โว ทักษิณ วีดีโอฯประชุมร่วม ฮุนเซน

โว ทักษิณ วีดีโอฯประชุมร่วม ฮุนเซน

โว ทักษิณ วีดีโอฯประชุมร่วม ฮุนเซน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นพดล เผย ทักษิณ เตรียมวีดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ประชุมร่วม ฮุนเซน เชื่อนายใหญ่ไม่ใช้เขมรกดดันไทย ด้าน สุเทพ ชี้ เป็นสิทธิของแต่ละประเทศ ยันแยกแยะได้ มั่นใจไม่กระทบความสัมพันธ์ไทย-เขมร ด้านผอ.สถาบันเพื่อ สิทธิมนุษยชน จวก ฮุนเซน ละเมิดอำนาจอธิปไตยไทยอย่างร้ายแรง แกนนำ 40 ส.ว.จี้ รัฐบาลแถลงตอบโต้รัฐบาลกัมพูชา หลังหมิ่นศักดิ์ศรีระบบยุติธรรมไทย แนะออกแถลงการณ์ตอบโต้ และตัดความสัมพันธ์ทันที ด้านเลขาธิการหอกาค้าภาคอีสาน ชี้ ฮุน เซน ทำไม่เหมาะสม

(5พ.ย.) ที่สภาฯ นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี กล่าวกรณีสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐ มนตรีกัมพูชาแต่งตั้งพ.ต.ท.ทักษิณเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและต่างประเทศ ว่า รัฐบาลกัมพูชามีสิทธิในการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากมองเห็นคุณค่าและศักยภาพ รวมทั้งมีสิทธิที่จะพิจารณาไม่ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ แม้รัฐบาลไทยจะอ้างสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพราะสมเด็จฮุนเซนไม่พอใจการดำเนินการ และไม่ชอบรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชายังเหนียวแน่นเหมือนเดิม

ดังนั้นการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีบอกว่าให้แยกแยะความสัมพันธ์ส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซน กับพ.ต.ท.ทักษิณนั้น รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ต่างหากที่ควรเป็นฝ่ายกลับไปทบทวนว่าทำไมรัฐบาล กัมพูชาจึงไม่ชอบรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาเสื่อมโทรมลงมากในรัฐบาลชุด นี้ อย่างไรก็ตามในส่วนการทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาฯเบื้องต้นพ.ต.ท.ทักษิณ อาจใช้รูปแบบวิดีโอคอนเฟอรเร้นท์ในการประชุมร่วมสมเด็จฮุนเซน เพื่อร่วมหารือในแก้ปัญหาต่างๆ เนื่องจากยังไม่แผนเดินทางไปกัมพูชาในช่วงนี้ โดยยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ใช้กัมพูชากดดันรัฐบาลแน่นอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ปฎิเสธที่จะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่พยายามสอบถามท่าทีกรณีที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ โดยตอบเพียงว่า " ให้รอฟังจากนายกฯ"

ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ยังไม่ต้องทบทวนท่าทีความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา เราต้องแยกแยะระหว่างเรื่องภายในแต่ละประเทศกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ เพราะเรื่องภายในแต่ละประเทศรัฐบาลมีสิทธิ์ที่จะแต่งตั้งใครรับตำแหน่งอะไร อย่างนี้เราเข้าไปแทรกแซงเขาไม่ได้ คนที่เขาแต่งตั้งนั้นเราจะชอบหรือไม่ชอบ ถูกใจเราหรือไม่ ก็ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะไปเอะอะโวยวายกับเขา ส่วนกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหากเรามั่นใจในสัญญาข้อตกลงกรณีส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนที่เราได้ทำความตกลงไว้กับกัมพูชาใช้บังคับได้ ตรวจสอบดีแล้ว และมั่นใจแล้วว่าคนที่หนีคดีไปจากประเทศไทย ไปพำนักเป็นการถาวรที่นั่นเราก็ส่งหนังสือไปตามกระบวนการกฎหมายระหว่าง ประเทศไป เหมือนที่เคยส่งหนังสือขอตัวนายราเกซมาดำเนินคดี แต่เมื่อทำไปแล้วเขาไม่ให้ค่อยมาพิจารณาว่าเป็นการกระทำผิดตามข้อตกลง ระหว่างประเทศอย่างไรว่ากันไปทีละขั้นตอน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งที่กัมพูชาเองก็รู้เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีอย่างนี้ถือเป็นการหักหน้ารัฐบาลไทยหรือ ไม่ นายสุเทพ กล่าวติดตลกว่า เราก็อย่ายื่นหน้าให้เขาหัก เราต้องเก็บหน้าเอาไว้ให้ดี ทำไมเราต้องยื่นไปให้เขาหักไปเฉยๆ เป็นเรื่องของเขาที่เขาจะตั้งใคร ถ้าสมมุติว่ารัฐบาลไทยเกิดจะตั้งนายสม รังษี ขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาอะไรก็ได้แล้วไม่ถูกใจนายฮุนเซนมันก็เรื่องของเรา เรื่องนี้เป็นเรื่องของเขาก็ต้องแยกกัน เราอย่ารวมทุกประเด็นเข้าด้วยกันจากความารู้สึก แต่ต้องแยกแยะเรื่องนั้นให้ดี

เมื่อถามว่า เป็นการท้าทายกระบวนการยุติธรรมของไทยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่มองเช่นนั้น เพราะตนแยกแยะได้ แต่ละประเทศมีกฎหมายของตัวเอง เมื่อครั้งขอตัวนายราเกซจากศาลแคนนาดา ก็ต้องสู้กันนานถึง 13 ปี กว่าจะตัวกลับมา ดังนั้นต้องว่ากันตามกฎหมาย เพราะหากไทยชิงโกรธแคนนาดาตั้งแต่ปีโน้นป่านนี้เราคงไม่ได้ตัวนายราเกซกลับ มา คงตัดสัมพันธ์ไมตรีไปเรียบร้อย

ผู้สื่อข่าวถามว่ายืนยันหรือไม่ว่าการกระทำของกัมพูชาครั้งนี้จะไม่ส่ง ผลกระทบความสัมพันธ์ไทย- กัมพูชาด้านอื่น ๆ ใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ในฐานะรับผิดชอบงานด้านความมั่นคง ตนแยกเรื่องออกเป็นเรื่องๆ ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาจะดูเป็นกรณี ๆ ไป เช่น ปัญหาเขตแดนก็มีกรรมการร่วมดำเนินการชี้หลักเขต ปัญหากระทบกระทั่งตามแนวชายแดนของทหารก็เจรจากันไป ถ้ามีเรื่องประโยชน์ทับซ้อนในพื้นที่ทางทะเล ก็มานั่งพูดคุยปรึกษากันไปเป็นเรื่องๆ แต่ยืนยันในหลักการว่าไทยต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสันติ แต่ถ้าเขารุกล้ำอธิปไตยของไทยนั่นก็เป็นเรื่องที่เราต้องลุกขึ้นมาปกป้อง

เมื่อถามว่า วันนี้จะสรุปได้หรือยังว่ากัมพูชาไม่ใช่มิตรไทยอย่างแท้จริง เพราะแต่งตั้งนักโทษหนีคดีของไทยเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกฯ นายสุเทพ กล่าวว่า การคิดเช่นนั้นแสดงว่าใช้อารมณ์เรามาคิดอย่างนั้นไม่ได้ ผลประโยชน์ของชาติจะเอาไปแลกกับความโกรธ ชอบหรือไม่ชอบไม่ได้ เพราะมันไม่สนุกที่จะไปทะเลาะกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเหตุเพียงมีผู้ต้องหาหนีศาลคนหนึ่งเท่านั้น มันไม่คุ้มกัน ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะช่วยทำให้กัมพูชาเข้าใจปัญหาชายแดนได้บ้างหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่คาดหวังขนาดนั้น จะยุเสียล่ะไม่แน่ เรื่องที่จะช่วยคงยาก

ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่ากลัวอยู่เหมือนกันว่าจะเกิดปัญหาชายแดนขึ้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่กลัว เพราะกัมพูชาคงไม่พร้อมจะมาทะเลาะกับไทย เขาจะชอบ พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ก็เป็นเรื่องของเขา แต่เขาคงไม่คิดอยากจะมาทะเลาะกับไทย เขาคงไม่อยากทำ เมื่อถามว่า แต่ดูเหมือนว่าการกระทำของกัมพูชาไม่นึกถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เลย นายสุเทพ กล่าวว่า ตนคิดว่าไม่ใช่ อย่างที่ตนบอกแล้วว่าต้องแยกแยะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างนายกฯกับนายกฯ

เมื่อถามว่า จำเป็นต้องปรับยุทธศาสตร์ชายแดนไทยกัมพูชาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ต้องปรับใด ๆ ยังคงดูแลไม่ให้มีการปะทะกัน ทหารก็ต้องคอยเจรจากันไว้ เพราะถ้าเกิดปัญหาขึ้นคงไม่ดีสำหรับประเทศเสียบรรยายกาศ

ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ทวิตขอบคุณนายกรัฐมนตรีกัมพูชาอยากฝากบอกอะไรกับ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ฝากพ.ต.ท.ทักษิณ จะทวิตหรือโฟนอินก็ตาม เขาทำโดยมีเป้าหมายอยู่แล้วว่าต้องการให้ไทยปั่นป่วนเข้าไว้ อย่างนี้ชัดเจน"คุณทักษิณ กับคุณฮุนเซนเขาคบค้ากันมานานแล้ว ผมเพิ่งรู้จักไม่นาน และไม่เคยไบอกว่าเป็นเพื่อนสนิทสนม เพียงแค่รู้จัก เคยไปมาหาสู่บ้าง พูดคุยกันได้บ้าง แต่ ผมคงไม่ก้าวล่วงไปถึงกับว่า เขาจะคบใครได้ คบใครไม่ได้ นั่นมันไม่ใช่เรื่องของผม ตอนนี้รอว่า เมื่อเรามีหลักฐานชัดว่าคุณทักษิณ ได้เข้าไปตั้งหลักแหล่ง พำนักในกัมพูชาชัดเจนแล้ว ตื่นเช้า 8 โมงไปทำงาน 5 โมงเย็นกลับเข้าที่พัก ถ้ารู้อย่างนี้เราก็ดำเนินกฎหมายระหว่างประเทศตามข้อตกลง โดยทำเรื่องขอให้เขาส่งตัวกลับมา เมื่อนั้นกระทรวงการต่างประเทศกับสำนักงานอัยการสงสุดต้องแสดงท่าที" นายสุเทพ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เดินทางไปพบผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลต้องระวังปัญหาที่จะตามมาเหมือนกรณีกัมพูชาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า พล.อ.ชวลิต กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำงานประสานกันอยู่แล้ว ซึ่งชัดเจนว่าพล.อ.ชวลิตมาทำงานในพรรคเพื่อไทย ก็เพื่อรับใช้พ.ต.ททักษิณ เพราะฉะนั้นเป้าหมายเขาชัดเจน เราต้องแก้ปัญหาของเราไป อย่างไรก็ตามจากการที่พล.อ.ชวลิตจะเดินทางไปประเทศมาเลเซียนั้น ไม่มีอะไรที่ต้องไปกลัว ต่อสู้ไปตามความเป็นจริง เรื่องภายในของประเทศไทยประเทศเพื่อนบ้านไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ไม่ว่าทั้ง พล.อ.ชวลิต และพ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินสายไปพูดให้ทั่วอย่างไร ก็ไม่มีใครเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของไทยได้ และรัฐบาลก็ไม่เคยอ่อนไหวต่อเรื่องเหล่านี้เลย ไม่มีปัญหา

เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ว่า อนาคตกัมพูชาจะเป็นภัยคุกคามของไทย เพราะขณะนี้เขามีการเพิ่มงบการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ คิดว่าเขาจะเป็นภัยคุกคามต่อประเทศไทยได้ ไม่น่ามีปัญหา ตนเชื่อว่าประเทศเพื่อนบ้านของไทยทุกประเทศ ไม่มีใครอยากมีปัญหา เพราะทุกคนอยากอยู่อย่าวสันติกับระเทศเพื่อนบ้านและร่วมมือด้านเศรษฐกิจซึ่ง กันและกัน

จี้มาร์ค-กษิตโต้ ฮุนเซน ตั้งทักษิณ

(5พ.ย.) นายชัยพันธุ์ ประภาสะวัต ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยกรณีที่ประเทศกัมพูชาแต่งตั้งให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจว่า ส่วนตัวแล้วมองว่าการกระทำสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ถือเป็นการล่วงละเมิดอำนาจอธิปไตยไทยอย่างร้ายแรง เรื่องของพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องภายในประเทศไทย ไม่ว่าผลการตัดสินของประเทศไทยจะออกมาอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีความผิดหรือไม่กระการใด ประเทศกัมพูชาไม่สมควรกระทำแบบนี้

"การที่สมเด็จฮุนเซน กระทำในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการท้าทายประเทศเพื่อนบ้านมากและกัมพูชาได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน แล้วว่ามีการเลือกข้างที่แน่นอน โดยตามมารยาทแล้วเป็นการกระทำที่ไม่สมควร ถือเป็นเรื่องในประเทศ และกัมพูชาเองก็รู้ดีถึงสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไทยแต่ก็ยังทำแบบ นี้ ผมเชื่อว่าต่อไปจะมีปัญหาชายแดน ปัญหาความมั่นคง ปัญหาด้านการทหารตามมาอย่างแน่นอน" นายชัยพันธุ์ กล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยโดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ต้องลุกขึ้นมาดำเนินการบางอย่าง แสดงปฏิกิริยาที่ชัดเจนและตอบโต้การกระทำดังกล่าว ไม่เช่นกันจะทำให้เข้าใจว่านายกฯ ยอมอ่อนข้อให้กับสมเด็จฮุนเซน เหมือนอดีตที่ผ่านมา ต้องมีการตอบโต้ที่มากกว่าคำพูด โดยเฉพาะกระทรวงต่างประเทศ ต้องมีการเชิญทูตกัมพูชามาพบชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการด่วน เพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

40ส.ว.จี้"มาร์ค"ตอบโต้รัฐบาลกัมพูชา

ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่งตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวและเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา และยืนยันไม่ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณให้กับทางการไทย ว่า การกระทำดังกล่าวถือว่า รัฐบาลกัมพูชา กล่าวหากระบวนการการยุติธรรมของไทยอย่างรุนแรง เพราะรู้อยู่แล้วว่าคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคดีการทุจริตซึ่งเป็นคดีอาญา ฉะนั้นรัฐบาลไทยต้องออกแถลงการณ์ตอบโต้และประณามรัฐบาลกัมพูชา ที่กระทำการหมิ่นศักดิ์ศรีประเทศไทย และต้องตัดความสัมพันธ์กับรัฐบาลกัมพูชาทันที อย่าบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซน หรือถ้าคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซนจริงๆ ก็ตัดความสัมพันธ์กับนายฮุนเซนไปเลย ไม่ควรจะบอกว่า ไม่เป็นไร หรืออยู่เฉยๆ ซึ่งจะถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

"เรื่องนี้ ประชาชนต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลตอบโต้กัมพูชา เพราะถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีประเทศ รัฐบาลไทยต้องบอกว่า การเอานักโทษหนีคดีจากประเทศของเราไปเป็นที่ปรึกษาเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ต้องบอกให้เขาเลิก ซึ่งทำได้ไม่ยาก ในเมื่อเขาแถลงออกมา เราก็แถลงตอบโต้ไปว่าเรารู้สึกอย่างไร ไม่ใช่แค่ยืนให้สัมภาษณ์ โดยรัฐบาลไทยต้องมีท่าทีที่เข้มแข็งเหมือนรัฐบาลเวียดนามที่มีข้อพิพาท เรื่องเขตแดนกับกัมพูชา และออกแถลงการณ์โจมตีกัมพูชาทันที จนสมเด็จฮุนเซนไม่กล้าพูดอะไร ทั้งนี้เวียดนามสามารถแสดงท่าทีดังกล่าวได้ เพราะเอาประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่บ้านเราที่ไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวกระทบกับความมั่นคงด้านผลประโยชน์ของตัวเอง" นายไพบูลย์ กล่าว

นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงที่ระบุว่า เป็นเรื่องส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซน ว่า นายกฯและรองนายกฯฝ่ายความมั่นคงของไทย ที่มีท่าทีอ่อนแอ ไร้น้ำยา ควรพ้นตำแหน่งไปได้แล้ว หากไม่ดำเนินการเรื่องนี้ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีของประเทศ ก็ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม

ด้านนายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ เลขาฯสภาหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวสมเด็จฮุน เซน ที่ต้องการให้อดีตนายกฯไทยเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวสามารถทำได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการมาเป็นที่ปรึกษาของประเทศ ส่วนตัวคิดว่า สมเด็จฮุน เซน ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเนื่องจากระดับประเทศ มีสมาชิกอาเซียนถึง 10 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์กันอยู่

ฉะนั้นการกระทำนี้เท่ากับว่าสมเด็จฮุน เซน ในฐานะผู้นำประเทศหนึ่งในสมาชิกอาเซียน กำลังทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังถือเป็นนักโทษหลบหนีคดี ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย และกัมพูชา และอาจจะส่งผลต่อความไว้วางใจซึ่งกันและกันของแต่ละประเทศในอาเซียน จนก่อให้เกิดความแตกแยกได้

ส่วนผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น ย่อมมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจแน่นอน เพราะการที่สมเด็จฮุนเซน ทำแบบนี้ถือเป็นการประกาศเพื่อเอาชนะไทยในเรื่องของผลประโยชน์ด้านการลงทุน จนถึงขั้นแตกหัก ทั้งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติในทะเล เรื่องก๊าซ และจะกลายเป็นประเด็นความขัดแย้งที่อาจจะให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงได้ เหมือนกับเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้

สำหรับท่าทีในกลุ่มนักธุรกิจภาคอีสานโดยสภาหอการค้าภาคอีสานจาก เหตุการณ์นี้นั้น นายทวิสันต์ฯ กล่าวว่า หลังจากนนี้อาจะมีการนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นพูดคุยในการประชุมหอการค้า ระดับประเทศที่ จ.เชียงใหม่ในปลายเดือนนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ว่า ควรจะทำอย่างไร เพราะมีนักลงทุนของหอการค้าหลายคนลงทุนอยู่ในกัมพูชา ที่ชายแดนก็ดี ที่เหมืองหลวงก็ดี ก็จะต้องดูท่าทีว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วควรจะต้องปรับตัวอย่างไร เพราะการที่สมเด็นฮุนเซน ประกาศออกมาอย่างนี้ มีผลกระทบต่อความรู้สึกหลายฝ่าย

ส่วนเรื่องที่ทางกัมพูชายกย่องอดีตนายก.ทักษิณ.ของไทยเป็นคนเก่ง ฉลาดหลักแหลมด้านเศรษฐกิจตรงนั้นตนคิดว่า วันนี้สมเด็จฮุน เซนคือผู้นำสูงสุดของกัมพูชา ฉะนั้นสมเด็จฮุน เซนยอมรับใคร หรือไม่ยอมรับใคร ก็อยู่ที่ตัวสมเด็จฮุน เซน แต่ไม่ได้ถามความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน ฉะนั้นตนเชื่อว่าถ้าถามนักธุรกิจกัมพูชา ก็คงไม่สบายใจเหมือนกัน เพราะนักธุรกิจของกัมพูชาส่วนใหญ่ยังจำเป็นที่จะต้องทำธุรกิจกับไทย

" ผมคิดว่าตัวท่านอดีตนายก.ทักษิณ ไม่มีอะไร เพราะท่านทำอะไรก็ได้ที่ให้เป็นข่าว และท่านต้องการตรงนี้ เพราะว่าท่านกลัวสังคมจะลืมท่าน เพราะการลืมท่านจะทำให้ท่านกลับมาลำบาก ฉะนั้นจึงต้องการเป็นข่าว ไม่ว่าข่าวอะไรที่ทำให้ดูดี ดูดัง ดูใหญ่โต ท่านก็จะทำ เช่น ส่งข้อความไปให้คนล้านๆคน อย่างการมีทีวี 100 ช่อง ตรงนี้มันเกินมาตรฐานแล้ว แสดงว่าคนๆนี้ต้องการเป็นข่าวอยู่ตลอดเวลา ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก "นายทวิสันต์ฯกล่าวและว่า

อย่างไรก็ตามสิ้นเดือนนี้หอการค้าไทย จะมีการประชุมใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ก็คงจะมีการหารือกันว่า ถ้าท่าทีของนักธุรกิจซึ่งมันเกี่ยวข้องแน่นอน เพราะนักธุรกิจไทยไปลงทุนในกัมพูชาจำนวนมาก ก็ต้องหารือกัน

นายทวิสันต์ฯกล่าว. กล่าวอีกว่า ฉะนั้นทางออกผมคิดว่ามันก็จะต้องเจรจา และต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะคนที่จะต้องเข้ามาดูแลก็คือนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นคนไทย ต้องเรียกประชุมด่วนทันที ฉะนั้นเรื่องนี้ทางเลขาธิการอาเซียนจะต้องนิ่งดูดายไม่ได้ ไม่อย่างนั้นอาเซียนมันจะไม่เดิน เหมือนเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อเกิดความขัดแย้งในกลุ่มที่ไหนของโลกเมื่อดู แล้วจะรุนแรงต้องรีบไประงับเลย เพราะว่าเมื่อมีคนแตกแถวแล้วข้อตกลงต่างๆที่เคยมีมามันจะเชื่อถือกันได้ อย่างไร ตรงนี้มันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่เกิดความเป็นเอกภาพในอาเซียน ซึ่งทุกวันนี้เรื่องของไทยกับกัมพูชามีหลายเรื่องและกำลังปะทุอยู่ ดังนั้นคิดว่าเลขาธิการอาเซียควรจะต้องทำบทบาทตรงนี้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook