องค์กรงดเหล้ารุกสนั่นไม่ออกกฏคุมเหล้าปั่นจะร้องนายกฯ

องค์กรงดเหล้ารุกสนั่นไม่ออกกฏคุมเหล้าปั่นจะร้องนายกฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (ศคล.) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงสถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและผู้หญิงว่า สสส.และเครือข่ายมีความเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง เพราะในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงเริ่มเป็นนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65 สาเหตุสำคัญมาจากอิทธิพลของการโฆษณาและการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ของธุรกิจแอลกอฮอล์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จูงใจมีภาชนะบรรจุและสีสันสวยงาม ส่วนที่น่าเป็นห่วงและมาแรงคือเหล้าปั่น ที่ดูเหมือนน้ำผลไม้ปั่นดื่ มแล้วอาจไม่รู้ว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น วอดก้า รำ หรือจิน

ผอ.ศคล. กล่าวต่อว่า การขายเครื่องดื่มเหล้าปั่นจะจัดรูปแบบร้านคล้ายกับร้านขายน้ำผลไม้ จูงใจให้เด็กและผู้หญิงหันมาดื่มกันมากขึ้น เพราะส่วนวนผสมของหัวเชื้อน้ำผลไม้ ปัจจุบันจึงเรียกเหล้าปั่นอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องดื่มของเด็กหัวเกรียนในระดับมัธยม ขณะที่ร้านขายเหล้าปั่นมีการทำโปรโมชั่นจูงใจผู้หญิงในรูปแบบแปลกๆ เช่นถ้าในกลุ่มมีผู้ชาย 2 คนขึ้นไปมาดื่มผู้หญิงที่มาด้วยดื่มฟรี ที่น่าเป็นห่วงคือร้านเหล้าปั่นเหล่านี้ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงได้ประชุมหารือและเห็นชอบในการออกมาตรการควบคุมการจำหน่ายเหล้าปั่นด้วยการเสนอห้ามจัดทำและจำหน่ายโดยวิธีการทำเป็นเหล้าปั่นทุกประเภท ยกเว้นเฉพาะตามคลับ ตามบาร์ซึ่งสามารถจำหน่ายเหล้าได้อยู่แล้ว เวลานี้เราได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติที่มี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองฐมนตรี เป็นประธาน ว่าจะเรียกประชุมเพื่อเห็นชอบออกเป็นมาตรการบังคับใช้เมื่อไหร่ เราคุยกันแล้วว่าหากยังล่าช้า เราจะไปทวงถามความคืบหน้ากับพล.ต.สนั่น ถึงทำเนียบรัฐบาลและหากไม่ได้ผลก็คงต้องเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีต่อไป นายสงกรานต์ กล่าว

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ร่วมกับศูนย์วิจัยสุรา (ศวส.) และสสส. สำรวจร้านค้าและสถานประกอบการรอบๆมหาวิทยาลัยชื่อดังจำนวน15 มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครพบว่ามีร้านเหล้าปั่นอยู่ถึง 86 ร้านในรัศมี 500 เมตรจากมหาวิทยาลัยต่างๆและพบว่ามีร้านเหล้าตั้งอยู่ถึง 1,712 ร้าน เฉลี่ย 57 ร้านต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook