อภิสิทธิ์ ยันโต้เขมร รักษาศักดิ์ศรีไทย

อภิสิทธิ์ ยันโต้เขมร รักษาศักดิ์ศรีไทย

อภิสิทธิ์ ยันโต้เขมร รักษาศักดิ์ศรีไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อภิสิทธิ์ ชี้ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชาเกิดจากกัมพูชาตั้ง "ทักษิณ" เป็นที่ปรึกษาแล้วะวิจารณ์กระบวนการยุติธรรมของไทย ยันสิ่งรัฐบาลจะดำเนินการเพื่อรักษาศักดิ์ศรีและผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นสำคัญ

(15พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ขณะเดินทางไปร่วมประชุมเอเปคที่ประเทศสิงคโปร์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชาว่า ปัญหาเกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้จากรัฐบาลเพราะที่ผ่านมามีความสัมพันธ์ราบ รื่นดีมาตลอด แต่ที่เกิดปัญหาขึ้นก็เพราะทางประเทศกัมพูชาได้แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจและมีการวิจารณ์กระบวนการยุติธรรมของไทยซึ่ง เป็นสิ่งที่ยอมไม่ได้รัฐบาลจึงต้องมีการตอบโต้ต่างๆ ตามมา

"สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการไปนั้นจะไม่ให้มีความกระทบกับประชาชน และที่ผ่านมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ลงพื้นที่ติดตามอย่างใกล้ชิด ก็พบว่ายังมีการค้าขายกันอย่างปกติ" นายกรัฐมนตรี กล่าวและว่า

ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นหากทางประเทศกัมพูชายอมกลับไปสู่จุดก่อนการประชุมอาเซียนแล้วก็ถือว่ายังเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดีเหมือนเดิม ซึ่งรัฐบาลจะดำเนินการเพื่อรักษาศักดิ์ศรีและผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นสำคัญ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นจากคนไทยบางคนหรือบางกลุ่มนั้นก็ต้องแก้ไขกันไป แต่สิ่งที่ต้องการเห็นก็คือต้องการให้คนไทยมีความสามัคคีกันอย่าปล่อยคนให้บางคนกระทำการที่กระทบต่อความรู้สึกของคนไทย

ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า "ขณะนี้ผมอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์นะครับ ได้เดินทางมาร่วมประชุมเอเปคหรือการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นการประชุมประจำทุกปี และนอกจากปีนี้จะมีการประชุมเอเปคแล้วจะมีการจัดการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำของสหรัฐฯ คือท่านประธานาธิบดีบารัค โอบามา กับผู้นำของอาเซียนด้วย ซึ่งก็จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์คือวันนี้ในขณะที่รายการนี้กำลังออกอากาศ บรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเอเปคที่ผมได้เดินทางมาตั้งแต่วันศุกร์ ต่อเนื่องจนถึงขณะนี้คือเวลากลางวันของวันเสาร์นั้น อีกสักครู่ครับช่วงที่ 2 ของรายการจะมีการเก็บภาพเก็บบรรยากาศ และเนื้อหาสาระต่าง ๆ มาให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ

ปรับปรุงการรถไฟฯ เพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัย

ในช่วงแรกนี้ผมขอถือโอกาสรายงานงานที่รัฐบาลได้ดำเนินการตามปกติให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ มี 3 เรื่องครับ มี 3 เรื่องครับที่เป็นเรื่องนโยบายสำคัญที่อยากจะพูดคุยกับพี่น้องประชาชนที่ เป็นความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของรัฐบาลในสัปดาห์นี้นะครับ เรื่องแรกคือเรื่องรถไฟ ช่วงที่ผ่านมานั้นเราจะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นในเรื่องของความขัดแย้งระหว่างฝ่ายพนักงาน ฝ่ายบริหาร และที่สำคัญคือว่าปัญหาความปลอดภัย หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นเวลามีการหยุดให้บริการ ซึ่งผมได้เคยบอกกับพี่น้องประชาชนว่า นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้รถไฟกลับมาบริการตามปกติแล้ว ประเด็นปัญหาทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับรถไฟทั้งหมด รัฐบาลจะได้ดำเนินการมาทบทวน เพื่อนำไปสู่การปฏิรูป เมื่อวันพุธคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจจึงได้มีการประชุมในเรื่องนี้ และได้มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนแล้วครับ นั่นก็คือว่าการลงทุนที่สำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นในส่วนของการรถไฟฯ ต่อไปนั้น เริ่มตั้งแต่การลงทุนซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นใจในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยทั้งหมด มีการสำรวจตรวจสอบครับตั้งแต่เรื่องของทาง ระบบราง อาณัติสัญญาณ ไปจนถึงหัวรถจักร สรุปมาเรียบร้อยว่าขณะนี้อุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่มีส่วนไหนบ้างที่ จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณจากปฏิบัติการไทยเข้มแข็งไปแล้ว ในส่วนที่เหลือก็มีการรวบรวมเป็นตัวเลขขึ้นมา

ลงทุนระบบรางคู่เชื่อมโยงการเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ประการที่ 2 การปรับปรุงหรือการขยายบริการที่สำคัญคือว่าเราต้องที่จะให้รถไฟมีบทบาทสำคัญมากขึ้น หรือการขนส่งระบบรางมีความสำคัญมากขึ้นในการขนส่งทั้งสินค้าและคน ปัจจุบันข้อจำกัดอย่างหนึ่งนอกเหนือจากเรื่องของปัญหาที่ได้พูดไปแล้ว ก็คือว่าความเร็วที่รถไฟของเราวิ่งอยู่จะอยู่ที่ประมาณ 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยเหตุผลในเรื่องของอุปกรณ์ ด้วยเหตุผลในเรื่องของราง และด้วยเหตุผลที่มีระบบรางเดี่ยว ทำให้มีการเสียเวลาในเรื่องของการสับหลีก คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้เป้าครับว่านอกเหนือจากการรวบรวมตัวเลขลงทุนในเรื่องของการเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยแล้ว ตั้งเป้าว่ารถไฟนั้นจะต้องสามารถวิ่งอยู่ที่ประมาณ 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหมายถึงนอกจากการปรับปรุงรางหรือเส้นทางเดิม ก็จะมีการลงทุนในเรื่องของระบบรางคู่ นอกจากนั้นยังจะมีหลายพื้นที่ซึ่งปัจจุบันนั้นยังไม่ได้รับบริการในเรื่อง ของรถไฟ ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ทางอีสาน ซึ่งจะมีการดำเนินการเพื่อที่จะทำให้รถไฟของเราเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้น เส้นทางที่สำคัญก็คือเส้นทางที่ออกไปจากบัวใหญ่ ก็จะไปทางมุกดาหาร และไปถึงนครพนม เพื่อที่จะเชื่อมโยงกับทางลาวและเวียดนามต่อไป หรือเส้นทางทางเหนือที่จะต้องไปเชื่อมโยงกับจีนที่จะลงมาทางด้านเหนือของเรา จากเด่นชัยไปเชียงรายและไปที่ชายแดน ก็จะเป็นเส้นทางลงทุนที่สำคัญนอกเหนือจากการเพิ่มรางคู่ในพื้นที่ที่จะลดเวลาในเรื่องของการสับหลีก และทำให้รถไฟวิ่งได้เร็วขึ้น

เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุน

การลงทุนตรงนี้ทั้งหมดอาจจะเป็นเงินประมาณ 100,000 ล้านบาท สิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการก็คือบางส่วนจะดำเนินการในกรอบของไทยเข้มแข็ง บางส่วนจะนำไปสู่การเจรจาระหว่างประเทศ ซึ่งผมเองได้มีการเกริ่นนำเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่นกับทางประเทศจีนที่สนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในเรื่องนี้ และนอกจากนั้นก็จะมีโครงการความเป็นไปได้ที่จะเชิญชวนภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งตรงนี้จะครอบคลุมไปถึงอีกโครงการหนึ่งคือรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะได้มีการศึกษาความเหมาะสมความเป็นไปได้ของเส้นทางและการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เส้นทางที่ตอนนี้ดูจะมีความเป็นไปได้มากที่สุด ก็คือรถไฟความเร็วสูงที่จะวิ่งจากกรุงเทพฯ ออกไปยังภาคตะวันออก ก็ไประยอง จันทบุรี และอาจจะไปถึงตราด ซึ่งทั้งหมดนี่ครับคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการ ก็จะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป แล้วในเรื่องของแหล่งเงินทุนทางกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ฯ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ทางกระทรวงคมนาคม ก็จะไปจัดออกมาว่าตรงไหนอยู่ในไทยเข้มแข็ง ตรงไหนอยู่ในงบประมาณปกติ ตรงไหนที่จะเป็นความร่วมมือกับต่างประเทศหรือกับภาคเอกชนต่อไป

ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการของการรถไฟฯ

ในส่วนที่ 2 ในเรื่องของการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ ตรงนี้ข้อเสนอก็จะมีการกลับมาครับ ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีต้องการที่จะให้มีการแยกบริษัทออกมา แต่ว่าเมื่อมีการท้วงติง และยังมีความไม่สบายใจก็จะใช้วิธีการในเรื่องของการจัดทำเป็นหน่วยธุรกิจ คือมีการแยกบัญชี แต่ทั้งหมดยังอยู่ภายใต้การรถไฟ ก็จะแบ่งเป็นในส่วนหน่วยงานที่ดูแลเรื่องราง ที่ดูแลเรื่องการเดินรถ และหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของทรัพย์สิน ซึ่งตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการที่จะปรับปรุงทั้งโครงการ ทั้งในเรื่องของระบบบุคลากรทั้งหมดของการรถไฟฯ ต่อไป แต่ว่าความจำเป็นที่จะต้องมีการแยกอาจจะเป็นเรื่องของบริษัทที่มารองรับโครงการพิเศษ เช่นกรณีของรถไฟที่เชื่อมกับทางสนามบินสุวรรณภูมิเข้ามาสู่ตัวเมืองในขณะนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่เราจะมีการดำเนินการเพื่อไปหารือกับทางการรถไฟฯ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร พนักงาน สหภาพฯ ให้เรียบร้อยโดยเร็วที่สุด ฉะนั้นทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องของการกำหนดแนวทาง วิสัยทัศน์ สำหรับการปฏิรูปรถไฟซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น"

พรทิวาปฏิเสธข่าวกัมพูชาเตรียมลดนำเข้าสินค้าไทย

นางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวยอมรับว่า กระแสข่าวกัมพูชาลดการนำเข้าสินค้าไทย มีผลด้านจิตวิทยาและความรู้สึกของคนที่ค้าขายระหว่างกัน ที่มีความวิตกกังวลอยู่บ้าง ซึ่งได้รับรายงานตัวเลขทางการค้าจากทูตพาณิชย์ว่าการค้าบริเวณชายแดนไทยไม่น่าเป็นห่วงมาก แต่พยายามที่จะให้ผู้ประกอบการมั่นใจ คลายความวิตกกังวลว่าไม่ปิดด่านแน่นอน ตามที่นายกรัฐมนตรีระบุชัดเจนในเรื่องนี้ ยิ่งมีข่าวความตึงเครียดระหว่างไทยกับกัมพูชา ยิ่งสั่งซื้อสินค้าของไทยไปกักตุนเพิ่มมากขึ้น จึงสวนทางกับข่าวลือที่ออกมา เพราะคนกัมพูชาพอใจในราคาและคุณภาพของสินค้าไทย อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าปีนี้ การค้าระหว่างประเทศตกลงเกือบทุกภูมิภาค เพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี ดังนั้นยอดการส่งออกจึงตกลงเป็นธรรมดา

โดยเมื่อเทียบข้อมูลตัวเลขการส่งออกในปี 2551 ตลอดทั้งปี อยู่ที่ 70,033 ล้านบาท ส่วนยอดการนำเข้าอยู่ที่ 3,007 ล้านบาท ยอดการส่งออกสินค้าไทยไปยังกัมพูชาของปี 2552 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน ก.ย.มีตัวเลขได้เปรียบดุลการค้าอยู่ที่ 40,806 ล้านบาท ขณะที่ยอดการนำเข้าสินค้าของกัมพูชาเข้าไทยมีเพียง 1,490 ล้านบาท หรือเทียบเป็นเปอร์เซ็นเท่ากับ 0.5 % เท่านั้น ถือว่าไม่มาก

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook