นักดาราศาสตร์ชวนชมฝนดาวตก

นักดาราศาสตร์ชวนชมฝนดาวตก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ช่วงรอยต่อคืนวันที่ 17 พ.ย. ถึงวันที่ 18 พ.ย. 52 จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวลีโอนิดส์ หรือกลุ่มดาวสิงโต จากการคำนวณของนัก ดาราศาสตร์คาดว่า ช่วงเวลาที่สามารถดูปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้มากที่สุดคือ เวลาประมาณ 04.00-06.00 น. เช้ามืดวันที่ 18 พ.ย. โดยเวลาประมาณ 04.00 น.จะเห็นมากถึงชั่วโมงละ 100 ดวง

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ในประเทศไทยสามารถรับชมได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อีกทั้งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวตรงกับคืนเดือนมืด เป็นคืนแรม 15 ค่ำ เดือน 12 จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการสเกตการณ์ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโต วิธีดูนั้นให้ดูด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องจะดูไม่ทัน เพราะฝนดาวตกนั้นเร็วและกระจัดกระจายมาก แนะนำให้ยืนหันหลังชนกัน 4 คน หรือนอนในพื้นที่โล่งไร้แสงรบกวนแล้วจะไม่พลาดทุกทิศทางที่มีฝนดาวตก หากท้องฟ้าโปร่งไม่มีกลุ่มเมฆบังก็จะได้ดูเต็มที่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้จัดกิจกรรมดูฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโตที่บริเวณกิโลเมตร 31 ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัว หิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ในคืนวันที่ 13-14 ธ.ค. 52 จะมีฝนดาวตกจากกลุ่มดาวเจมินิดส์ ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.00 น. ประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมงเช่นกันรศ.บุญรักษา กล่าวและว่า สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโต มีศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกออกมาจากบริเวณหัวของกลุ่มดาวสิงโต ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากเศษซากของดาวหาง 55 พี เทมเพิล-ทัตเทิล ซึ่งมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี หนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี และทุก 33 ปี ดาวหางดังกล่าวจะโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า พายุฝนดาวตก ครั้งล่าสุดที่โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ในวันที่ 28 ก.พ. 41 ที่ผ่านมา และครั้งต่อไปในวันที่ 10 พ.ค. 56.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook