ธีระชี้คาราโอเกะ18,000แห่งขึ้นทะเบียนวธ.ห้ามมีสาวนั่งดริ้ง ขอ3เดือนทำประชาพิจารณ์เด็กเล่นเกม

ธีระชี้คาราโอเกะ18,000แห่งขึ้นทะเบียนวธ.ห้ามมีสาวนั่งดริ้ง ขอ3เดือนทำประชาพิจารณ์เด็กเล่นเกม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ธีระ ชี้คาราโอเกะ 18,000 ร้าน ขึ้นทะเบียน วธ. ห้ามมีสาวนั่งดริ้ง ขอเวลา 3 เดือนทำประชาพิจารณ์ - หาทางออกเด็กเล่นเกมเกิน 3 ชม. เล็งนำโปรแกรมทดลองร้านเกม 1,500แห่ง

นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมว่า วธ.ขอชี้แจงกรณีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดีทัศน์ ซึ่งหลายฝ่ายยังเข้าใจผิดคิดว่า กฎกระทรวงดังกล่าวออกมาเพื่อควบคุมร้านคาราโอเกะ และห้ามไม่ให้มีเด็กนั่งดริ้งภายในสถานบริการทุกแห่ง ที่จริงแล้วร้านคาราโอเกะ ยังมีสาวนั่งดริ้งได้ โดยผู้ประกอบการที่ต้องการเปิดสถานบริการจำพวกร้านคาราโอเกะ คาเฟ่ สวนอาหาร และร้านอาหารที่มีการเต้น รวมทั้งมีการจำหน่ายเหล้า บุหรี่ และมีสาวนั่งดริ้งต้องขออนุญาตประกอบกิจการประเภท 3 (4) กับกระทรวงมหาดไทย (มท.) ตาม พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509 จากการตรวจสอบข้อมูลขณะนี้มีรคาราโอเกะที่มีสาวนั่งดริ้ง ทั่วประเทศ 4, 246 แห่ง ส่วนกฎกระทรวงของ วธ. ที่ออกมาจะออกใบอนุญาตเฉพาะร้านคาราโอเกะตามห้างสรรพสินค้า ตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญเท่านั้น และต้องไม่มีสาวนั่งดริ้ง และจำหน่ายเหล้า บุหรี่โดยเด็ดขาด

"สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) รายงานข้อมูลการสำรวจร้านคาราโอเกะ ร้านขาย และให้เช่าวีดีทัศน์ ที่มายื่นขอใบอนุญาตต่อ สวช. จนถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 พบว่า ร้านคาราโอเกะยื่นขอใบอนุญาตกับ วธ. 18,000 แห่ง ร้านเกม 28,000 แห่ง และร้านขายให้เช่าวีดีทัศน์ 10,601 แห่ง นายธีระ กล่าว

นายธีระ กล่าวว่า กรณีที่หลายฝ่ายออกมาคัดค้านกฎกระทรวงที่ปล่อยให้เด็กเล่นเกมเกินกว่า 3 ชั่วโมงโดยไม่กำหนดเวลาชัดเจน ดังนั้นเป็นการยุติปัญหาขอเวลา 3 เดือนตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด ประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไีที) ผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต นักวิชาการ ผู้ปกครอง โดยมีตนเป็นประธาน เพื่อร่วมกันศึกษาและจัดทำโปรแกรมควบคุมการเล่นเกมของเด็กไม่ให้เกิน 3 ชั่วโมงต่อวัน พร้อมทั้งทำประชาพิจารณ์ความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมการเล่นเกมของเด็ก และหากโปรแกรมดังกล่าวเสร็จ วธ. จะนำร่องทดลองใช้ในร้านเกมสีขาว 1,500 แห่งทั่วประเทศ เพื่อประเมินผลดีผลเสียโปรแกรมดังกล่าวว่าจะสามารถควบคุมได้หรือไม่ และหากทุกอย่างสมบูรณ์ วธ.ก็จะเสนอขอแก้กฎกระทรวงทันที ส่วนการใช้โปรแกรมดังกล่าวจะมอบให้กับผู้ประกอบการที่มียื่นจดทะเบียนและขอใบอนุญาตกับ สวช.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook