และเพื่อสันติสุข

และเพื่อสันติสุข

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์

เรียนอะไรบ้างในสาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

หลักสูตรนี้ชื่อ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณ ฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา หน่วยงานรับผิดชอบคือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปรัชญาของหลักสูตรคือ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถตามหลักการอิสลามอย่างแท้จริง ทั้งด้านความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีความสามารถด้านภาษาในการสื่อสาร รวมทั้งการเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม การตระหนักถึงคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และการดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม

วัตถุประสงค์

1.เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการอิสลามและวัฒนธรรมอิสลามอันจะนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีความสุข

2.เพื่อให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ทางด้านภาษาไปใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มชนในทุกภาคส่วนของประเทศได้อย่างมีสัม พันธภาพ

3.เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพด้านอิสลามศึกษา และเป็นผู้มีคุณธรรม

วิชาที่เรียนนอกจากวิชาพื้นฐานทั่วไป ในส่วนของวิชาอิสลามศึกษา มีอาทิ กลุ่มวิชาเอกบังคับ ประกอบด้วย พื้นฐานอิสลาม ประวัติศาสตร์อิสลาม จริยธรรมอิสลามในการทำงาน พื้นฐานหลักศรัทธา ศาสนบัญญัติเบื้องต้น ภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน ความรู้เกี่ยวกับ อัล-กุรอาน มนุษย สัมพันธ์ในอิสลาม ความรู้เกี่ยวกับ อัล-หะดีษ ศาสนาปริทัศน์ วัฒนธรรมอิสลาม กฎหมายอิสลามว่าด้วยการลงโทษ การธนาคารในอิสลาม กฎหมายมรดก-พินัยกรรมอิสลาม บทบาทผู้นำมุสลิม กฎหมายครอบครัวอิสลาม ดาราศาสตร์อิสลาม ประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทย การบริหารจัดการธุรกิจองค์การฮาลาล ปรัชญาอิสลาม สิทธิและบทบาทสตรีในอิสลาม การประกันในอิสลาม เศรษฐศาสตร์อิสลาม การสัมมนาในอิสลามและการวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมอิสลาม

นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มวิชาเลือกอีกหลายวิชา คือ ตัจวีด หะดีษ นักคิดมุสลิม หลักการเผยแผ่อิสลาม ศิลปะการพูดในอิสลาม สังคมอิสลาม การบริหารกองทุนอิสลาม อิสลามในสังคมไทย การเมือง การปกครองในอิสลาม สุขภาวะในอิสลาม และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพอิสลามศึกษา

วันหนึ่ง ได้รับหนังสือที่พิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์เย็บเล่มจากอาจารย์ ดร.รุ่ง แก้วแดง ประธานมูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง ซึ่งอาจารย์รุ่งจัดตั้งมูลนิธินี้ขึ้นมาเพื่อทำงานให้เกิดสันติสุข ให้ผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เหมือนที่เคยอยู่ร่วมกันมาในอดีต

หนังสือเล่มนี้รวมงานเขียนของเยาวชนหญิงชายจาก 6 โรงเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องที่คัดมาจำนวน 20 เรื่อง เขียนถึงความเป็นมาเป็นไป ขนบธรรม เนียม ประเพณีของหมู่บ้าน ตำบล

ในคำนำ ปู่รุ่ง แก้วแดง คัดรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2502 ขณะเสด็จฯ มาที่จังหวัดยะลา ความว่า

การศึกษาที่นี้สำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนัก เพียงแต่รู้เรื่องกันก็ยังดี เพราะเท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ที่ไม่รู้ภาษาไทยต้องใช้ล่ามแปล ควรพูดให้เข้าใจกันได้เพื่อสะดวกในการติดต่อซึ่งกันและกัน

รับสั่งครั้งนั้น ยังคงเป็นรับสั่งที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ต้องเอาใจใส่และดำเนินการให้เกิดขึ้นจงได้ เพราะไม่ว่าใครจะนับถือศรัทธาศาสนาใด ลัทธิความเชื่อใด ไม่ใช่ขีดจำกัดที่จะติดต่อสื่อสารกันไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นกำหนดในรัฐ ธรรมนูญ หรือความเป็นผู้คนในขอบเขตพัทธสีมาเดียวกัน

การที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมด จะเปิดสาขาวิชาอิสลามศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษามุสลิม และนักศึกษาพุทธ หรือนักศึกษาที่นับถือศาสนาอื่นใดเข้าเรียนก็ย่อมจะเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัยเอง และเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่จะได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่เฉพาะในชาติเดียวกันเท่านั้น ยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับชาวโลกทั้งผองอีกด้วย

ยุคแห่งโลกาภิวัตน์เช่นนี้ ยังมัวแต่ใช้ความแตกต่างมาสร้างความแตกแยกซึ่งกันและกัน แล้วประชาคมโลกจะมีความสุขตามปรารถนาของศาสดาแห่งศาสนาได้อย่างไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook