ทนายความญาติเหยื่อตากใบยื่นอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งศาลสงขลาที่ไม่เป็นธรรม

ทนายความญาติเหยื่อตากใบยื่นอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งศาลสงขลาที่ไม่เป็นธรรม

ทนายความญาติเหยื่อตากใบยื่นอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งศาลสงขลาที่ไม่เป็นธรรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทนายความของญาติผู้เสียชีวิตกรณีตากใบ ยื่นอุทธรณ์ศาลอาญาขอให้ศาลรับคำร้อง และเพิกถอนคำสั่งศาลสงขลาที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายและขอให้ศาลอุทธรณ์ทำคำสั่งใหม่ กรณีไต่สวนการตาย

ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 29 ก.ค. ทนายความของญาติผู้เสียชีวิตกรณีตากใบ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลอาญา ที่สั่งไม่รับคำร้องเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ( คดีหมายเลขดำที่ ษ.43 / 2552 คดีหมายเลขแดงที่ ษ.42/2552 ) ซึ่งร้องขอให้ศาลอาญาเพิกถอนคำสั่งของศาลจังหวัดสงขลากรณีไต่สวนการตาย 78 ศพ ด้วยเหตุผลว่า คำสั่งศาลจังหวัดสงขลาไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งไม่เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง กล่าวคือ การพิจารณาคดีของศาลจังหวัดสงขลาไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 40 (3) มาตรา 197 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ข้อ 2 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 14 และผู้ร้องเห็นว่าคำสั่งศาลจังหวัดสงขลาไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 150 เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักการไต่สวนการตาย โดยศาลไม่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์ที่ตายและไม่กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทำร้ายผู้ ตาย ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงจากพยานบุคคล พยานเอกสาร ภาพถ่าย และวัตถุพยานแผ่นบันทึกภาพและเสียงของเหตุการณ์ พบว่ามีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง แต่ศาลจังหวัดสงขลาวินิจฉัยเฉพาะเหตุที่ตายแต่เพียงว่าผู้ตายขาดอากาศหายใจ เท่านั้น

ทีมทนายความตัวแทนญาติของผู้เสียชีวิตกรณีตากใบ จึงยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ได้โปรดมีคำสั่งกลับคำสั่งไม่รับคำร้องของศาล อาญา และเพิกถอนคำสั่งของศาลจังหวัดสงขลาที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน ความเดิม ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยในการอุทธรณ์ผู้ร้องใช้สิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ เรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่ผู้ร้องมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการ พิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม และเป็นไปตามกฎหมาย โดยถือว่าคำร้องที่ยื่นต่อศาลอาญาไปแล้วเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 นั้น เป็นคดีใหม่ เพราะคำสั่งของศาลจังหวัดสงขลาถึงที่สุดแล้ว เมื่อผู้ร้องเห็นว่าคำสั่งของศาลจังหวัดสงขลาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว เพราะศาลอาญามีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงได้ทั่วราชอาณาจักร และคำสั่งศาลจังหวัดสงขลาที่กล่าวแต่เพียงว่าผู้ตายทั้งหมดเสียชีวิตเนื่อง จากขาดอากาศหายใจ โดยไม่กล่าวถึงผู้ที่เป็นต้นเหตุที่กระทำให้ถึงแก่ความตาย รวมทั้งข้อเท็จจริงที่สำคัญอื่น ๆ ด้วย คำสั่งนั้นย่อมกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของผู้ตายและญาติ ผู้ตาย จึงสมควรถูกเพิกถอนและมีคำสั่งใหม่ที่ยังความเป็นธรรมต่อไป

ส่วนคำสั่งศาลอาญาที่ไม่รับคำรัองของผู้ร้อง ผู้ร้องเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมาย กล่าวคือ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ศาลยุติธรรมศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลยุติธรรมอื่นได้สั่งรับ ประทับฟ้องโดยชอบแล้วไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม" นั้น เป็นบทบัญญัติห้ามเฉพาะคดีซึ่งศาลยุติธรรมอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบ แล้วเท่านั้น แต่กรณีคำร้องของผู้ร้องเป็นการยื่นคดีใหม่ในกรณีที่คำสั่งศาลจังหวัดสงขลา ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ยังไม่มีการยื่นต่อศาลยุติธรรมอื่น จึงยังไม่มีศาลยุติธรรมอื่นใดได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบในคดีนี้เลย ศาลอาญายังคงมีเขตอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องซึ่งเป็นคดีใหม่ไว้พิจารณาต่อไป ได้ ผู้ร้องจึงเห็นว่าข้ออ้างของศาลอาญาที่อ้างพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 แล้วมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวนั้นไม่สอดคล้องหรือใช้บังคับ กับกรณีนี้ได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook