ระวังทางเลือกนำไปสู่จุดจบ

ระวังทางเลือกนำไปสู่จุดจบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ยุบสภา คืออีกมาตรการหนึ่งที่ผู้นำฝ่ายบริหารใช้เ ป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองและใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการทำงานของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งในการแก้ไขปัญหาหากต้องเผชิญ กับวิกฤติทางการเมืองด้วยวิธีนี้ แม้จะไม่ใช่เรื่องน่ากลัวตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในระหว่างการไปร่วมสัมมนากับสถาบัน พัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกับเลือกตั้ง (กกต.) แต่อาจเป็นเรื่องแปลกประหลาดและอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ของหลายคนที่ติดตามสถานการณ์การเมืองหากผู้นำรัฐบาลของไทยเลือกใช้ แนวทางดังกล่าว เพื่อยุติความสับสนจากการบริหารประเทศในห้วงเวลานี้

เมื่อมองเงื่อนไขหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่รุมเร้ารัฐบาล ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่การถูกตรวจสอบจากฝ่ายค้านซึ่งนำโดยพรรคเพื่อไทย จน มาถึงเรื่องคลิปเสียงของนายอภิสิทธิ์ ก็ยิ่งทำให้พรรคเพื่อไทยตกเป็นจำเลย ของังคม แม้จะไม่สามารถหาคนทำผิดมาลงโทษได้ แต่ในทางการเมือง ต้องยอมรับว่าพรรคฝ่ายค้านตกอยู่ในสภาพตั้งรับ ส่วนความเคลื่อนไหว ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ดูเหมือน จะไม่ได้รับการตอบรับจากสังคมเท่าที่ควร เนื่องเพราะแนวทางและยุทธวิธี การเคลื่อนไหว ทั้งของพรรคเพื่อไทยและ นปช. ไม่สามารถสร้างแรงกด ดันกับฝ่ายบริหารได้

แต่เงื่อนปมที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการ เมืองจนนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ กลายเป็นว่านายกรัฐมนตรีสร้างขึ้นมาเอง โดยเฉพาะการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) นอกจากจะนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์ ลุกลามกระทบถึงพรรคร่วมรัฐบาล และยังถูกเชื่อมโยงให้เห็นว่า มีผลกระทบกับภาวะความเป็นผู้นำ ที่อาจเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง ซึ่งมีบางคนพยายามหยิบยกมาเป็นข้ออ้าง การไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้ง ๆ ที่เป็นผู้บริหารประเทศ สูงสุด จึงเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีต้องเร่งคลี่คลายวิกฤติที่ก่อไว้ให้จบโดยเร็ว

ยิ่งนายอภิสิทธิ์ได้เคยระบุถึงเงื่อนไขในการยุบสภาว่า จะมาจาก 1) เริ่มเห็นดอกผลจากการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 2) ผู้เกี่ยวข้องพอใจกับระบบการเลือกตั้งในปัจจุบันหรือไม่ 3) เงื่อนไขความรุนแรงลดน้อยลง จนทำให้พรรคการเมืองสามารถหาเสียงได้ในทุกพื้นที่ แต่หากผู้นำรัฐบาลเลือกใช้หนทางยุบสภา ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวเอาไว้ นอกจากจะตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำนำไปสู่จุดจบทางการเมืองแล้ว ยังเป็นการ ตอกย้ำเสียงวิจารณ์ถึงความอ่อนหัด และความละอ่อนทางการเมืองที่ปล่อย ให้ความได้เปรียบทางการเมืองในมือของตนเองกลับไปอยู่ในมือของฝ่าย ตรงข้ามโดยไม่ต้องเปลืองเรี่ยวแรงใด ๆ.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook