แห่ต้อนรับ ดช.หม่อง ก.วิทย์ให้ เป็นยุวทูต

แห่ต้อนรับ ดช.หม่อง ก.วิทย์ให้ เป็นยุวทูต

แห่ต้อนรับ ดช.หม่อง ก.วิทย์ให้ เป็นยุวทูต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ด.ช.หม่องกลับถึงไทยแล้ว พ่อแม่ไปรอรับที่สนามบินสุวรรณภูมิ เจ้าตัวเผยดีใจที่นำรางวัลกลับมาได้ ตั้งใจจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนการแข่งที่ทำเวลาไม่ค่อยดี เพราะรู้สึกตื่นเต้น กระทรวงวิทย์เตรียมตั้งให้เป็นทูตของกระทรวง และจะมอบทุนการศึกษาให้เรียนต่อจนถึงระดับปริญญาเอก ครูแดง เตือนใจ ชี้กรณีด.ช.หม่อง เข้าข่ายขอสัญญาชาติไทยได้ เพราะมีคุณสมบัติทำคุณประโยชน์ให้ประเทศ

จากกรณี ด.ช.หม่อง ทองดี อายุ 11 ขวบ นักเรียนชั้นป.4 โรงเรียนบ้านห้วยทราย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศ ในการแข่งขันพับเครื่องบินกระดาษ ที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย. และสามารถคว้าเหรียญรางวัลมาได้ถึง 2 เหรียญ คือเหรียญทองประเภททีม และอันดับที่ 3 ประเภทเยาวชน มีกำหนดเดินทางกลับในวันที่ 21 ก.ย. ซึ่งก่อนหน้าจะไปแข่งขันด.ช.หม่อง ประสบปัญหากระทรวงมหาดไทยไม่ให้สัญชาติไทย ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ แต่ต่อมาภายหลังมีการอนุมัติให้เดินทางออกนอกประเทศได้เป็นกรณีพิเศษ จนไปสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ตามข่าวที่เสนอไปแล้ว

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 21 ก.ย. ที่สนามบินสุวรรณภูมิ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และคณะเดินทางไปรับด.ช.หม่อง และคณะผู้เข้าแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับกลับจากญี่ปุ่น โดยมีนายยุ้นและนางมอย ทองดี พ่อและแม่รวมทั้งน้องสาวของด.ช.หม่อง เดินทางมาสมทบที่สนามบิน กระทั่งเวลา 15.00 น. ด.ช.หม่องพร้อมคณะ ประกอบด้วย ดร.ประเสริฐ เฉลิมการนนท์ นายสุรินทร์ อินทรโชติ และน.ส.ฝอยฝน ศรีสวัสดิ์ เดินทางออกมาจากบริเวณภายในห้องผู้โดยสารขาเข้า โดยด.ช.หม่องเดินชูพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำคณะทั้งหมดออกมาท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้ที่ไปรอรับ ก่อนจะเข้าสวมกอดพ่อแม่ด้วยความดีใจน้ำตาไหลริน

คุณหญิงกัลยาให้ สัมภาษณ์ว่า สำหรับการได้รับรางวัลของคณะทั้งหมดในครั้งนี้นับว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิ ใจเป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นการปลุกจิตสำนึกให้กับเยาวชนไทยเพื่อให้หันมาสนใจการเรียนวิทยา ศาสตร์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่า แม้เพียงเรื่องที่คนอื่นอาจจะมองเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากตั้งใจก็สามารถทำให้ประสบความสำเร็จและสามารถยึดเป็นอาชีพในอนาคตได้ ด้วย อย่างเช่นการพับเครื่องบินกระดาษ ซึ่งคนญี่ปุ่นที่เป็นตัวตั้งตัวตีเรื่องนี้ สามารถเขียนหนังสือถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ ออกขายได้ และยังได้รับการยอมรับให้เป็นปรมาจารย์ในเรื่องนี้ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก

รม ว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของ ด.ช.หม่อง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สรุปว่าจะมอบรางวัลเป็นทุนการศึกษาให้เรียนต่อจนถึงระดับปริญญาเอก และจะแต่งตั้งให้เป็นยุวทูตของกระทรวง เพื่อเผยแพร่งานด้านวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนทั่วประเทศหันมาสนใจมากขึ้นด้วย

ด้าน ด.ช.หม่องกล่าวว่า รู้สึกดีใจที่นำรางวัลกลับมาให้คนไทยได้ เหรียญรางวัลที่ได้รับมาทั้งหมดนี้ตนอยากจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณของพระองค์ รวมทั้งตอบแทนพระคุณแผ่นดินไทย ที่ให้ตนและครอบครัวอาศัยอยู่อย่างมีความสุข สำหรับบรรยากาศในตอนแข่ง รู้สึกตื่นเต้นจึงอาจทำให้เวลาไม่ค่อยดีนัก แต่ก็สามารถคว้ารางวัลมาได้ เทคนิคที่ใช้ตลอดเวลาคือพยายามพับปีกเครื่องบินให้ได้เท่ากัน เพราะจะทำให้เครื่องบินอยู่ในอากาศนานมากที่สุด จากประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้หากเป็นไปได้โตขึ้นก็อยากเป็นนักบิน หรือไม่ก็นักวิทยาศาสตร์ เพื่อทำประโยชน์ให้ประเทศไทยต่อไป

"ขอขอบคุณท่านนายกฯ มากๆ ที่ให้กำลังใจและให้โอกาสในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ผมสามารถทำชื่อเสียงให้ประเทศตามที่ตั้งใจและบอกไว้กับนายกฯ แล้ว และขอขอบคุณคนไทยทุกคนที่ให้กำลังใจผมมาตลอด ผู้ใหญ่ทุกๆ ท่าน ทุกหน่วยงานที่ช่วยเหลือ ผมสัญญาว่าจะเป็นเด็กดี และทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยครับ" ด.ช.หม่องกล่าว

นายยุ้น ทองดี บิดาของด.ช.หม่อง กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ลูกทำชื่อเสียงให้ประเทศได้ ไม่เคยคิดมาก่อนว่าลูกจะมีโอกาสดีๆ อย่างนี้ ตนและครอบครัวต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่ทุกคน รวมทั้งประชาชนไทยที่เอาใจช่วยลูกชาย ทุกครั้งที่น้องหม่องจะเข้าแข่งขัน ตนจะให้ไหว้พระ ไหว้พระเจ้าอยู่หัวฯ และอธิษฐานขอให้พระบารมีของพระองค์ทำให้แข่งขันชนะทุกครั้ง ในวันนี้จะไปลงนามถวายพระพรที่ร.พ.ศิริราชด้วย

"เมื่อก่อนนี้ผม อยู่ที่รัฐฉานลำบากมาก แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้ามาอาศัยในประเทศไทยก็รู้สึกว่ามีความสุข และดีใจมากที่ลูกสามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทย เป็นการตอบแทนบุญคุณประ เทศ ที่ทำให้พวกเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี" นายยุ้นกล่าว

น.ส.ฝอย ฝน ศรีสวัสดิ์ นักวิจัยของเอ็มเทค ที่คว้ารางวัลอันดับ 1 ประเภทบุคคล รุ่นผู้ใหญ่หญิง กล่าวว่า ดีใจที่ทำชื่อเสียงให้ประเทศไทย ในสนามแข่งขันครั้งนี้น้องหม่องได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนญี่ปุ่นมาก ตั้งแต่ก่อนเดินทางไปร่วมแข่งขัน เช่น NHK จะมากันเยอะและมากันทุกวันเพื่อขอสัมภาษณ์ ทางผู้จัดจะจัดเวลาให้อย่างเหมาะสม ในบางครั้งเมื่อหม่องพบกับสื่อจำนวนมากจะไม่ค่อยมีสมาธิ ต้องช่วยกันสื่อออกไป ในการเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งนี้ทางสมาคมเครื่องบินพับกระดาษได้พาไปชม พิพิธภัณฑ์เครื่องบินกระดาษพับ และหอคอยเครื่องบินกระดาษที่เมืองฮิโรชิม่า ซึ่งน้องหม่องสนใจเครื่องบินกระดาษที่มีจำนวนมาก และมักจะพูดว่ามีแบบนี้ด้วยหรือ ที่ทำให้น้องหม่องตื่นเต้นคือรูปแบบ รูปทรงสามมิติของเครื่องบินซึ่งพับได้เหมือนของจริง จนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเครื่องบินที่มาจากกระดาษ ซึ่งเขาชอบมาก

ต่อ มาวันเดียวกัน ด.ช.หม่อง พร้อมครอบครัวเดินทางไปยังอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ร.พ.ศิริราช โดยได้นำแจกันดอกไม้มาถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับลงนามถวายพระพร โดยด.ช.หม่อง กล่าวว่า มีความตั้งใจจะนำเหรียญรางวัลที่ได้จากการแข่งขันพับเครื่องบินกระดาษที่ ประเทศญี่ปุ่น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะบรรพชาเป็นสามเณรในเดือนธ.ค.เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

นอกจาก นี้ ด.ช.หม่องยังได้พับเครื่องบินกระดาษวางไว้บนพาน เพื่อทูลเกล้าทูลกระ หม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกล่าวว่า ถึงแม้จะเป็นคนไร้สัญชาติ แต่รู้สึกตัวเองเป็นคนไทยทุกประการ และอยากทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดินไทย ในอนาคตอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักบิน

นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับด.ช.หม่อง ความจริงกระทรวงมหาดไทยไม่ได้มีการปฏิเสธเรื่องนี้ เพียงแต่ตอนที่มีการร้องเรียน ก็ขอเวลาปรึกษา และหลังจากการร้องเรียนวันรุ่งขึ้นผ่านไป 24 ชั่วโมงตนก็อนุมัติไป โดยแจ้งไปยังนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายรัฐมนตรี ให้ช่วยเรียนนายกรัฐมนตรีให้อนุมัติไปเลย

เมื่อถามว่า เมื่อด.ช.หม่องสร้างชื่อเสียงให้ประเทศจะมีการให้รางวัลพิเศษ หรือพิจารณาเรื่องประโยชน์ทางสัญชาติให้เป็นพิเศษหรือไม่ นายชวรัตน์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาหลายอย่าง เพราะอีกหน่อยจะเป็นตัวอย่างว่า คนที่ไม่มีสัญชาติก็มาขอเป็นสัญชาติไทยเป็นแสน ไม่ทราบจะทำอย่างไร

นาง เตือนใจ ดีเทศน์ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย กล่าวว่า กรณีของด.ช.หม่อง นับว่าเป็นบทเรียนสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่อยากฝากไปยัง รมว.มหาดไทย เพื่อให้ช่วยดูแลเรื่องกฎกระทรวงที่อยู่ในพ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 มาตรา 7 เกี่ยวกับสถานะของเด็กต่างสัญชาติที่เกิดในประเทศไทย เพราะปัจจุบันกฎกระทรวงดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสถานะของเด็กเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่จำนวนมาก

นาง เตือนใจกล่าวว่า สำหรับน้องหม่องขณะนี้เขาสามารถมีโอกาสได้สัญชาติไทย เพราะอยู่ในกลุ่มของยุทธศาสตร์การจัดการการไร้สถานะทางกฎหมายฯ ซึ่งกำหนดบุคคลไว้ 6 กลุ่ม ที่สามารถจะได้สัญชาติไทยได้ น้องหม่องมีคุณสม บัติอยู่ใน 2 กลุ่ม คือเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และกลุ่มบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ซึ่งสามารถอนุมัติให้สัญชาติได้ หากด.ช.หม่องได้สัญชาติ พ่อแม่ก็สามารถที่จะได้สัญชาติไทยด้วยเช่นกันในฐานะอนุโลม

สำหรับ บรรยากาศที่โรงเรียนบ้านห้วยทราย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อนๆ นักเรียนต่างดีใจไปกับความสำเร็จของด.ช.หม่อง ที่สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนและประเทศ โดยทางโรงเรียนจัดตั้งป้ายกระดาน เพื่อให้เด็กนักเรียนเขียนข้อความแสดงความยินดีและต้อนรับการกลับมาของด.ช. หม่อง

ด.ช.นันทพงศ์ ตาสาย นักเรียนชั้น ป.5 กล่าวว่า "วันที่หม่องกลับบ้าน เพื่อนๆ ทุกคนเตรียมเครื่องบินกระดาษพับขว้างขึ้นฟ้าพร้อมๆ กันต้อนรับหม่อง ถึงแม้หม่องจะไม่ได้ที่ 1 แต่หม่องก็ติดอันดับต้นๆ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยเรา โดยจะมีเพื่อนๆ นำกลองสะบัดชัยตีดังๆ ต้อนรับหม่องอย่างยิ่งใหญ่ด้วย"

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook