กระดานอิเล็กทรอนิกส์

กระดานอิเล็กทรอนิกส์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สอนเลขผู้พิการทางสายตา

เจาะงานวิจัยเพื่อผู้ด้อยโอกาส ต้องเข้าบูธนี้

กับผลงานจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนำมาแสดงในงาน การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2552 ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

และเรียกความสนใจจากผู้เข้าชมงาน ได้เป็นอย่างมาก ก็คือ กระดานไม้ที่มีปุ่มอิเล็กทรอนิกส์มากมาย น.ส.นุชนาถ พรชัย นักศึกษาปริญญาโท จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หนึ่งในทีมวิจัยชุดนี้ อธิบายว่านี่คือ กระดานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้พิการทางสายตา สำหรับการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์

โครงการดังกล่าว มี ดร.มานะ ศรียุทธศักดิ์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยกระดานอิเล็ก ทรอนิกส์ถูกพัฒนาขึ้นใน 3 รูปแบบ เพื่อให้ ผู้พิการทางสายตาได้ใช้สำหรับการเรียนเรื่องพื้นฐานของพิกัดและรูปกราฟพื้นฐาน

กระดาน 2 ชนิดแรก เป็นกระดาน ไม้ ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ผ่านพอร์ตยูเอสบี เริ่มจากเวอร์ชั่นแรกใช้ร่วมกับหมุดชนิดมีรู ใช้สรับเสียบหมุด เพื่อกำหนดพิกัด ส่วน เวอร์ชั่น 2 ที่นำมาแสดงเป็นแบบสวิตช์ใช้การกดปุ่มเป็นการกำหนดตำแหน่งพิกัดแทนการเสียบสาย

และเวอร์ชั่นสุดท้าย ผู้วิจัยบอกว่า พัฒนามาเป็นแบบหน้าจอสัมผัสหรือทัชสกรีนซึ่งควบคุมตรงจากคอมพิวเตอร์ โดยพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ส่วน คือซอฟต์แวร์สำหรับการเรียนรู้ และซอฟต์แวร์สำหรับทดสอบการเรียนรู้ ต้นแบบกระดานอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีการนำไปทดสอบการใช้งานแล้วที่โรงเรียนสอนคนตาบอด น้องนุชนาถ

บอกว่าจากการทดสอบพบว่า กระดานแบบสวิตช์ที่นำมาแสดงนี้เป็นแบบที่เด็ก ๆ ชอบมาก กว่าแบบอื่น ๆ เพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน

นอกจากนี้โปรแกรมจุฬาทีทีเอส จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก็เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่ น่าสนใจ โดยเป็นระบบสังเคราะห์เสียงจุฬาฯ ที่ ทำงานร่วมกับโปรแกรมอ่านหน้าจอ

น.ส.เฉลิมขวัญ ศิริพันธุ์ นักศึกษาปริญญาโท จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หนึ่งในทีมวิจัย อธิบายถึงโปรแกรมจุฬาทีทีเอสว่า มีการพัฒนามาประมาณ 2-3 ปี โดยใช้ระบบสังเคราะห์เสียงจุาฯ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ได้ใช้เป็นโปรแกรมช่วยเหลือสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เบื้องต้นระบบสังเคราะห์เสียงจุฬาฯ ถูกพัฒนา ขึ้นเพื่อให้ทำงานร่วมกับโปรแกรมอ่านหน้าจอ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส

จุดเด่นของโปรแกรมนี้คือสามารถอ่านได้ทั้งเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรหรือเท็กซ์ และอ่านโปรแกรมหน้าจอได้ด้วย

เสียงที่อ่านได้จะรื่นหู แต่ค่อนข้างช้า มีดีเลย์ประมาณ 1 วินาที ส่วนความถูกต้องนักวิจัยบอกว่ากว่า 99%

งานวิจัยทั้งสองโครงการนี้ อยู่ระหว่างการทดสอบและพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้พิการทางสายตา !!!!.

นาตยา คชินทร

nattayap@dailynews.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook