รัฐธรรมนูญไทยที่เคยประกาศใช้

รัฐธรรมนูญไทยที่เคยประกาศใช้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มีทั้งสิ้น 18 ฉบับ ประกอบด้วย

1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เกิดจากคณะราษฎร์ ได้จัดร่างขึ้น มีระยะเวลาใช้ 5 เดือน 13 วัน

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2475 รวมเวลาบังคับใช้ 13 ปี 4 เดือน 9 วัน เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการบังคับใช้นานที่สุด มีการรับรองสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ประชาชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญครั้งแรก

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รวมเวลาบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน ให้เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมืองเป็นครั้งแรก และใช้การปกครองระบบ 2 สภา คือรัฐสภา และพฤฒสภา

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 มาจากคณะรัฐประหาร มีระยะเวลาใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน เป็นรัฐธรรมนูญที่มีชื่อเล่นว่า รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เพราะพลโทหลวงกาจสงคราม รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่มีส่วนในการร่างเกรงว่าจะมีใครรู้เนื้อหา จึงยกร่างแล้วนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการนำคำว่า วุฒิสภามาใช้เป็นครั้งแรกแทนพฤฒสภา

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มีระยะเวลาใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน เนื้อหาสำคัญ ห้าม ส.ส., ส.ว.เป็นข้าราชการ หรือทำการค้า กำหนดให้มีแนวนโยบายแห่งรัฐเป็นครั้งแรก

6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 บังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน ในช่วงนี้ มีการปฏิวัติยึดอำนาจโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 แม้เป็นธรรมนูญการปกครองชั่วคราว แต่บังคับใช้ถึง 9 น ให้มีสภาเดียว คือสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการแต่งตั้ง ทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 มีอายุการใช้งาน 3 ปี 4 เดือน 27 วัน และถูกจอมพลถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหาร

9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มีอายุ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน รัฐธรรมนูญนี้ มีจุดสนใจอยู่ที่ ม.17 ซึ่งให้อำนาจเพิ่มเติมสำหรับการบังคับการกระทำต่าง ๆ แก่นายกรัฐมนตรีอย่างกว้างขวาง

10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ได้ชื่อว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงสุด ให้ เสรีภาพประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะถูกร่างหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 แต่ระยะเวลาใช้เพียง 2 ปี ก็ถูกล้มเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 มีอายุเพียง 1 ปี

12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 มีอายุประมาณ 1 ปี กำหนดเวลาใช้เพื่อรอการเลือกตั้งเท่านั้น และมีบทบัญญัติ ม.27 ให้ความเห็นชอบในการใช้อำนาจเผด็จการของนายกรัฐมนตรี

13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ใช้ค่อนข้างยาว 12 ปีเศษ และถูกรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค

14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ใช้บังคับเพียง 9 เดือน 8 วัน โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ ให้ รสช.เป็นองค์กรกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับคณะรัฐมนตรี

15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เป็นรัฐธรรมนูญที่มักจะถูกเรียกว่า รัฐธรรช. และใน ม.159 ให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เป็นเหตุให้ประชาชนต่อต้าน จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ รวมระยะเวลาใช้ 5 ปี 10 เดือน 2 วัน

16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ เน้นส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รวมเวลาใช้ 8 ปี 11 เดือน 8 วัน

17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 คปค.ได้ยกร่างขึ้นมาใช้บริหารประเทศชั่วคราว ประมาณ 10 เดือน

18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 คือฉบับปัจจุบัน ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 โดยใช้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำ และมีความพยายามจะแก้ไขดังที่ได้กล่าวไปแล้ว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook