กสม.ดันปรับปรุงโครงสร้างใหม่

กสม.ดันปรับปรุงโครงสร้างใหม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันมีเรื่องค้างการพิจารณารวมถึงเรื่องร้องเข้ามาใหม่ ประมาณ 1,400 เรื่อง คณะกรรมการฯทั้ง 7 คนจึงมาแบ่งงานตามความถนัด โดยจากโครงสร้างเดิมที่มีคณะอนุกรรมการถึง 29 ชุด แต่ขณะนี้เราได้ปรับใหม่เป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1.สิทธิทางการเมือง พลเมือง ชุมชน ชาติพันธุ์ การค้ามนุษย์ บุคคลสูญหาย การแสดงความเห็นทรัพยากรที่ดินและป่า โดยมี นพ.แท้จริง ศิริพาณิช และ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นผู้ดูแล กลุ่มที่ 2.สิทธิด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่อยู่อาศัย สาธารณสุข อนามัย ผู้สูงอายุ เด็ก สตรี จะมีนางอมรา พงศาพิชญ์ นายปริญญา ศิริรการ และนางวิสา เบ็ญจ มะโน เป็นผู้ดูแล และกลุ่มที่ 3.สิทธิในกระบวนการยุติธรรมต่อต้านการทรมานสิทธิผู้ต้องหานักโทษ การฟ้องกลับ มีนายไพบูลย์ และ พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด เป็นผู้ดูแล

นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า หลังจากนี้คณะกรรมการฯจะให้เจ้าหน้าที่มาสรุปเรื่องที่คั่งค้างว่าเป็นเรื่องใดบ้าง และควรจะอยู่ในกลุ่มใด หลังจาก นั้นจึงจะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมารองรับ นอกจากนี้จะต้องดูด้วยว่าการร้องเรียนเข้ามายังกรรม การสิทธิฯนั้น เป็นการร้องเข้ามาตามกฎหมายหรือไม่ หรือเรื่องใดเป็นเรื่องที่ร้องโดยบัตรสนเท่ห์ ซึ่งเราก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าควรรับเป็นเรื่องร้องเรียนหรือไม่ และดูว่าเรื่องใดต้องรีบดำเนินการต่อบ้าง รวมทั้งหลังจากนี้กรรมการสิทธิฯ คงทำงานในเชิงรกมากยิ่งขึ้น

ส่วนเรื่องอำนาจการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นอำนาจใหม่ของกรรมการสิทธิฯนั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 257 ได้ให้อำนาจกรรมการสิทธิฯเสนอเรื่องพร้อมรายงาน ไปยังศาลต่าง ๆ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ซึ่งการฟ้องนั้นต้องฟ้องเพื่อเอื้อประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งการที่กฎหมายรัฐธรรม นูญเพิ่มอำนาจและช่องทางในการฟ้องศาลให้กับกรรมการสิทธิฯนั้น จะทำให้รายงานของกรรมการสิทธิฯได้รับความสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตามการช่วยผู้เสียหายฟ้องในนามส่วนตัวนั้น คงต้องมาดูว่าจะวางหลักเกณฑ์อย่างไร.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook