นักท่องเว็บทำภาษาไทยวิกฤต อ้างราชบัณฑิตโพสต์ล้อเลียนกำกวม

นักท่องเว็บทำภาษาไทยวิกฤต อ้างราชบัณฑิตโพสต์ล้อเลียนกำกวม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่มีการโพสต์คำศัพท์ของคอมพิวเตอร์ในเว็บไซต์ต่างๆ และอ้างว่าเป็นคำศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้น เช่น จิ๋วระทวย แปลมาจากคำว่า Microsoft (Micro แปลว่า เล็ก จิ๋ว ส่วน soft นั้นแปลว่า อ่อนนุ่น) แท่งหฤหรรษ์ แปลจาก Joystick, พหุบัญชร แปลมาจาก Windows, จุดอิทธิฤทธิ์ แปลจาก PowerPoint, พหุอุบลจารึก แปลจาก Lotus Notes, ภัทร แปลจาก Excel, ปฐมพิศ แปลจาก Visual Basic, พหุภาระ แปลจาก Multitasking, แท่งภาระ แปลจาก Taskbar, สรรค์ใน แปลจาก Build และ ยืนเอกา แปลจาก Standalone เป็นต้น

นางกาญจนา กล่าวว่า ขอชี้แจงว่า การบัญญัติคำศัพท์คอมพิวเตอร์ของราชบัณฑิตมีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ดูแลเรื่องดังกล่าว สำหรับการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์จะไม่ใช้ภาษากำกวม หยาบคาย หรือสองแง่สองง่าม ทั้งนี้ หลักการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์จะมีเฉพาะบางคำที่บัญญัติขึ้นใหม่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเรียกทับศัพท์

"การโพสต์คำศัพท์คอมพิวเตอ ร์และอ้างว่าเป็นคำที่ราชบัณฑิตฯ บัญญัติขึ้นถือว่า เป็นเรื่องที่น่าเป็นหง จึงอยากเตือนผู้ที่โพสต์ข้อความลักษณะดังกล่าวให้เลิกการกระทำ เพราะจะเป็นการสร้างความสับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำศัพท์คอมพิวเตอร์ เช่น คำว่า ละมุนพรรณ หมายถึง Software ตามความหมายที่แท้จริงของภาษาไทยต้องใช้คำว่า ส่วนชุดคำสั่ง ส่วนคำว่า กระด้างพรรณ หมายถึง Hardware ในความหมายที่แท้จริงแบ่งออกเป็น 2 ความหมาย คือ ส่วนเครื่อง และส่วนอุปกรณ์, ฮาร์ดแวร์ ดังนั้นเพื่อป้องกันความสับสนในการใช้ภาษา ดิฉันจะเสนอให้ราชบัณฑิตฯ ควรออกประกาศ ทำความเข้าใจและเกี่ยวกับคำศัพท์คอมพิวเตอร์ ป้องกันประชาชนสับสน นางกาญจนา กล่าว

นายศักดิ์ แวววิริยะ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.นนทบุรี กล่าวว่า เคยได้ยินและได้อ่านคำศัพท์ที่มีการโพสต์ในเว็บไซต์ต่างๆ เหมือนกัน แต่มองว่าน่าจะเป็นความพิเรนทร์ ของคนส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่น่าจะเป็นการบัญญัติคำของราชบัณฑิตฯ ซึ่งแนวการป้องกันเบื้องต้น หากมีคำศัพท์ใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ควรใช้ทับศัพท์ไปเลยเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ราชบัณฑิตยสถานไม่ควรบัญญัติ เพราะจะเป็นการสร้างความสับสนในการใช้ภาษาไทยของเด็กรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม เสนอให้ราชบัณฑิตฯ ระดมความคิดเห็น นักวิชาการ เพื่อชำระคำศัพท์ด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ใหม่ เพื่อให้ประชาชนรู้จักคำศัพท์และความหมายที่ตรงกัน

น.ส. วาริน สุขสุโฉม นักเรียน ชั้น ม.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บางใหญ่ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมหมอภาษา กล่าวว่า อยากให้ราชบัณฑิตยสถานใช้คำศัพท์คอมพิวเตอร์แบบทับศัพท์ ไม่ต้องคิดคำขึ้นใหม่ เพราะภาษาอังกฤษที่เขียนไว้ ก็เข้าใจง่ายกว่าการหาภาษาไทยมาใช้แทน เพราะว่ายุ่งยาก การใช้คำทับศัพท์เป็นค่านิยมของวัยรุ่นไทยไปแล้ว และเห็นด้วยหากจะมีการชำระคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใหม่เพื่อให้เด็กใช้อย่างถูกต้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook