4วิทยาลัยสารพัดช่างตกมาตรฐานสมศ.

4วิทยาลัยสารพัดช่างตกมาตรฐานสมศ.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สมหวังเบรกอาชีวะเฮโลเปิดป.ตรีเฉลียวรับฟังเปิดป.ตรีต้องคุณภาพ

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ รักษาการผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองด้านการอาชีวศึกษา ประเภทสารพัดช่างว่า จากการประเมินวิทยาลัยสารพัดช่าง (วช.) 50 แห่ง พบว่าผ่านการรับรอง 42 แห่ง คิดเป็น 84% ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน4 แห่ง ได้แก่ วช.สุโขทัย วช.สมุทรปราการ วช.ปราจีนบุรี และวช.ธนบุรี นอกจากนี้ยังรอพินิจอีก 4 แห่ง ได้แก่ วช.พัทลุง วช. พระนคร วช.ตราด และวช.ชลบุรี โดยในส่วนที่รอพินิจจะต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 6-12 เดือน

ศ.ดร.สมหวัง กล่าวต่อไปว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 19 แห่งนั้น จากการประเมินคพภายนอกรอบสองด้านการอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนรวมทั้งหมด 549 แห่ง เมื่อแยกวิทยาลัยสารพัดช่าง 50 แห่งออก เพราะมีแนวทางจัดการศึกษาที่ต่างกัน ก็จะเหลือ 499 แห่ง พบว่า 314 แห่ง มีผลประเมินอยู่ในระดับดี และมีเพียง 101 แห่ง ที่มีผลประเมินระดับดีมาก รอพินิจ 25 แห่ง แบ่งเป็นรัฐ 14 แห่ง เอกชน 11 แห่ง และมีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง 59 แห่ง เป็นของรัฐ 27 แห่ง และเอกชน 32 แห่ง และเมื่อพิจารณาจำนวนอาจารย์พบว่าวิทยาลัยในสังกัด สอศ. มีสัดส่วนอาจารย์ที่เป็นลูกจ้างกว่า 50% และเป็นอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาตรี 73% ดังนั้นในการเปิดสอนปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือปฏิบัติการคงต้องรีบพัฒนาบุคลากร โดยอย่างน้อยผู้ ที่จะสอนปริญญาตรีต้องจบปริญญาโทขึ้นไป และควรมีประสบการณ์ในสถานประกอบการมากพอ ไม่ใช่พร้อมใจกันเปิดสอนปริญญาตรี ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาใหม่ในวงการอาชีวศึกษา

นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีว ศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า หลายหน่วยงานได้ให้ข้อเสนอแนะว่าไม่ควรจัดตั้งในคราวเดียวกันทั้งหมด แต่ควรมีการนำร่องเพื่อให้เกิดความพร้อม อย่างไรก็ตามการเปิดสอนปริญญาตรีเป็นคนละเรื่องกับการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ไม่ใช่เมื่อเป็นสถาบันแล้วถึงจะเปิดสอนได้ ซึ่งในการเปิดสอนปริญญาตรีจะต้องขออนุมัติจากบอร์ด กอศ. โดยดูความพร้อมทั้งอาจารย์ หลักสูตร อุปกรณ์ และที่สำคัญความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อรองรับการฝึกประสบการณ์ เพราะเราตั้งเป้าไว้ว่าบัณฑิตที่จบออกไปต้องไม่ตกงาน คาดว่าจะประกาศจัดตั้งได้ในปีการศึกษา 2553.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook