นันทวัลย์ ศกุนตนาค ทัพหน้ากรุยทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นันทวัลย์ ศกุนตนาค ทัพหน้ากรุยทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(AEM)ระหว่างวันที่13-16สิงหาคม2552ประเด็นหลักคือภาวะวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกกระทบกับเศรษฐกิจของอาเซียนรวมถึงไทยที่พยายามหาเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกรูปแบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะการเปิดเขตการค้าเสรีประชาชาติธุรกิจสัมภาษณ์นันทวัลย์ศกุนตนาคอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศถึงนโยบายการค้าเสรีของไทยความคืบหน้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงทำAECScorecardซึ่งเป็นแผนงานติดตามการดำเนินงานตามแผนงานไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ซึ่งมีเป้าหมายอีก6ปีแต่หลายประเทศก็ยังล่าช้าจึงได้จัดทำscorecardมีการประเมินนับ10ด้านให้คะแนนกันเสมือนเป็นแรงกดดันภายในอาเซียนกันเองซึ่งล่าสุดไทยได้ประเมินแล้วว่าดำเนินการตามแผนเสร็จสิ้นไปแล้ว60%จากก่อนนี้ได้56%ตอนที่ประเมินในการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการ(AEMRetreat)ที่เสียมราฐเมื่อเดือนพ.ค.ส่วนประเทศอาเซียนอื่นได้ระดับใกล้เคียงกันแต่ในปี2553นี้ตามกรอบความตกลงภายในอาเซียนจะต้องเปิดเสรีสินค้าบริการการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือและภาคการเงินการลงทุนโดยกลุ่มสินค้าจะลดภาษี0%ทั้งหมดสำหรับประเทศอาเซียนเดิมแต่ก็จะมีสินค้าบางส่วนที่แต่ละประเทศกันไว้เป็นสินค้าอ่อนไหวคงภาษีในอัตราที่ไม่เท่ากันเช่นไทยมี4-5รายการเช่นมะพร้าวแห้งไม้ตัดดอกกาแฟมันฝรั่งเป็นต้นส่วนประเทศกัมพูชาลาวพม่าและเวียดนามจะต้องลดภาษี0%ในปี2558ส่วนภาคบริการให้ความสำคัญในการเปิดเสรี4สาขาคือโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ขนส่งทางอากาศท่องเที่ยวและสุขภาพซึ่งมีเป้าหมายว่าจะเปิดเสรีการถือหุ้นจาก50เป็น70%ในปีหน้าส่วนที่เหลือจะทยอยเปิดเสรีในปี2558แต่หากจะเปิดเสรีก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามมาตรา190รัฐธรรมนูญส่วนเรื่องกฎหมายลูกมาตรา190ทางกระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการหวังว่าคงจะเสร็จสิ้นในเร็วๆนี้เพราะกฎหมายดังกล่าวจะช่วยกำหนดความชัดเจนและความโปร่งใสว่าสัญญาหรือความตกลงลักษณะอย่างไรที่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาเพราะหน่วยงานคงจะไม่เสี่ยงจึงต้องนำความตกลงทุกฉบับที่อาจจะมีผลเข้าสู่การพิจารณาจะทำให้มีสัญญาจำนวนมากที่รอเข้าสู่การพิจารณาการปฏิบัติงานด้านการเจรจาก็จะล่าช้าลงได้นโยบายการเจรจาการค้าระหว่างประเทศแนวทางการเจรจายังให้ความสำคัญกับการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีในกรอบอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจาเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่คนยังมองว่าไกลตัวซึ่งก่อนหน้านี้ทางกระทรวงเพิ่งเสนอแนวทางการเจรจาการค้าระหว่างปี2552-2556ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบวันที่23มิ.ย.ที่ผ่านมาโดยสาระสำคัญหลักๆแนวทางนี้จะใช้สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงต่างๆแต่หลักๆคืออะไรที่มีอยู่แล้วให้ดำเนินการต่อไปแต่อะไรที่เป็นสิ่งใหม่ต้องเสนอตามกระบวนการที่กำหนดในรัฐธรรมนูญมาตรา190จะเน้นการเจรจาระดับภูมิภาคที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเช่นอาเซียนและอาเซียนพลัสเอฟทีเอกับคู่เจรจาเอฟทีเอที่หยุดการเจรจาไปเช่นไทย-สหรัฐคิดว่าคงจะมีการนำกลับมาหารือกันในโอกาสที่ท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์จะเดินทางเยือนสหรัฐเพื่อพบกับผู้แทนการค้าสหรัฐ(USTR)ในเดือนนี้ส่วนไทย-อินเดียหยุดไปแต่เราสามารถใช้ความตกลงอาเซียน-อินเดียแทนซึ่งฉบับนี้คาดว่าจะลงนามในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(AEM)เดือนส.ค.นี้และก็มีเอฟทีเอไทย-บิมสเทคเตรียมเสนอครม.และรัฐสภาเพื่อลงนามที่ประเทศบังกลาเทศในเดือนต.ค.นี้ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ราวต้นปี2553ส่วนการเจรจารอบโดฮาของWTOที่ชะงักงันมาระยะหนึ่งแล้วขณะนี้สมาชิกรอดูแนวทางนโยบายของรัฐบาลใหม่ของสหรัฐและการเลือกตั้งของอินเดียทำให้ทั้งสองประเทศเสนอให้กลับมาเจรจาใหม่คาดว่าจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีการค้าในปลายปีนี้การใช้ประโยชน์จากความตกลงล่าสุดความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นหรือAJCEPซึ่งมีผลเมื่อวันที่1มิ.ย.ที่ผ่านมาภาคเอกชนจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีสินค้าเพิ่มขึ้นจากกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)อีก70รายการและจะได้ประโยชน์จากการสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าภายในอาเซียนซึ่งจะนำมารวมกันได้หากมีสัดส่วนแหล่งกำเนิดสินค้าในอาเซียนมากกว่า40%ก็ลดภาษีได้ซึ่งจะส่งผลดีกับสินค้าที่ไทยไม่มีวัตถุดิบเพียงพอต้องนำเข้าเช่นน้ำปลาหอยนางรมปลาหมึกกรอบพิซซ่าแช่แข็งเม็ดพลาสติกซึ่งรายการนี้จะลดภาษีทันทีต่างจากที่กำหนดในJTEPAว่าจะยกเลิกภาษีในปี2555ซึ่งผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบรายการสินค้าและเลือกใช้สิทธิตามความตกลงฉบับที่ตนได้ประโยชน์มากกว่าก็ได้ส่วนเรื่องการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุนในAJCEPจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อเจรจากันต่อไปหลังจากนี้อีก1ปีนอกจากนี้ความตกลงเอฟทีเออาเซียน-เกาหลีมีผลราวเดือนต.ค.2552ซึ่งเกาหลีจะลดภาษีนำเข้า0%ให้กับสินค้าประมาณ88-89%ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทยและทยอยลดเป็น0%ให้ได้90%ของรายการสินค้าที่นำเข้าจากไทยภายใน1ม.ค.2553ส่วนไทยจะลดภาษี0%ให้กับสินค้า83%ของรายการสินค้าและมูลค่าที่นำเข้าจากเกาหลีในวันที่1ม.ค.2553และทยอยลดภาษีสินค้า90%ในวันที่1ม.ค.2560ส่วนภาคบริการก็มีผลบังคับใช้แล้วเช่นเดียวกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook