ชาวยิวเข้มแข็งได้อย่างไร

ชาวยิวเข้มแข็งได้อย่างไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เรื่องชาวยิวนั้นเราได้ยินตั้งแต่ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล แต่การสร้างประเทศอิสราเอลจนมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษา โดยเฉพาะชนชาติยิวเน้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

แม้ว่ากลุ่มชาวยิวและกลุ่มประเทศอาหรับจะมีปัญหาอย่างต่อเนื่องจนทำให้ชาวโลกมีมุมมองที่แตกต่างกันไป แต่อีกด้านหนึ่งได้อ่านจากนักเขียนชาวยิว 2 คน คือ แดน ซีเนอร์ และซาอูล ซิงเกอร์ สะท้อนความเป็นประเทศอิสราเอลในแง่มุมทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ผ่านสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น คิดว่าก็น่าศึกษาในอีกด้านหนึ่ง

ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกจากพิษ แฮมเบอร์เกอร์ ของสหรัฐอเมริกา อิสรา เอลนั้นไม่ได้รับผลกระทบมาก แถมยังสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว เขาอธิบายว่า ตรงนี้มาจากการเพิ่มประสิทธิภาพจากการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยแท้ และก็ไม่ได้มาจากการกู้ยืมเงินอย่าง ง่าย ๆ หรือการปั่นราคาที่ดินให้สูง

กุญแจสำคัญคือวัฒนธรรมด้านการ สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีร่วมกับการสร้างผู้ประกอบการทางธุรกิจได้อย่างหนาแน่นที่สุดในโลก โดยการดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก เมื่อคิดปริมาณเงินลงทุ่อหัวประชากรแล้ว อิสราเอลมีมากกว่าสหรัฐอเมริกา 2.5 เท่า ยุโรป 30 เท่า จีน 80 เท่า อินเดีย 800 เท่า

ตรงนี้คงคุยได้เพราะอิสราเอลมี ประชากรน้อยแค่ 7.5 ล้านคน เป็นชาวยิว 5.6 ล้านคน และชาวยิวในอเมริกาอีก 6 ล้านคน ประชากรน้อยเมื่อหารต่อหัว ตัวเลขการลงทุนจึงดูดีเมื่อคิดตัวเลขเทียบกับประเทศประชากรหลายร้อยล้านถึงพันล้าน

แต่จุดเด่นที่น่าสนใจคือ ประเทศ อิสราเอลสร้างวัฒนธรรมเรื่องระบบเพื่อให้มีการก่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเขาบอกว่าไม่จำเป็นต้องเป็นคนเก่งคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุดยอดอย่างสิงคโปร์ แต่การสร้างวัฒนธรรมนี้ได้มา จากการฝึกฝนอย่างหนักมากกว่าการค้นคว้าวิจัยโดยมีการยกตัวอย่างว่า คนหนุ่มสาวชาวอิสรา เอลมีวุฒิภาวะสูงกว่าคนอเมริกัน เนื่องมาจาก การเกณฑ์ทุกคนเข้าฝึกทหาร โดยให้มีการทำงานกันเป็นทีมเหนือตัวบุคคล การทำงานให้สำเร็จได้โดยแม้ว่าจะไม่มีทรัพยากรเพียงพอและระบบสารสนเทศที่ไม่สมบูรณ์ กระทั่งให้คิดทำโดยไม่มีการเตรียมตัว คือ ให้มีการเตรียมพร้อมทำงานเป็นทีมอยู่ทุกชั่วขณะที่ต้องการเช่นเดียวกับกองทหารที่พร้อมรบู่เสมอ

พอมีสัญญาณภัยมาไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็สามารถตั้งทีมพร้อมรบทันที

ในภาคธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เมื่อค้นพบเทคโนโลยีก็นำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทันที โดยยกตัวอย่างการค้นพบเซ็นเซอร์เป็นกล้องขนาดเท่าเม็ดยา ก็คิดให้คนไข้กลืนเข้าไปเพื่อส่องดูและวินิจฉัยโรคภายในท้องของคนไข้ โดยไม่ต้องเสียเวลาผ่าตัดทำให้คนไข้เกิดเป็นแผลอันตราย บริษัทนี้ชื่อ พิลแคม (PillCam) นอกจากนี้การมีนโยบายเปิดรับผู้อพยพมาก กว่า 70 ชาติเข้ามาเสี่ยงโชค เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาสมัยก่อนก็สามารถที่จะเลือกคนเก่งเข้ามาช่วยสร้างชาติได้ ด้วยนวัตกรรมที่แต่ละคนมี

ท่านผู้อ่านก็พิจารณาดู รู้ข้อเด่นของเขาตรงไหนที่สร้างคุณประโยชน์ได้ ก็นำไปคิดต่อยอดได้ไม่เสียหาย.

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

boonmark@rus.ac.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook