คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มศว ระบุเพศหญิงปวดกล้ามเนื้อมากกว่าเพศชาย

คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มศว ระบุเพศหญิงปวดกล้ามเนื้อมากกว่าเพศชาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ระบุเพศหญิงปวดกล้ามเนื้อมากกว่าเพศชาย มาจากท่าทางที่ผิด ใช้งานนานเกินไป แนะวิธีหลากหลายเพื่อลดอาการปวด นางผกาภรณ์ พู่เจริญ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าคนยุคปัจจุบันนี้มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดเนื่องมาจากการใช้ท่าทางที่ผิดปกติ ใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดถือเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมาก กล้ามเนื้อที่มีปัญหามากที่สุดคือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมท่าทาง หรือกล้ามกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและไหล่พบมากที่สุดในช่วงวัยทำงานโดยเฉพาะการทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำหรับอาการพบจะเริ่มจากอาหารปวดเมื่อยล้าเป็นเวลานาน ลักษณะการปวดจะปวดตื้อๆ หรืออาจมีอาการปวดลึกๆ และมีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณอื่นร่วมด้วย โดยอาจจะปวดบริเวณบ่าและปวดร้าวไปที่แขนและมือ ช่วงเวลาที่ปวดอาจจะปวดเฉพาะเวลาทำงานหปวดตลอดเวลาและจะขยายไปสู่การปวดที่รุนแรงมากจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายส่วนนั้นได้ สำหรับการรักษานั้นนั้นต้องใช้ความร้อนเข้ามาช่วย โดยใช้กระเป๋าน้ำร้อนบริเวณก้ามเนื้อที่มีอาการปวดประมาณ 15 20 นาที โดยให้รู้สึกอุ่นถึงร้อนแต่ไม่ควรร้อนจัดเกินไป หรือเวลาอาบน้ำใช้น้ำอุ่น ฉีดบริเวณที่มีอาการปวด ส่วนการบำบัดอีกวิธีคือการนวดแต่ไม่ควรจะนวดแรงจนเกินไป การนวดจะเป็นการกระตุ้นตัวรับประสาทที่ผิวหนัง ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยยืดเนื้อเยื่อหรือใยกล้ามเนื้อที่มีการติดยึดและช่วยคลายจุดกดเจ็บ ช่วยการไหลเวียนของเลือกและน้ำเหลืองให้ดีขึ้น ทำให้ของเสียที่คังค้างออกจากบริเวณที่มีปัญหา นอกจากนี้การนวดยังไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอนครอฟินทำให้อาการปวดหลังลงลงได้ สำหรับการยืดกล้ามเนื้อก็สามารถลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดผ่อนคลายมากขึ้น เป็นการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้ออ เป็นการป้องกันและลดการเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บ อีกทั้งยังทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น นางผกาภรณ์ กล่าวอีกว่า การยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้อาการปวดกล้ามเนื้อมีอาการดีขึ้น เรื่อมจากต้องยืดกล้ามเนื้อขณะที่ผ่อนคลาย ยืดอย่างนุ่มนวล จนรู้สึกตึงหรือเจ็บพอทนได้ ค้างไว้ประมาณ 10 30 วินาที ทำซ้ำ 5 10 ครั้ง หลังจากยืดความตึงจะรู้สึกคลายลง ทำซ้ำจนรู้สึกช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อดีขึ้นและเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าการรักษาจะทำให้อาการปวดกล้ามเนื้อดีขึ้นจนเป็นปกติแล้วก็ตาม หากแต่การทำงานหรืออยู่ในท่านั้นๆ นานๆ อาจส่งผลให้อาการปวดกล้ามเนื้อกลับมาปวดได้อีก จึงต้องระมัดระวังใจการทำงานและต้องอยู่ในท่านั้นๆ เป็นเวลานาน สิ่งสำคัญต้องรู้จักพักและผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นระยะๆ ถือเป็นการป้องกันไม่ให้อาการปวดกลับมาอีก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook