คลอดแผนตลาดทุน-เงินระยะ2

คลอดแผนตลาดทุน-เงินระยะ2

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ครม. เศรษฐกิจได้เห็นชอบแผนพัฒนาตลาดทุนไทย และแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เสนอมา โดยมีเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 53-57 เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน รองรับการเปิดเสรีในอนาคต มีสินค้าที่หลากหลาย โดยในส่วนของประชาชนจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่มีบัญชีเงินฝากและความสามารถในการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ มี 10% ของประชาชนทั้งหมด ที่ ธปท. มีแผนจะให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ชัดเจนอยู่

15 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีตลาดหุ้นไทย ไม่เคยมีแผนพัฒนาตลาดทุนเลย นอกจากช่วยให้เอกชนมีต้นทุนลดลงแล้วกรณีข่าวลือที่ทำให้ดัชนีลดลงอย่างรุนแรง สะท้อนให้เห็นว่าการไม่มีแผน ทำให้มีปัญหานักลงทุนมองว่าตลาดหุ้นเป็นเพียงแหล่งการพนัน สร้างข่าวลือเพื่อหาประโยชน์ ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมใช้ตลาดทุนเป็นกลไกหลักในการฟื้นเศรษฐกิจ ไได้ โดยหลังจากนี้ ธปท. จะชี้แจงให้ธนาคาร ทราบรายละเอียดในเดือนนี้

สำหรับแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 5 ปี มี 8 แผนหลัก 34 แผนย่อย ทั้งการเปิดเสรี เพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลาง แปรรูปตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำไปสู่ตัวชี้วัดในปีสุดท้ายคือมีประชาชนเข้าลงทุนในตลาดหุ้นจาก 2.4% เป็น 5% ของประชากรมูลค่าตลาดทุนจาก 86% เป็น 130% ของจีดีพี และมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ 11 ประเภท

นอกจากนี้ได้จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานไทย ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อระดมทุนจากนักลงทุนทั่วไป เบื้องต้นมีรัฐวิสาหกิจที่พร้อมจัดตั้งกองทุนนำร่อง อาทิ การไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย คาดว่าจะระดมทุน 27,000 ล้านบาท โดยจะเสนอเข้า ครม. อีกครั้งในไตรมาสแรกแรกปี 53

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า แผนแม่บทการเงินระยะ 2 นั้น แบ่งเป็น 3 ช่วง โดยช่วงแรกปี 53-54 ยังคงเดินหน้าเพิ่มความเข็งแกร่งสถาบันการเงิน โดยสนับสนุนควบรวมกิจการบริษัทเงินทุนที่ลือทั้งหมดจากแผนพัฒนาฯ ฉบับแรก แต่ไม่เน้นให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพิ่ม และผ่อนปรนเงื่อนไขขยายสาขา และขยายการทำธุรกิจได้ โดยสาขาธนาคารต่างประเทศและเอทีเอ็มเปิดเพิ่มได้ไม่เกิน 20 แห่ง

ส่วนระยะที่ 2 ในปี 55-56 จะเน้นให้ใบอนุญาตใหม่ เฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ในระบบการเงิน เช่น การประกอบธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ โดยจะเปิดกว้างให้ธนาคารพาณิชย์ขอใบอนุญาตได้เพิ่มเติม หรือร่วมทุนกับต่างชาติได้ รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนในพื้นที่ นั้น ๆ ให้กระจายสินเชื่อ ช่วงสุดท้าย ทบ ทวนบทบาท กติกาเพิ่มเติมให้สอดรับกับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 58 ซึ่งต้องศึกษาผลกระทบจากข้อตกลงอาเซียนก่อนว่าจะมีผลอย่างไรต่อระบบสถาบันการเงินไทย.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook