ร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐเข้าตัดฟันทำลายสวนลิ้นจี่ชาวเขาเผ่าม้ง เชียงกลาง น่าน 9 ปีแล้ว ไม่จ่ายค่าชดเช

ร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐเข้าตัดฟันทำลายสวนลิ้นจี่ชาวเขาเผ่าม้ง เชียงกลาง น่าน 9 ปีแล้ว ไม่จ่ายค่าชดเช

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เกษตรกรชาวเขาเผ่าม้ง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ร้องเรียนสื่อมวลชนกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐเข้าทำลายสวนลิ้นจี่มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ผ่านไป 9 ปี ไม่มีการจ่ายค่าชดเชย นายประชา ทรงอภิวัฒน์กุล ที่ปรึกษาชาวสวนลิ้นจี่ เปิดเผยต่อสื่อมวลชน กรณีที่กลุ่มผู้ปลูกลิ้นจี่ชาวเขาเผ่าม้ง พื้นที่อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ถูกทางราชการโดยเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ เข้าตัดฟันทำลายต้นลิ้นจี่ตั้งแต่ปี 2528 เนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ลิ้นจี่ประมาณ 3 หมื่นต้น มูลค่าความเสียหายประมาณ 250 ล้านบาท พร้อมเผาที่พักจำนวน 11 แห่ง ซึ่งกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวได้ร้องเรียนต่อทางราชการมาโดยตลอด เมื่อปี 2546 ได้เสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนตรวจสอบ พบว่าเกษตรกรเสียหายจริง จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการจ่ายค่าชดเชย ล่าสุดผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจหลังเกิดเหตุการณ์นาน 9 ปี และได้ปรับลดค่าเสียหายเหลือ 153 ล้านบาท ขณะนี้ได้เสนอเรื่องดังกล่าวไปที่สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงมหาดไทยแล้ว และรอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยกลุ่มเกษตรกรเรียกร้องขอค่าชดเชยจำนวน 153 ล้านบาท และขอให้รัฐจัดสรรที่ดินทำกิน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำกินเดิมของชาวเขาเผ่าม้งกลุ่มนี้ที่ได้อพยพลงจากที่เดิมเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงกลาง หลังจากที่รัฐบาลปราบปรามคอมมูนิสต์ในระยะนั้น และได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการปลูกฝิ่นมาปลูกลิ้นจี่และพืชเศรษฐกิจแทน แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นที่ป่าสงวน แต่รัฐได้ประกาศพื้นที่ป่าสงวนหลังจากที่ประชาชนครอบครอง หากจะปฏิบัติดังกล่าวก็ต้องหาพื้นที่ให้ประชาชนได้ทำกิน เพราะประชาชนเดือดร้อนถึง 114 ครัวเรือน ที่ปรึกษาเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่อำเภอเชียงกลาง กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ภาครัฐได้กระทำต่อเกษตรกรเป็นการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากได้เลือกทำลายตัดฟัน เฉพาะพื้นที่ของชาวเขาเผ่าม้ง เท่านั้น ไม่ได้ทำลายสวนของคนอื่นที่อยู่บริเวณติดกัน ขณะที่การเข้าไปปลูกป่าทดแทนสวนลิ้นจี่ของทางการ พื้นที่เดิมได้กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม จึงขอให้มีการทบทวนเรื่องดังกล่าวเนื่องจากเกษตรกรต้องทนทุกข์มานานโดยไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานใดๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook