ผลการศึกษาเผยมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกพุ่งแตะ 3.839 ล้านล้านบาท (1.15 แส

ผลการศึกษาเผยมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกพุ่งแตะ 3.839 ล้านล้านบาท (1.15 แส

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
-- ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันความสูญเสีย ส่งผลให้กรณีการขโมยสินค้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มทำการศึกษามา -- การขโมยสินค้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกือบ 6% หรือเท่ากับ 1.43% ของยอดขายของร้านค้าปลีก -- มูลค่าความเสียหายจากการถูกขโมยสินค้าเทียบเท่ากับ 120.17 ดอลลาร์สหรัฐ (4,011 บาท) ต่อครอบครัวในเอเชียแปซิฟิก - การขโมยเสื้อผ้าในร้านขายเสื้อผ้าพุ่งแตะ 3.85% ของยอดขายทั้งหมด ขณะที่การขโมยเนื้อสัตว์ในซูเปอร์มาร์เก็ตทะยานแตะ 3.38% - ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายในการป้องกันความสูญเสียเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายน้อยที่สุด (0.13%) ในขณะที่อัตราการขโมยของมีมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิก (1.66%) โดยการขโมยสินค้าในไทยมีมูลค่าความเสียหายถึง 1.062 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.5 หมื่นล้านบาท) การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก (The Global Retail Theft Barometer: GRTB) ฉบับที่ 3 ระบุว่า มูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกพุ่งแตะ 1.148 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.832 ล้านล้านบาท) ในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้นถึง 5.9% จากระดับ 1.045 แสนล้านดอลลาร์ (3.488 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวเป็นการวัดมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าและการโจรกรรมในอุตสาหกรรมค้าปลีกทั่วโลกระหว่างเดือนกรกฎาคม 2551 ถึงเดือนมิถุนายน 2552 ซึ่งพบว่ามีการขโมยสินค้ามากขึ้นในทุกภูมิภาคที่มีการสำรวจ โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในอเมริกาเหนือ (+8.1%), ตะวันออกกลาง-แอฟริกา (+7.5%), ยุโรป (+4.7%) และเอเชียแปซิฟิก (+4.2%) ในประเทศไทย อัตราการขโมยของคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับยอดขายเพิ่มขึ้นราว 4.4% แตะ 1.062 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.5 หมื่นล้านบาท) หรือมีสัดส่วนราว 1.66% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 9 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มีการสำรวจ "ผู้ค้าปลีกเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเป็นสาเหตุที่ทำให้การขโมยสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 1 ใน 3 ศจ.โจชัว แบมฟิลด์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการค้าปลีก (Centre for Retail Research) และเป็นผู้ทำการศึกษาในครั้งนี้ กล่าว "ผู้ค้าปลีกหลายรายยังให้ข้อมูลด้วยว่าประเภทของผู้กระทำความผิดและประเภทของสินค้าที่ถูกขโมยมีการเปลี่ยนแปลงไป "หลายธุรกิจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่คงมีไม่กี่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเหมือนอุตสาหกรรมการค้าปลีก ร็อบ แวน เดอ เมอร์วี ประธานและซีอีโอบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ (Checkpoint Systems, Inc.) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาครั้งนี้ กล่าว "เราทราบดีว่าผู้ค้าปลีกต้องลดต้นทุนในเกือบทุกส่วน แต่ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลดต้นทุนด้านการป้องกันความสูญเสียมากเกินไปจะส่งผลในแง่ลบ ในทางตรงกันข้าม การลงทุนในส่วนดังกล่าวจะส่งผลดีต่อตัวเลขกำไรของบริษัท และจะทำหน้าที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันโดยเฉพาะในช่วงที่งบประมาณสำหรับการฝึกอบรมบุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัยมีอยู่อย่างจำกัด การศึกษาประจำปี 2552 พบว่า ผู้ค้าปลีกลดการใช้จ่ายในการป้องกันความสูญเสียและการรักษาความปลอดภัยลงถึง 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3 หมื่นล้านบาท) เนื่องจากต้องลดต้นทุนในช่วงที่เศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก ศจ.แบมฟิลด์ กล่าว ฒกกฬ "อย่างไรก็ตาม ต้นทุนด้านความปลอดภัยที่ลดลง 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3 หมื่นล้านบาท) กับมูลค่าความเสียหายจากการขโมยที่เพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.338 แสนล้านบาท) มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญ และแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงและพัฒนาระบบป้องกันความสูญเสียอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการลดการขโมยสินค้าถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จและการเติบโตอย่างมั่นคงของธุรกิจค้าปลีก ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสียในปี 2552 มีมูลค่าเฉลี่ยเพียง 0.31% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด อัตราการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก เมื่อเทียบกับผลสำรวจปีที่แล้ว มูลค่าความเสียหายของร้านค้าปลีกในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2552 เพิ่มขึ้นใน 38 ประเทศจากทั้งหมด 41 ประเทศที่มีการสำรวจ ขณะที่อัตราการขโมยสินค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.9% หรือเท่ากับ 1.43% ของยอดขายของร้านค้าปลีกทั่วโลก ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการสำรวจเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นอัตราการขโมยสินค้าปรับตัวลดลง ภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรปมีอัตราการขโมยของมากที่สุดในโลกถึง 40% และ 38.4% ตามลำดับ แต่ประเทศที่มีอัตราการขโมยสูงสุดคืออินเดีย โมรอคโค และเม็กซิโก ส่วนประเทศที่มีอัตราการขโมยน้อยที่สุดคือฮ่องกง ไต้หวัน และออสเตรีย "หลายคนให้ความเห็นว่าการลักเล็กขโมยน้อยเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีอันตรายและไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง บางคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจด้วยซ้ำ แต่อันที่จริงแล้วผลกระทบของการขโมยสินค้าทำให้ 553 ล้านครอบครัวใน 41 ประเทศ สูญเงินเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 208 ดอลลาร์สหรัฐ (6,943 บาท) ต่อครอบครัว ศจ.แบมฟิลด์ กล่าว ในเอเชียแปซิฟิก อาชญากรรมในร้านค้าปลีกทำให้แต่ละครอบตรัวต้องเสียเงินโดยไม่จำเป็นถึง 120.17 ดอลลาร์สหรัฐ (4,011 บาท) การขโมยสินค้าในตลาดแนวดิ่ง (Vertical Market) ทั่วโลก การขโมยสินค้าจะแตกต่างกันไปตามประเงธุรกิจ ตลาดแนวดิ่ง และประเทศ ในปี 2552 การขโมยสินค้าพบมากสุดในร้านขายเสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น/เครื่องประดับ (1.84%) และร้านขายเครื่องสำอางค์/น้ำหอม/เครื่องเสริมความงาม/ร้านขายยา (1.77%) สำหรับร้านขายเสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น สินค้าที่ถูกขโมยมากที่สุดคือเครื่องประดับ (3.85%) รองลงมาคือเสื้อผ้า (3.64%) นอกจากนั้นสินค้ากลุ่มนี้ยังถูกขโมยมากที่สุดในทุกภูมิภาคที่มีการสำรวจ (อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา ยุโรป เอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง-แอฟริกา) ส่วนในเอเชียแปซิฟิกรองเท้าเป็นอีกสินค้าหนึ่งที่ถูกขโมยมากสุดโดยมีสัดส่วน 1.61% ของอัตราการขโมยทั้งหมด สำหรับประเภทอาหาร/ของชำ สินค้าที่ถูกขโมยมากที่สุดคือเนื้อสดที่ 3.38% หรือมากกว่า 2.5 เท่าของอาหารอื่นๆ ที่ถูกขโมยราว 1.36% ส่วนเนื้อราคาแพงที่ผ่านการปรุงสุกแล้วถูกขโมยราว 2.72% สำหรับในเอเชียแปซิฟิกอาหารทะเลราคาแพงเป็นสินค้าที่ถูกขโมยมากที่สุดถึง 2.13% ของอัตราการขโมยทั้งหมด มูลค่าความเสียหายจากการก่ออาชญากรรมในร้านค้าปลีกทั่วโลก ในการสำรวจประจำปี 2552 พบว่ามูลค่าความเสียหายจากการก่ออาชญากรรมในร้านค้าปลีกทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 1.205 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.022 ล้านล้านบาท) เมื่อรวมค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสียแล้ว โดยแบ่งเป็นความเสียหายจากหัวขโมย (40.5%) พนักงานขโมยเอง (33.8%) ความเสียหายจากซัพพลายเชน (5.3%) และค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสีย (20.3%) แม้อัตราการขโมยสินค้าจะเพิ่มขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยกลับลดลงในเกือบทุกที่ สำหรับตลาดที่เติบโตเต็มที่กว่าอย่างอเมริกาเหนือและยุโรป การใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสียจะมีมากกว่าในตลาดเกิดใหม่ โดยในอเมริกาเหนือมีค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสียคิดเป็น 0.40% ของยอดค้าปลีก หรือลดลงกว่า 811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.7 หมื่นล้านบาท) จากปีที่แล้ว ส่วนผู้ค้าปลีกในยุโรปมีค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสียเท่ากับ 0.29% ของยอดค้าปลีก น้อยกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 0.34% ในเอเชียแปซิฟิก ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความปลอดภัยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.17% ซึ่งถือว่าต่ำสุดในทุกภูมิภาคที่มีการสำรวจในลาตินอเมริกา ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสียอยู่ที่ 0.18% ของยอดค้าปลีก หรือลดลงถึง 33 ล้านดอลลาร์ ส่วนในเอเชียแปซิฟิกค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยอยู่ที่ 0.17% ของยอดขาย และในตะวันออกกลาง-แอฟริกา ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอยู่ที่ 0.20% ของยอดขาย ทั้งนี้ สรุปรวมร้านค้าปลีกทั่วโลกมีค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันความสูญเสียเฉลี่ย 0.31% ของยอดค้าปลีก "เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าใช้จ่ายด้านระบบป้องกันความปลอดภัยลดลงหนักกว่าค่าใช้จ่ายด้านการจ้างบุคลากรรักษาความปลอดภัย ศจ.แบมฟิลด์ กล่าว "ความจริงแล้วการรักษาความปลอดภัยด้วยหลายวิธีเป็นหนทางที่ดีที่สุด โดยการใช้ระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกันความสูญเสียที่มีคุณภาพจะช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี ในประเทศไทย การใช้จ่ายด้านการป้องกันความปลอดภัยเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายอยู่ในระดับต่ำสุดในเอเชียแปซิฟิก (0.13%) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิก (0.17%) รวมถึงค่าเฉลี่ยของทั่วโลก (0.31%) สินค้าที่ถูกขโมย สินค้าที่ถูกขโมยมีมูลค่าถึง 6.461 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.150 ล้านล้านบาท) ในปี 2552 โดยจำนวนสินค้าที่ถูกหัวขโมยและพนักงานขโมยมีมากถึง 72% ของสินค้าทั้งหมดที่ถูกขโมย และสินค้าเกือบทั้งหมดถูกขโมยโดยหัวขโมยซึ่งสร้างความเสียหายมากถึง 4.88 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.629 ล้านล้านบาท) ดังนั้นระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถขัดขวางไม่ให้เกิดการขโมยและช่วยให้นำของที่ถูกขโมยกลับคืนมาได้ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย "มีหลักฐานทางอาชญวิทยาหลายอย่างบ่งชี้ว่า การเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราว่างงานสูงขึ้น และอาชญากรรมกลายเป็นปัญหาที่ผู้ค้าปลีกให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ศจ.แบมฟิลด์ กล่าว "ผู้กระทำความผิดบางรายอาจกำลังลำบากจริงๆ ครอบครัวของเขาอาจมีรายได้ลดลงเพราะถูกปลดจากงาน ทำให้ต้องขโมยของเพื่อยังชีพ ความล้มเหลวของระบบการเงินและชนชั้นนำทางการเมืองในหลายประเทศทำให้หลายคนผิดหวัง พวกเขาจึงต้องหาทางเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเอง แต่โชคร้ายที่การขโมยของเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และไม่มีใครสามารถทำเช่นนั้นได้ ศจ.แบมฟิลด์ กล่าว ผลสำรวจยังเผยว่าการขโมยของและการกระทำความผิดมีมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา และผู้ค้าปลีกเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเป็นสาเหตุที่ทำให้การขโมยของเพิ่มขึ้น 1 ใน 3 และทำให้พนักงานของร้านขโมยของเพิ่มขึ้น 1 ใน 5 "ดูเหมือนว่ารูปแบบการกระทำความผิดจะเปลี่ยนไป โดยจำนวนหัวขโมยมีมากกว่าจำนวนพนักงานที่ขโมยของมาก เนื่องจากพนักงานไม่ต้องการตกงานในช่วงที่หางานยากเช่นนี้ ศจ.แบมฟิลด์ กล่าว สินค้าที่ถูกขโมยมากที่สุด ขโมยมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กและซ่อนง่าย มีราคาแพงและแบรนด์ดัง เนื่องจากเป็นที่นิยมและนำไปขายต่อได้ง่าย โดยสินค้าที่ถูกขโมยบ่อยสุดได้แก่ เครื่องเกม/Wii, แดีวีดี/สื่อเพื่อความบันเทิง, ไอพอด/เครื่องเล่นเอ็มพี3, เสื้อผ้า, เครื่องสำอางค์/ครีมทาหน้า/น้ำหอม, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เนื้อสด/อาหารราคาแพง ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ถูกขโมยบ่อยไม่น้อยไปกว่ากันคือ มีดโกนหนวด/อุปกรณ์โกนหนวด, โทรศัพท์มือถือ และ นาฬิกา การจับกุมหัวขโมย จำนวนหัวขโมยและพนักงานที่ขโมยของซึ่งถูกเจ้าของร้านจับได้เพิ่มขึ้นถึง 50,000 ราย แตะ 5.8 ล้านรายในปี 2552 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของกรณีการเกิดอาชญากรรมโดยรวมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยจากจำนวนที่จับได้ทั้งหมด 85.6% เป็นหัวขโมย และ 14.4% เป็นพนักงาน ในเอเชียแปซิฟิก มูลค่าความเสียหายจากฝีมือของหัวขโมยเฉลี่ยอยู่ที่ 69.27 ดอลลาร์สหรัฐ (2,312 บาท) ส่วนมูลค่าสินค้าที่ถูกพนักงานขโมยเฉลี่ยอยู่ที่ 376.15 ดอลลาร์สหรัฐ (12,555 บาท) เทียบกับค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 1,889.02 ดอลลาร์สหรัฐ (63,055 บาท) นวัตกรรมและการป้องกันความสูญเสีย "ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้การป้องกันความสูญเสียเป็นงานที่ยากขึ้น แต่ก็สำคัญมากขึ้นในเวลาเดียวกัน เปอร์ เลวิน ประธานฝ่ายโซลูชั่นป้องกันการขโมย บริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ กล่าว "ในปี 2552 ขโมย 5.8 ล้านคนถูกจับได้ และสินค้ามูลค่าเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2 แสนล้านบาท) ที่ถูกขโมยไปถูกนำกลับคืน แต่อัตราการขโมยก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก 28% ของสินค้าที่ถูกขโมยมากที่สุดยังคงไม่ได้รับการป้องกัน ปัจจุบันมีโซลูชั่นป้องกันความปลอดภัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากมายตั้งแต่การคุ้มครองผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรไปจนถึงระบบป้องกันการขโมย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ค้าปลีกปกป้องธุรกิจของตนเองและเติบโตอย่างมีกำไรได้ต่อไป ในเอเชียแปซิฟิก 34.2% ของสินค้า 50 ชนิดที่ถูกขโมยมากที่สุดยังคงไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง "เราหวังว่าผลการศึกษาที่บ่งชี้ว่าการลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยช่วยลดอัตราการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีก จะทำให้ผู้ค้าปลีกหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันความสูญเสียมากขึ้น ศจ.แบมฟิลด์ กล่าวสรุป ผลสำรวจ การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก (GRTB) เป็นการสำรวจประจำปีซึ่งจัดทำขึ้นโดยศูนย์วิจัยการค้าปลีกในเมืองนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี 2544 และได้รับการสนับสนุนโดยเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ ปัจจุบัน GRTB เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการขโมยสินค้าและก่ออาชญากรรมในร้านค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่และครอบคลุมมากที่สุดในโลก การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมองค์กร 1,069 แห่งซึ่งมีรายได้รวมกัน 8.22 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (27.438 ล้านล้านบาท) ประกอบด้วยองค์กร 201 แห่งในอเมริกาเหนือ (ยอดขายรวมกัน 2.92 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (9.747 ล้านล้านบาท)), 567 แห่งในยุโรป (4.52 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.088 ล้านล้านบาท)), 196 แห่งในเอเชียแปซิฟิก (5.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.969 ล้านล้านบาท)), 67 แห่งในลาตินอเมริกา (1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.01 แสนล้านบาท)) และ 38 แห่งในตะวันออกกลาง-แอฟริกา (4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.34 แสนล้านบาท)) ประเทศใหม่ที่มีส่วนร่วมในการสำรวจครั้งนี้ประกอบด้วยจีน (เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง กวางตุ้ง และฮ่องกง) โมรอคโค ไต้หวัน และตุรกี เกี่ยวกับศูนย์วิจัยการค้าปลีก การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกฉบับที่ 3 (ฉบับที่ 9 สำหรับยุโรป) จัดทำขึ้นโดยศจ.โจชัว แบมฟิลด์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการค้าปลีก (http://www.retailresearch.org) โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ โดยศูนย์วิจัยดังกล่าวเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินการวิจัยและให้คำปรึกษากับภาคธุรกิจค้าปลีกที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของธุรกิจค้าปลีก รวมถึงการโจรกรรมและยักยอกสินค้า ทางศูนย์วิจัยได้ขยายการศึกษาด้านค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันการโจรกรรม รวมถึงการใช้ประโยชน์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการโจรกรรมและการยักยอกสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook