พยาบาลไต้หวันผู้พัฒนาสังคมสุขภาพดี

พยาบาลไต้หวันผู้พัฒนาสังคมสุขภาพดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รับพระราชทานรางวัล ''สมเด็ขพระศรีฯ''

นับตั้งแต่ปี 2543 มูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดำเนินการพิจารณาผลงานดีเด่นของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อมอบ รางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งผลการพิจารณาในปีนี้ ศ.ดร.ยู-เม ยู เชา พยาบาลชาวไต้หวัน อายุ 70 ปี ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และการพยาบาลของไต้หวันมากว่า 40 ปี ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติดังกล่าว โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะประธานมูลนิธิฯ เสด็จฯ พระราชทาน รางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปี 2551 ณ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระบรมมหาราชวัง พร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงน้ำชา ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย มโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง

ศ.ดร.ยู-เม ยู เชา กล่าวภายหลังเข้ารับพระราานรางวัลว่า ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่สุดในชีวิต ความสนใจศึกษาการพยาบาลมาจากบิดา ซึ่งเป็นแพทย์ที่เสียสละ อุทิศตนดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด บังเกิดเป็นแรงบันดาลใจ มุ่งเจริญรอยตามบิดา สอบเข้าเรียนพยาบาลที่มหาวิทยาลัยแห่งไต้หวัน ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลเป็นปีแรก จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อสาขาพยาบาลศาสตร์ ระดับปริญญาเอกและโท จาก มหาวิทยาลัยพิสเบอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้านผลงาน ศ.ดร.ยู-เม ยูเชา กล่าวว่า เมื่อปี 2524 ร่วมกับกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโลหิตวิทยา ก่อตั้งมูลนิธิโรคมะเร็งในเด็กแห่งไต้หวัน จัดหายาและรักษาเด็กป่วยเป็นมะเร็ง พร้อมประชาสัมพันธ์จัดหาทุนช่วยเหลือครอบครัวเด็กผู้ป่วยที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จนเด็กผู้ป่วยสามารถรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มอัตราการอยู่รอดจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากร้อยละ 26 เพิ่มขึ้นเนร้อยละ 79 ในปี 2550 นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบประกันสุขภาพโดยนำผลจากการวิจัยมาผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายการดูแลผู้ป่วยระยะยาวตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงบ้าน

ในปีเดียวกัน ก่อตั้งมูลนิธิดาวเชน (Dao-Chen) เพื่อสนับสนุนการศึกษา มอบ ทุนแก่พยาบาลไต้หวัน ศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา สมัยเริ่มตั้งมูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุนเงินทุนการศึกษาจากสามี ดร.ฮุ่ย ฮวน เชา แพทย์ด้านหู คอ จมูก จนพยาบาลผู้รับทุนสำเร็จการศึกษามาพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในประเทศ จัดตั้งสถาบันดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และต่อมามีการออกกฎหมายดูแลผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook