ผนึกเครือข่ายพลังบุรุษ

ผนึกเครือข่ายพลังบุรุษ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ลดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

เนื่องด้วยวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปีเป็น วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยคุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯเล็งเห็นถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเชิญบุรุษคนสำคัญจากหลายภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและเป็นพลังสำคัญต่อต้านและลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทุกรูปแบบเป็นครั้งแรก ในโครงการเสวนาวันยุติความรุนแรงต่อสตรี พลังบุรุษ พลังเครือข่าย ร่วมใจต้านภัยความรุนแรงต่อสตรีและครอบครัว ณ หอประชุมบ้านมนังคศิลา สภาสตรีแห่งชาติฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้

นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้ช่วย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า หนทางหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายในการขจัดความรุนแรงในสตรีในทุกรูปแบบ คือ การสร้างแนวร่วมผู้ชายเข้ามาเป็นพลังในการลด ละ เลิก การกระทำความรุนแรงต่อสตรี รวมทั้งการทำงานเพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติของทั้งหญิงและชาย โดยเริ่มตั้งแต่การปรับทัศนคติของครอบครัวระหว่างคู่สามีภรรยา เช่น การแบ่งงานในคายมีบทบาทในการช่วยเหลือหญิงในภาระงานบ้าน ตลอดจนการขัดเกลาทางสังคมต่อลูกสาวและลูกชายโดยไม่ผูกติดกับบทบาทตามเพศ

ศ. (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า คนยังยึดติดกับความคิดเดิมว่าเรื่องในบ้านเป็นเรื่องส่วนตัว อย่าเข้าไปยุ่ง ทำให้ไม่เกิดช่องทางเข้าไปช่วยเหลือคลี่คลาย สุดท้าย รอจนเกิดการเลือดตกยางออก บาดเจ็บ พิการหรือเสียชีวิต จนกลายเป็นคดีอาญา ซึ่งไม่ได้ช่วยคนถูกกระทำความรุนแรง เพียงแต่นำผู้กระทำความรุนแรงมาลงโทษ เมื่อต้องนำตัวเข้าคุก ทำให้ครอบครัวล่มสลาย ในหลายประเทศมีการออกแบบกฎหมายให้ความคุ้มครอง ช่วยเหลือตั้งแต่ต้น เรียกว่า โพรเทคชั่น ออเดอร์ ซึ่งมีระบบงาน ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายที่สุด มุ่งช่วยเหลือและแก้ไขพฤติกรรม รุนแรงของคนที่ใช้ความรุนแรง ต้องเข้ารับการบำบัด ระบบโพร เทคชั่น ออเดอร์ นี้จะต้องมีการจัดตั้งให้เร็วที่สุด เพราะกฎหมายสร้างระบบแต่ไม่ได้สร้างกลไกระบบต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม

ต้องมีการเปิดประเด็นว่า ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นประเด็นสาธารณะ ที่กระทบกระเทือนต่อความสุขในละความสงบสุขในสังคม หากใครประสบต้องได้รับความช่วยเหลือ และต้องเริ่มต้น ที่ตัวเอง ต้องตระหนักให้ได้ว่าการกระทำความรุนแรงเป็นความเสื่อมของตัวเอง เป็นข้อบก พร่องของบุคลิกภาพ

พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา รักษาการผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า สถิติการแก้ความรุนแรงในครอบครัวมีน้อยมาก คดีมีเหตุเกิดขึ้นมากมาย แต่ไม่ได้รับการเยียวยา อีกทั้งตำรวจ ดำรง 2 สถานะ เป็นทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ กลับเป็นผู้กระทำความรุนแรงเสียเอง โดยจากการสำรวจระบุ ว่า ตำรวจเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่กระทำความรุนแรงด้วยเช่นกัน ตนพยายามสร้างแรงจูงใจต่อตำรวจ แม้จะผ่านการอบรมแล้ว แต่ยังไม่มีการซึมซับเท่าไหร่ ทุกวันนี้ รัฐดูแลเหยื่อน้อยไป แต่รัฐกลับไปให้ความคุ้มครองกับผู้กระทำความรุนแรงมากกว่า ซึ่งถือเป็นปัญหาของสังคมในขณะนี้.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook