ธุรกิจการแพทย์โหมหนัก แพทย์ทั่วไปสนใจเป็นแพทย์ผิวหนังมากขึ้น

ธุรกิจการแพทย์โหมหนัก แพทย์ทั่วไปสนใจเป็นแพทย์ผิวหนังมากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มศว ย้ำ ป.โท ตจวิทยา มุ่งเน้นวิจัย รู้เท่าทันวงการยา นวัตกรรมการรักษา ไม่ตกเป็นเหยื่อบริษัทยา เครื่องมือทางการแพทย์ รศ.นพ.มนตรี อุดมเพทายกุล ผู้อำนวยการศูนย์ผิวหนัง คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า การเรียนต่อในระดับปริญญาโทด้านสาขาตจวิทยาหรือด้านผิวหนังในปัจจุบันนี้นิสิตเรียนเพื่อจะนำความรู้ออกไปประกอบอาชีพเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามสาขาตจวิทยาของมศว ที่เปิดการเรียนการสอนมาถึง 7 ปีพบว่า การเรียนในระดับปริญญาโทนั้นต้องสอนให้นิสิตรู้และเข้าใจการทำงานวิจัย กระตุ้นให้เกิดงานวิจัยเพราะอย่าลืมว่างานวิจัยจะเป็นการทำให้เกิดการพัฒนาทางวิชาการและเป็นคำตอบในการดูแลรักษาผู้ป่วยหรือผู้เข้ามารับบริการได้ "การเปิดทำการเรียนการสอนในสาขาตจวิทยาของมศว นั้นเรามุ่งเน้นให้อยากเห็นผู้สำเร็จการศึกษาได้ออกไปทำงานวิจัยหรือไปเป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา อาจจะเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิธีผู้ช่วยสอน แต่ส่วนใหญ่จะนิยมทำงานในคลินิกหรือตามโรงพยาบาล แม้จะไม่สอดคองกับจุดประสงค์ในการผลิตบัณฑิตของศูนย์ผิวหนัง แต่เราก็พยายามส่งเสริมให้ผู้ที่จะออกไปเป็นแพทย์เฉพาะทางทำงานวิจัยเป็น และองค์กรที่ทำงานควรส่งเสริมให้แพทย์คนนั้นมีโอกาสทำงานวิจัยในสายงานที่ตัวเองรับผิดชอบ มศว พยายามเน้นเรื่องการทำวิจัย เพราะอย่าลืมว่าเวลาที่มีใครมาสเสนอยา หรือนวตกรรมใหม่ๆ แพทย์จะรู้เท่าทันและไม่หลวงเชื่อยาหรือนวตกรรมใหม่ๆ เพราะอย่าลืมว่าในสมัยปัจจุบันถ้าเราไม่สนใจงานวิชาการ ไม่สนใจการทำวิจัยเราจะหลงเชื่อยาใหม่และนวตกรรมใหม่ได้ง่ายมาก เนื่องจากยุคนี้ตลาดยาและนวัตกรรมใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเรื่องธุรกิจ มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ถ้าแพทย์ไม่ทำวิจัยเราก็จะตกอยู่ในบ่วงของธุรกิจทางการแพทย์ได้ง่ายมาก รศ.นพ.มนตรี กล่าวอีกว่าคลินิกดูแลผิวหนังจำนวนไม่น้อยในทุกวันนี้ ใช้แพทย์ที่จบโรคทั่วไปมาอบรมวิธีการรักษา โดยที่ไม่ได้ใช้แพทย์เฉพาะทาง แพทย์โรคทั่วไปที่จบใหม่ความรู้ยังน้อย ความเข้าใจและอยากที่จำทำงานวิจัยยังไม่มี อีกทั้งความสบาย และค่าตอบแทสูงเดือนหนึ่งๆ ได้ค่าตอบแทนหลักแสน จนลืมที่จะใฝ่หาความรู้เพิ่มเติบลืมการทำวิจัยควบคู่ไปกับการรักษาและดูแลผู้ป่วย ตามหลักเกณฑ์ของแพทย์ผิวหนังแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาโรคทั่วไปควรจะผ่านการอบรมทางด้านผิวหนังเป็นระยะเวลา 4 ปีเพื่อให้ได้วุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรแพทย์ผิวหนัง อีกกลุ่มหนึ่งที่มศว ร่วมอบรมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอบรมวิชาความรู้และเครื่องมือทำวิจัยและลงมือทำวิจัยอย่างน้อย 2 ปี หลักสูตรระยะสั้น 1 ปี เปิดสอนโดยสถาบันโรคผิวหนังเปิดสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ นอกจากนี้ก็ยังมีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาบัตร แพทย์ศาสตร์บัณฑิตสามารถเรียนต่อเพิ่มเติมได้ เพื่อเลื่อนตัวเองเป็นแพทย์ผิวหนัง แต่หากนอกเหนือจากนี้เป็นการอบรมโดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 2 สัปดาห์ ซึ่งสั้นมากความเชี่ยวชาญต่างๆ ยังไม่มีและไม่ควรเรียกแพทย์กลุ่มนี้ว่าแพทย์ผิวหนัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook