ฟังคนสร้างหนังถูกจัดเรตหรือถูกจัดสิทธิ์การสร้างสรรค์?

ฟังคนสร้างหนังถูกจัดเรตหรือถูกจัดสิทธิ์การสร้างสรรค์?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หลังจากที่มีการหารือถึงปัญหาการจัดเรตภาพยนตร์อยู่บ่อยครั้ง ล่าสุดประเทศไทยของเรากำลังจะเปลี่ยนระบบการเข้าชมหนังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพราะล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่างมีข้อสรุปโรงภาพยนตร์ให้จำกัดกลุ่มอายุผู้ชมตามเนื้อหาของหนังทั้ง 7 ประเภททันที ซึ่งมากกว่าต่างประเทศ 2 ประเภท (จากเดิม 5 ประเภท) 1. ประเภทที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้ดู (สัญลักษณ์ ส) มีเนื้อหาส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้ความรู้ความเข้าใจการพัฒนาสังคม ครอบครัว และสร้างจิตสำนึกในเรื่องของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป (สัญลักษณ์ ท) เนื้อหาต้องไม่มีเรื่องของเพศ ภาษา ที่มีความรุนแรง 3. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป (สัญลักษณ์ น 13+) จะไม่มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรง ทารุณ โหดร้าย ขาดมนุษยธรรม น่ากลัวส่อไปในทางสยองขวัญ ใช้คำหยาบคายลามก พฤติกรรมทางเพศที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร การสาธิตวิธีการก่ออาชญากรรมหรือใช้อาวุธ ใช้สิ่งเสพติดให้โทษที่ไม่เหมาะสม อันเป็นเหตุชักจูงให้เกิดอาชญากรรมต่อสังคม และไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับลัทธิที่ชักจูงให้เด็กและเยาวชนหลงเชื่อ 4. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (สัญลักษณ์ น 15+) จะมีเนื้อหาเหมือนกับประเภทอายุ 13 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจมีภาพ เสียง เนื้อหาที่แสดงให้เห็นพฤติกรรม หรือภาษาที่ไม่เหมาะสม จึงต้องใช้วิจารณญาณในการดู 5. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (สัญลักษณ์ น 18+) โดยไม่มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่เปิดเผยอวัยวะเพศ สาธิตวิธีการก่ออาชญากรรม และวิธีการใช้สิ่งเสพติด 6. ประเภทที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู (สัญลักษณ์ ฉ 20+) เพราะมีเนื้อหาแสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือผ้อื่น แต่ต้องไม่แสดงให้เห็นอวัยวะเพศ 7. ประเภทที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร เนื่องจากมีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ก่อให้แตกความสามัคคี เหยียดหยามศาสนา ไม่เคารพต่อปูชนียบุคคล ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และมีเนื้อหาที่แสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์ เห็นอวัยวะเพศในลักษณะลามกอนาจาร หากการจัดเรตมีผลบังคับใช้ น่าจะมีประโยชน์ต่อคนทำและคนดู หนัง (ไม่มากก็น้อย) เนื่องเพราะต่างประเทศต่างมีการจัดเรตภาพยนตร์แทบทั้งนั้น ทว่า ลองมาฟังผู้กำกับการแสดงที่ได้รับผลโดยตรง ว่าคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล บุคคลสำคัญในวงการภาพยนตร์ไทย เปิดเผยว่าเห็นด้วยที่มีการแบ่งแยกผู้ชมตามประเภทของ หนัง ซึ่งเป็นระบบสากลที่ประเทศซึ่งรุ่งเรืองด้านภาพยนตร์นำไปใช้ นอกจากนี้ ยังเห็นว่าเรื่องเรตติ้งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากๆ อย่างเรื่องการพูดคำหยาบใน หนัง นั้น จะให้เป็นเรตติ้งอะไร หนัง แต่ละเรื่องควรพูดหยาบได้มากแค่ไหน แต่ถ้าจัดเรตติ้งว่าเด็กห้ามดูแล้วเด็กเข้าไปดู เราจะแก้ไขกันอย่างไร ด้าน ปื๊ด ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับที่กำลังมีผลงานภาพยนตร์เรื่อง สามชุก ที่กำลังเข้าโรงในขณะนี้ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เห็นด้วยกับการจัดเรต หนัง ในเมืองไทยมานานแล้ว คิดว่า หนัง ในสังคมไทยเราน่าจะดีขึ้น เพราะคนดูสามารถที่จะเลือก หนัง ที่มีคุณภาพชมได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงว่าเหมาะสมหรือไม่ แค่ไหน ผมคิดว่าภาพยนตร์เมืองไทยมีอิสรเสรีมากเกินไป หนัง บางเรื่องมีความรุนแรงมากซึ่งเยาวชนไม่ควรดู แต่เมื่อไม่มีการจัดเรตเด็กรุ่นไหนก็สามารถที่จะดูได้ คนสร้าง หนัง ก็ไม่กระทบ แต่ หนัง ที่นำเข้าจากต่างประเทศอาจจะกระทบบ้าง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเมื่อการจัดเรตนี้ได้นำมาใช้จริง ก็คือเรื่องแผ่นผี เพราะแผ่นผีเหล่านี้จะไม่มีการจัดเรต หนัง ทุกคนสามารถหาซื้อมาดูได้อย่างเสรี ปื๊ดกล่าว พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ ผู้กำกับหนุ่ม ที่ หนัง ของเขาเคยมีปัญหากับกองเซ็นเซอร์ตลอดมาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ไอ้ฟัก ถูกเซ็นเซอร์ฉากที่สมทรงเอานิ้วทายาหม่องรอบสะดือ กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตทำให้เขาไม่ค่อยเชื่อถือในเรื่องการจัดเรต จริงๆ ผมว่าการจัดเรต หนัง นั้นเป็นเรื่องดี เพราะที่ไหนๆ ก็มีเรต หนัง แต่...ผมว่าข้อ 7 น่ากลัวเพราะจากมติ ครม. จะเห็นได้ว่า หนัง จะถูกเซ็นเซอร์ก่อนสร้างเสร็จ แล้วค่อยมาจัดเรตอีกชั้นหนึ่ง ผมเห็นว่ามันไม่ยุติธรรมสำหรับคนทำ หนัง อย่างเรา เพราะถ้าสร้าง หนัง เสร็จ แต่สุดท้ายมาถูกสรุปว่าขัดต่อศีลธรรมและวัฒนธรรม ห้ามฉาย หนัง เรื่องไหนถูกห้ามฉายก็เหมือนโทษประหารของคนทำ หนัง ต้อม ยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับ หนัง มากมายไม่ว่าจะเป็นรักสามเศร้า อีติ๋มตายแน่ ฯลฯ กล่าวว่าแม้จะไม่เห็นด้วยกับข้อ 7 แต่ก็เห็นด้วยที่จะมีจัดเรตภาพยนตร์ให้ชัดเจน เรื่องคำหยาบใน หนัง ผมจะห่วงมาก อย่าง หนัง ที่สะท้อนสังคมส่วนใหญ่เวลาคนทะเลาะกันก็จะมีใช้คำว่าไอ้นั่น ไอ้นี่ อีนั่น อีนี่ หรือฉากที่คนสลัมคุยกันเขาก็ไม่พูดเพราะๆ กันหรอก พอมีเรตมันดี จะได้แบ่งชัดเจนไปเลยว่า หนัง เรื่องนี้พูดหยาบได้แค่ไหน คนอายุเท่าไหร่ถึงจะดูได้ ผมคิดว่าคนดู หนัง ต่างมีความคิด ไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะแสดงพฤติกรรมตาม หนัง ต้อมกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง ข่าวสัมพันธ์กับก้อยเป็นเหตุหนุ่มเลิกแฟนสาว ประจำวันที่4 ส.ค. มองผ่านเลนส์คม - เหมือนไม่ต่าง คิดสวนทาง - Love ขนมจีน-ซีควินท์ จับมือ ถอยซิงเกิ้ลใหม่ชิมลาง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook