เนร่า เปิดผลศึกษาไลเซ่น 3จี กทช.

เนร่า เปิดผลศึกษาไลเซ่น 3จี กทช.

เนร่า เปิดผลศึกษาไลเซ่น 3จี กทช.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนร่า บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก และที่ปรึกษาโครงการประมูลไลเซ่น 3จี เปิดผลการศึกษา เคลียร์ทุกประเด็นร้อน

นายคริสเตียน ดิปปอน รองประธาน บริษัท เนร่า อิโคโนมิค คอนซัลติ้ง ในฐานะหัวหน้าโครงการที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่ และโครงการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจสำหรับใบอนุญาต 3จีของ กทช. กล่าวว่า การให้บริการ 3จี จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้บริการในราคาต่ำกว่า คุณภาพบริการสูงขึ้น และครอบคลุมการบริการที่กว้างขวางขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อสังคมไทย โดยโครงการนี้ กทช. ใช้เวลาเตรียมการมานานกว่า 5 ปีแล้ว เพื่อให้ได้แนวทางเปิดประมูลที่เหมาะสม สำหรับวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดสรร "คลื่นความถี่" ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลน

นอกจากนี้ การที่มีผู้เสนอให้ลดจำนวนใบอนุญาตจาก 4 ใบ เป็น 3 ใบ และกำหนดขนาดของคลื่นความถี่เท่ากันคือ ใบละ 15 เมกะเฮิรตซ์นั้น เท่ากับเป็นการลดการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือของไทย เพราะจะไม่สร้างบริบทในการเข้ามาแข่งขันของผู้ให้บริการรายใหม่ นอกเหนือไปจากผู้ให้บริการปัจจุบันทั้ง 3 รายที่อยู่ในตลาด

ส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับการโอนย้ายลูกค้าจาก 2จีไป 3จีนั้น เนร่า ได้จัดทำคาดการณ์โดยอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาระหว่างประเทศ พบว่ามีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนต่ำกว่า 15% ที่จะโอนย้ายไปใช้บริการ 3จี ก่อนที่สัญญาสัมปทานสุดท้ายจะสิ้นสุดลงในปี 2560 จากข้อมูลทางด้านการเงินในรายงานประจำปีของ ทีโอที และ กสท คาดว่าผลสูญเสียรวมต่อ 2 หน่วยงานจากการเริ่มใช้บริการ 3จี และบริการคงสิทธิเลขหมายนั้นน้อยกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ หากประเมินภายใต้ข้อสมมติฐานแบบ conservative หากกำหนดให้ 20% ของรายได้สัมปทานถูกนำส่งแก่กระทรวงการคลัง ผลกระทบสุทธิต่อสังคมไทยจะเป็นประมาณ 2.1 พันล้านบาท ในทางตรงกันข้ามรายได้จากการประมูล 3จี ที่คาดว่าจะนำส่งให้กระทรวงการคลัง จะมีจำนวนประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท หากใบอนุญาตทั้ง 4 ใบถูกขายออกไปได้ในการประมูล

"นอกจากนี้ แม้จะมีผู้โต้แย้งว่าอัตราความต้องการ 3จี ในประเทศไทย จะสูงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้นในต่างประเทศเป็นจำนวน 3 เท่าตัว (ซึ่งจะทำให้เกิน 40% ในปี 2560) ผลกระทบต่อสังคมไทยจะเท่ากับ 6.3 พันล้านบาท ซึ่งยังต่ำกว่ารายได้จากการประมูลที่คาดว่าจะได้รับเป็นอย่างมาก" นายดิปปอนกล่าว

เขากล่าวอีกว่า กรณีที่มีผู้เสนอให้รัฐบาลเก็บภาษีสรรพสามิตมือถือ 3จี เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่ลดลงของรัฐบาลนั้น จะเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคเนื่องจากจะส่งผลให้ราคาขายปลีกสูงขึ้น

ขณะเดียวกัน จากข้อมูลการเปิดประมูล 3จีของ 17 ประเทศ จำนวน 69 ใบอนุญาต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บ่งชี้ว่ายิ่งเวลาล่าช้าออกไปก็ยิ่งสูญเสียโอกาสของรายได้ที่รัฐจะรับจากการ ประมูล โดยพบว่า "ราคา" คลื่นต่อช่วงความถี่ต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อประชากร (MHz-pop) ที่ได้รับจากค่าประมูลมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจาก 7 ดอลลาร์เมื่อปี 2543 มาอยู่ที่ 0.17-0.22 ดอลลาร์ สำหรับการประเมินราคาใบอนุญาต 3จีของ กทช.

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook