื่อโฆษณาเหล่านั้น การตอบคำถามของลูกค้าที่ได้ถามในกระทู้ของร้านค้า และจัดกาบริหารหลังร้าน ได้แก่การอัพเดทสินค้าใหม่ ๆ การปรับปรุงข้อมูลรายละเอียดสินค้า และทางร้านจะเช็กอีเมลเสมอ เผื่อมีลูกค้าได้ส่งคำถามหรือคำสั่งซื้อเข้ามา โดยเธอวางหลักว่าจะตอบทุกคำถามของลูกค้าผ่านทุกช่องทางที่สื่อสารได้เร็วที่สุด

คนทั่วไปมองว่า การซื้อขายผ่านออน ไลน์ไม่มีลูกค้าจริง มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกหลอกลวง ไม่ปลอดภัย แต่หากเข้าใจระบบอีคอมเมิร์ซอย่างดี จะรู้ว่าสามารถทำได้จริง มีเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและใช้สำหรับการวางแผนทางการตลาดในการเจาะลูกค้าเป้าหมาย ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทำธุรกิจได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านเอง และมีลูกค้ามากกว่าเปิดร้าน ทั้งมีระบบต่าง ๆ ในการรักษาความปลอดภัยกับธุรกิจเรา

เธอย้ำว่า ธุรกิจรูปแบบนี้ ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงมีความเข้าใจ ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ใส่ใจในการดูแลร้านค้า ธุรกิจเติบโตได้ เนื่องจากความซื่อสัตย์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพราะลูกค้าที่เข้ามาจะเกิดความเชื่อใจและมั่นใจในธุรกิจของเรา.

วีระพันธ์ โตมีบุญ

VeeraphanT@Gmail.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook