นักวิจัยจุฬาฯ ศึกษาแผนที่สมองคน หวังพยากรณ์การเกิดโรคทางระบบประสาทใด้แม่นยำ ภายใต้งบไทยเข็มแข็ง

นักวิจัยจุฬาฯ ศึกษาแผนที่สมองคน หวังพยากรณ์การเกิดโรคทางระบบประสาทใด้แม่นยำ ภายใต้งบไทยเข็มแข็ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาแผนที่สมองคน หวังพยากรณ์การเกิดโรคทางระบบประสาทใด้แม่นยำ ภายใต้งบประมาณไทยเข็มแข็ง 60 ล้านบาท ศ.นพ. ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ รศ.พญ.จิราพร เหล่าธรรมทัศน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนโครงการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาแผนที่สมองคน โดยจะเปรียบเทียบรูปแบบลักษณะของสมองคนปกติ และคนที่เป็นโรคทางระบบประสาทต่างๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า โรคสมองอักเสบ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งจะทำให้ทราบกลไกการเกิดโรคในเชิงลึก วินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำว่า จะเป็นโรคใดบ้าง รวมถึงจะพยากรณ์โรคว่า มีแนวโน้มเป็นมากน้อยเพียงใด มีโอกาสฟื้นตัวภายในระยะเวลาเท่าใด ซึ่งเทคนิคการทำแผนที่สมองคน จะทำตามรูปแบบเดียวกับแผนที่สมองสุนัข ที่ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำการพัฒนามาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว โดยจะใช้วิธีการสแกนสมองและนำมาวิเคราะห์รูปแบบของเส้นใยประสาท เพื่อศึกษากลไกการทำงานเชิงลึก ซึ่งในส่วนของแผนที่สมองสุนัขได้เปรียบเทียบเส้นใยประสาทของสุนัขปกติและสุนัขบ้าจนได้แผนที่สมอง ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษากลไกการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าเท่านั้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเครื่องมือสแกนสมองสามารถวินิจฉัยโรคได้เบื้องต้นเท่านั้น โดยไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม ได้เสนอของบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็งระยะ 2 แล้ว จำนวน 60 ล้านบาท เพื่อทำโครงการนี้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นผู้ดำเนินการของบและหากได้งบประมาณ คาดว่า จะได้แผนที่สมองคนภายใน 3 ปี ซึ่งขณะนี้ในต่างประเทศได้มีการศึกษาลักษณะนี้แล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook