''โคมประทีป'' มรดกเวียงท่ากาน

''โคมประทีป'' มรดกเวียงท่ากาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างสำนึกหวงแหนโบราณสถาน-วัตถุ

พระประสงค์มุ่งหวังอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนโบราณล้านนา และสร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชนหวงแหนโบราณสถานและโบราณวัตถุในท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมให้ โบราณสถานเวียงท่ากาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมแบบยั่งยืน และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย พระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงมีพระดำริจัดงาน โครงการโคมประทีปส่องหล้า มรดกล้ำค่า เวียงท่ากาน ขึ้น โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ โบราณสถานเวียงท่ากาน ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้ชาวบ้านเวียงท่ากานร่วมใจกันปล่อยโคมลอยจำนวน 583 โคมขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งในจำนวนโคมทั้งหมดมีโคมลอยสีเหลืองจำนวน 83 โคมที่ปล่อยขึ้นพร้อมกัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเจ้าล้าจุฬาภรณวลัย ลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แก่ นายสุรชัย เกียวจันทึก ผู้ชนะเลิศการประกวดโคมแขวนประเภทสวยงาม โคมทองส่องแสงสู่เวียงกานโคมทองนำทางสู่ชาวยอง และพระราชทานใบประกาศเกียรติคุณแก่ นายธีรพงษ์ สาระขา รองชนะเลิศอันดับ 1, นางพรธนา วงศ์พานิช รองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัลได้แก่ นายสุชาติ ศรีนวล และ นายสุภัท แก้วเรียนดี จากนั้นทอดพระเนตรการแสดงอิงประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน นับแต่ยุคพระนางจามเทวี แห่งแคว้นหริภุญไชยถึงสมัยพระยากาวิละ อันมีศิลปวัฒนธรรมแบบชาวไทยยองสืบมาจนวันนี้ อาทิ การปล่อยโคม, การฟ้อนมองเซิง ในชื่อชุด ทิพย์โพยมส่องฟ้า เวียงท่ากาน

ในการนี้ทอดพระเนตรผลงานศิลปะของเด็ก เยาวชน, ผลงานโคมลอยที่ชนะการประกวด และผลงานศิลปะจาก 13 ศิลปินแห่งชาติ ที่สะบัดปลายพู่กันวาดภาพ ด้วยแรงบันดาลใจต่อโบราณสถานเวียงท่ากานปประมูลจัดหารายได้ จัดสร้าง พิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน ต่อไป จากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการ ประวัติโบราณสถานเวียงท่ากานและทอดพระเนตร วีดิทัศน์ การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน

นายสุรชัย ผู้ชนะเลิศการประกวดโคมแขวนประเภทสวยงาม กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่เคยทำโคมลอยมาก่อน แรงบันดาลใจมาจากพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ด้านบนเรียกว่า ตูมบัว หรือ พุ่มบัว มีพระนามาภิไธยย่อ ภปร. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนกลางเป็นทรงสี่เหลี่ยม สื่อความหมายการมีรากฐานแข็งแรง ส่วนล่างเป็นสายยาวลงมา สื่อถึงการลงรากหยั่งลึกในบวรพุทธศาสนา นำลวดลายแบบล้านนามาประยุกต์ ใช้กระดาษว่าวเป็นวัสดุ และใช้ไม้ไผ่ทาสีทองทับและฉลุตอกลาย.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook