เปิด พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สมัย ร.6 ยังมีผลบังคับใช้ถึงปัจจุบัน พระราชกฤษฎีกา

เปิด พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สมัย ร.6 ยังมีผลบังคับใช้ถึงปัจจุบัน พระราชกฤษฎีกา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หมายเหตุ : พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ซึ่งตราขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2457 และยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีสาระสำคัญคือ การยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ต้องมิใช่การโต้แย้งคำพิพากษาของศาลฎีกา ในขณะที่กลุ่มเสื้อแดงเตรียมจะยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมรับความผิด หรือกลับมารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้จำคุก 2 ปีเสียก่อน

*********************

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา วชิรวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ด้วยได้ทรงสังเกตเห็นมาว่า การทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์ หรือขอพระราชทานพระมหากรุณาบารมีในกิจต่างๆ ตามที่กระทำกันอยู่ในเวลาที่แล้วมายังหาเปนระเบียบเรียบร้อยดีไม่ เพราะความไม่เข้าใจระเบียบแบบแผนอันควรที่จะประพฤตินั้นและเปนเหตุ

การที่พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ข้าแผ่นดินทุกชั้นได้มีโอกาศทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาโดยตรงให้นั้น ก็เหมือนทรงประกาศพระราชประสงค์ให้ปรากฏชัดเจนว่า พระองค์ทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งแห่งกุลบิตรของชาวไทย มีพระราชหฤทัยปราถนาที่จะระงับทุกข์ผดุงศุขแห่งประชาชนอยู่เปนนิจ และจะได้มีพระราชประสงค์ที่จะลดหย่อนพระมหากรุณาคุณข้อนี้ก็หามิได้ แต่เปนการสมควรอยู่เหมือนที่ข้าแผ่นดินจะเข้าใจว่า พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจต่างๆ ซึ่งต้องทรงปฏิบัติ หรือทรงพระราชดำริห์และทรงแนะนำผู้ที่รับราชการในตำแหน่งน่าที่ต่างๆ อยู่เปนเนืองนิจ จะได้ประทับ อ.ว่างเปล่าก็หามิได้ และถ้าแม้จะต้องทรงเปนพระราชธุระโดยพระองค์เองในการวินิจฉัยฎีกาทุกฉบับที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว ก็จะหาเวลาทรงพระราชดำริห์ในราชกิจพแนกอื่นๆ ไม่ได้เลย จึงมีความจำเปนที่ต้องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งกรรมการศาลฎีกาไว้เปนผู้พิจารณาอรรถคดีเปนศาลอุทธรณชั้นสูงสุด เพื่อแบ่งพระราชภาระส่วน 1

ถึงกระนั้นก็ดี การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาโดยตรงจะได้ทรงห้ามปรามหรือตัดรอนเสียทีเดียวนั้นก็หามิได้ ยังทรงพระกรุณารับฎีกาของข้าแผ่นดินอยู่เหมือนกัน ทั้งนี้ นับว่าเปนพระมหากรุณาอันควรที่จะรู้สึกอยู่ทั่วหน้ากัน แต่บางคนก็ยังเข้าใจผิดคิดเห็นไปว่า การที่ยังทรงรับฎีกาอยู่นั้น แปลว่าทรงรับอุทธรณจากศาลฎีกาอีกชั้น 1 จึงได้มีผู้ถวายฎีกาคัดค้านหรือโต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกาอยู่เนืองๆ ทำให้เปลืองเวลาเปนอันมากส่วน 1 กับอิกประการ 1 มีบุคคลบางคนซึ่งไม่รู้จักกาละเทศะ เที่ยวตักถวายฎีกาในเวลาและที่อันไม่เหมาะด้วยประการทั้งปวงนั้นอยู่เนืองๆ

เหตุฉนี้วิ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชกฤษฎีกา กำหนดระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 บรรดาฎีกาที่จะทูลเกล้าฯ ถวายโดยตรง และที่จะทรงรับวินิจฉัยโดยพระองค์เองนั้น ต้องตกอยู่ในลักษณอย่างใดอย่าง 1 ดังต่อไปนี้คือ

1.ขอพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนผ่อนโทษ ซึ่งศาลหลวงใดๆ ตั้งแต่ศาลฎีกาลงไป ได้วางบทแล้วตามพระราชกำหนดกฎหมาย (แต่ไม่ใช่โต้แย้งคำพิพากษาของศาลนั้นๆ)

2.ขอพระราชทานพระมหากรุณา ขอรับพระราชทานพระราชานุเคราะห์ในกิจส่วนตัว เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์อันจะหาหนทางปลดเปลื้องโดยอาการอื่นไม่ได้นอกจากขอพระราชทานพระมหากรุณาโดยตรง

3.กล่าวโทษเจ้าน่าที่ ผู้ใช้อำนาจนอกเหนือที่สมควรแก่น่าที่ราชการซึ่งตนปฏิบัติอยู่ หรือใช้อำนาจนั้นโดยอาการอันรุนแรงเกินเหตุ จนทำให้ข้าแผ่นดินได้ความเดือดร้อน

4.กล่าวโทษเจ้าน่าที่ ผู้ประพฤติทุจริตในน่าที่ มีการใช้อำนาจทางราชการเพื่อกดขี่ข่มเหง หรือฉ้อราษฎร์บังหลวงเปนต้น

ข้อ 2 บรรดาที่ฎีกาทูลเกล้าฯ ถวาย ต้องมีนามและตำแหน่งและสถานที่อยู่ของผู้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกานั้น ปรากฏอยู่ในฎีกา เพื่อเจ้าน่าที่จะได้พบตัวผู้ถวายฎีกาได้โดยง่าย ไม่ต้องเสียเวลาเนิ่นเกินกว่าที่จำเป็น (บัตรสนเท่ห์ไม่ทรงรับพิจารณาเปนอันขาด)

ข้อ 3 ถ้าแม้ว่าฎีกานั้นจะทูลเกล้าฯ ถวายโดยตนเอง ให้ปฏิบัติเปนระเบียบดังต่อไปนี้

1.ถ้าเปนข้าราชการชั้นสัญญาบัตร์ ให้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาได้ในวันที่เสด็จออกขุนนาง และให้พูดจาตกลงกับเจ้าพนักงานกระทรวงวังว่าจะให้คอยเฝ้าในแห่งใด จึงจะเปนที่เหมาะที่สุดสำหรับก็จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระหัตถ์ได้ หรือถ้าเปนการด่วนแต่ไม่มีโอกาศเหมาะที่จะทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระหัตถ์ จะนำฎีกานั้นไปส่ง ณ ที่ทำการราชเลขานุการเองทีเดียวก็ได้

2.ถ้ามิใช่ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร์ ก็ให้ไปคอยทูลเกล้าฯ ถวายที่น่าพระลานสวนดุสิต ถ้าประทับอยู่สวนดุสิตหรือที่ถนนน่าพระลานริมประตูวิเศษไชยศรี ถ้าประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีนายตำรวจไปยืนคอยอยู่เพื่อรับฎีกาในเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินผ่านไป หรือถ้าเปนการด่วนจะรอมิได้ ก็ให้นำฎีกาไปส่งยังทีมดาบกรมพระตำรวจทีเดียวก็ได้

3.ถ้าเปนเวลาเสด็จเลียบมณฑลหัวเมือง หรือประทับอยู่ในพระราชสำนักในหัวเมือง ผู้ที่เปนข้าราชการชั้นสัญญาบัตร์จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาโดยตนเอง ก็ให้พูดจานัดหมายกับเจ้าพนักงานกระทรวงวังเพื่อนำเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทในโอากสอันเหมาะ หรือถ้าใช่ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร์ ก็ให้ถามที่กรมพระตำรวจเพื่อนัดหมายไปรับฎีกาต่อน่าพระที่นั่ง หรือจะส่งกรมพระตำรวจทีเดียวก็ได้

ข้อ 4 ถ้าผู้ใดมีความปราถนาที่จะส่งฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายโดยทางไปรสนีย์ ให้สอดฎีกาในซองสลักหลังว่า ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย ซองนั้นต้องเปิดผนึกไว้ แต่ให้สอดลงในซองอีกชั้น 1 สลักหลังซองถึงราชเลชานุการ ซองชั้นนอกนี้ให้ปิดผนึกและปิดตัวตราไปรสนีย์ตามระเบียบการส่งหนังสือทางไปรสนีย์

ข้อ 5 ถ้าผู้ใดจะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาโดยวิธีอันผิดระเบียบซึ่งกล่าวมาแล้วในข้อ 3 นั้น ถ้าเปนที่ภายในเขตรพระราชฐานให้เปนน่าที่เจ้าพนักงานกระทรวงวัง และกรมพระตำรวจว่ากล่าวตักเตือนให้ประพฤติให้ถูกระเบียบ และถ้าจำเปนก็ให้ห้ามปราบเสีย อย่าให้เปนที่ขุ่นเคืองหรือรำคาญใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทได้

ถ้าเปนที่ภายนอกพระราชฐาน ให้เปนน่าที่เจ้าพนักงานกองอารักษา คือกรมกองตระเวน (ในกรุง) และกรมตำรวจภูธร (ในหัวเมือง) ว่ากล่าวแลห้ามปรามดังกล่าวมาแล้ว

อนึ่ง ถ้าพะเอินเปนเวลาเจ้าน่าที่ มิทันที่จะว่ากล่าวห้ามปราม ผู้ถวายฎีกาได้เข้าไปยื่นฎีกาเสียแล้วฉนี้ไซร้ ห้ามมิให้ผู้ใดรับฎีกาที่ถวายผิดระเบียบเช่นนั้น ต้องให้ถวายใหม่ให้ถูกต้องถามระเบียบจึงค่อยรับ

ให้เปนน่าที่เจ้ากระทรวงผู้ปกครองท้องที่ออกคำชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจข้อความในพระราชกฤษฎีกานี้จงทุกประการ และให้เจ้าน่าที่ต่างๆ ซึ่งได้กล่าวนามมาแล้วข้างต้นนี้ ปฏิบัติกิจการตามน่าที่ของตนโดยเข้มงวดกวดขันสืบไป

พระราชกฤษฎีกาพระราชทานมา ณ วันที่ 5 มกราคม พระพุทธศักราช 2457 เปนวันที่ 1517 ในรัชกาลปักยุบันนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook