โพลชี้ปชช.ไม่มั่นใจจับ แก๊งปาหิน ได้

โพลชี้ปชช.ไม่มั่นใจจับ แก๊งปาหิน ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้รถใช้ถนน ทั่วประเทศที่มีต่อ แก๊งปาหิน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา จำนวนทั้งสิ้น 1,267 คน ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2552 สรุปว่า 42.86% เห็นว่าเป็นการกระทำที่แย่มาก ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน 32.14% ทำให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนรู้สึกกลัวและต้องคอยหวาดระแวงเมื่อขับรถในยามค่ำคืน 17.86% เห็นว่าเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน 7.14% เห็นว่าทำให้เกิดความเสียหาย และเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ส่วนสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมดังกล่าว 67.24% ระบุว่าจากความคึกคะนอง ไม่รู้จักคิด 13.79% พฤติกรรมเลียนแบบ 10.34% ขาดการอบรมเลี้ยงดูที่ดีจากครอบครัว 8.63% กฎหมายไม่เด็ดขาด โทษยัง ไม่รุนแรงพอนอกจากนี้ 75.84% รู้สึกวิตกกังวลในการใช้รถใช้ถนนโดยเฉพาะต้องขับรถไปต่างจังหวัดในยามค่ำคืน 24.16% ไม่กังวล เนื่องจากปกติขับรถในช่วงกลางวัน เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจะสามารถหยุด แก๊งปาหิน ได้ 69.06% ระบุว่าไม่แน่ใจ เพราะต้องคอยติดตามจากข่าวว่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีกหรือไม่ , ขึ้นอยู่กับการเอาจริงจังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ 22.30% ไม่เชื่อมั่นว่าจะหยุด แก๊งปาหิน ได้ เพราะ บทลงโทษไม่เด็ดขาด เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมตัวคนปาหินมาดำเนินคดีได้ ,กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสอดส่องดูแลไม่เพียงพอ ฯลฯ 8.64% เชื่อว่าจะสามารถหยุด แก๊งปาหิน ได้ เพราะหากทำไม่สำเร็จภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสายตาของประชาชนก็จะติดลบทันที ฯลฯ

สำหรับวิธีการป้องกันตนเองของผู้ขับรถ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว 45.90% ไม่ขับรถ ไปต่างจังหวัดหรือขับรถระยะทางไกลๆในตอนกลางคืน 31.15% หลีกเลี่ยงเส้นทางที่เปลี่ยว มืด ไม่มีบ้าน คน 22.95% รีบทำธุระให้เสร็จในตอนกลางวัน ส่วนแนวทางแก้ไขต่อแก๊งปาหินรถยนต์ 70.31% เสนอว่า มีกฎหมายที่เข้มงวดและบทลงโทษที่เด็ดขาด 18.75% แนะเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องหมั่นตรวจตราตาม บริเวณที่มีความเสี่ยง 10.94% เสนอติดตั้งเสาไฟฟ้าตลอดเส้นทางที่มืด และตัดต้นไม้ที่ปกคลุมหรือหนา ทึบ

จากภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทย ณ วันนี้ เป็นอย่างไร 68.63% ระบุว่า ความเสื่อมโทรมทาง ด้านจิตใจ /การขาดจิตสำนึกที่ดีของคนในสังคมปัจจุบัน 19.60% ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เมื่ออยู่นอกบ้าน และ 11.77% การไม่เอาจริงเอาจังของเจ้าหน้าที่ตำรวจและความหละหลวมทางด้าน กฎหมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook