องค์การอนามัยโลก ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ จ.ตราด ติดตามการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในกลุ่มแรงงานต่า

องค์การอนามัยโลก ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ จ.ตราด ติดตามการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในกลุ่มแรงงานต่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
องค์การอนามัยโลก ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ จ.ตราด ติดตามการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว วันนี้ (2 ธ.ค.52) ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด Dr.Bjorn Melgaard ที่ปรึกษาอาวุโสองค์การอนามัยโลก (World Health Organization WHO) ประจำประเทศไทย พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดตราด เพื่อติดตามการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดตราด โดยมี นายแพทย์กฤษณ์ ปาลสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตราด กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในพื้นที่จังหวัดตราด ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2552 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยยืนยัน 302 ราย แบ่งเป็นคนไทย 288 ราย กัมพูชา 11 ราย พม่า 1 ราย และเนปาล 1 ราย ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลทุกแห่ง ยังคงดำเนินการตามมาตรการ 2 ลด 3 เร่ง ประกอบด้วย ลดการเสียชีวิต ลดการติดเชื้อ และการป่วย โดยสร้างพฤติกรรมป้องกันโรคให้กับประชาชน และลดการป่วย พร้อมกันนี้ยังเร่งให้ อสม. ตรวจเยี่ยม คัดกรอง กลุ่มเสี่ยงและให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ เร่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 สู่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง ลดความตื่นตระหนก และเร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์ตอบโต้การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 และในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่นับหมื่นคนที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวกัมพูชา ทางสำนักงานสาธารณสุขได้ร่วมกับกับมูลนิธิรักษ์ไทยได้ดำเนินการรณรงค์การประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกันปัญหาโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นคนไทยเชื้อสายเกาะกง ที่อาศัยกระจายอยู่ทั่วจังหวัดกว่า 150 คน โดยกลุ่ม อสต.จะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่เรื่องนี้ผ่านภาษากัมพูชา นอกจากนี้ในด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมารักษาในพื้นที่ ทางจังหวัดมีความร่วมมือกับจังหวัดเกาะกงของกัมพูชาอยู่แล้ว ในการรองรับผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามารักษาตัวในพื้นที่จังหวัดตราด ด้าน Dr Bjorn Melgaard กล่าวว่า มาตรการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวของจังหวัดตราดนับว่ามีการดำเนินการที่เข้มแข็ง อย่างไรก็ตามจะนำข้อมูล และปัญหาการดำเนินการในระดับพื้นที่นำเสนอต่อ WHO และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนงบประมาณ เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำเนินการเรื่องนี้ ให้เกิดความเท่าเทียมกันในด้านสิทธิการรักษาและป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook