ปธ.พัฒนาระบบยาห่วงคลีนิกให้โอเซลฯไร้ประสิทธิภาพ

ปธ.พัฒนาระบบยาห่วงคลีนิกให้โอเซลฯไร้ประสิทธิภาพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางเพื่อพัฒนาระบบยา กล่าววันที่ 3 สิงหาคมถึงการกระจายยาโอเซลทามิเวียร์ระดับคลีนิก โดยให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะจะขาดความเท่าทันเรื่องการดื้อยา เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ไม่มีข้อมูลการเก็บรักษา การกินยาให้ประชาชนทราบ มีแต่เพียงคำแนะนำสำหรับแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยาต้านไวรัสชนิดนี้ หากกินไม่ครบหรือไม่ตรงเวลาอาจทำให้ดื้อยาและต้องเปลี่ยนสูตรยาใหม่มาใช้

ทั้งนี้ ยาชนิดแคปซูลสำหรับผู้ใหญ่ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 -25 องศาเซลเซียส หรือเก็บในตู้เย็น หากเก็บในอุณหภูมิที่สูงกว่าจะทำให้ยาเสื่อมได้ ที่น่าเป็นห่วงมากคือ ยาโอเซลทามิเวียร์ชนิดน้ำสำหรับเด็กจะต้องบรรจุในขวดแก้วสีชา และยาผสมในน้ำเชื่อมอาจตกตะกอนได้ จึงจำเป็นต้องเขย่าขวดก่อนรินยาทุกครั้ง ผู้ปกครองไม่ควรนำยาดังกล่าวผสมนมให้เด็กดื่ม เพราะยาจะจับแคลเซียมในนมทำให้ตกตะกอนก้นขวด เด็กจะได้รับปริมาณยาไม่ครบตามที่จะรักษา ทำให้โรคไม่หาย

ผศ.ภญ.นิยดา กลาวต่อว่าสำหรับกรณีจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ระดับคลีนิก 150 แห่งใน จ.ราชบุรี จากการเฝ้าระวังของคณะกรรมการกำกับทิศทางเพื่อพัฒนาระบบยาพบว่า เป็นการผลักภาระเรื่องยาให้กับแพทย์ โดยแพทย์ต้องใช้เวลามากในการตรวจวินิจฉัยให้รอบคอบ และคลีนิกยังขาดเภสัชกรในการปรุงยาน้ำโอเซลทามิเวียร์ให้เด็ก จึงขอเตือนว่าหากคลินิกตรวจพบผู้ป่วยเด็กต้องรีบส่งต่อไปยังโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อเภสัชกรโรงพยาบาลจะได้ปรุงยาน้ำให้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่สร้างปัญหาดื้อยาได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook