พบเฝือกคอเก๊ในรถฉุกเฉินอย.สั่งระงับนำเข้า

พบเฝือกคอเก๊ในรถฉุกเฉินอย.สั่งระงับนำเข้า

พบเฝือกคอเก๊ในรถฉุกเฉินอย.สั่งระงับนำเข้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย.ตรวจ เฝือกคอ ที่ติดกับรถพยาบาลฉุกเฉินฉาว 232 คันของสธ. พบเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์เก๊ สั่งระงับนำเข้า หลังพบพิรุธเลขลิขสิทธิ์สินค้าไม่ตรงกับที่แจ้ง อย.

(13ธ.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สั่งห้ามนำเข้าชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน หรือเฝือกคอ ยี่ห้อหนึ่ง ขนาด PEDI ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินในรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพต่างๆ หลังพบความผิดปกติของหมายเลขลิขสิทธิ์สินค้าที่ไม่ตรงกัน ระหว่างเลขบนสติกเกอร์กับเลขตัวนูนบนชุดป้องกันกระดูก และบางชิ้นเลขที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ เป็นเลขของผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน จึงเข้าข่ายอุปกรณ์การแพทย์ปลอม ทั้งยังสั่งให้มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่จำหน่ายในประเทศอื่นด้วยว่า มีความผิดพลาดตรงกันหรือไม่

ก่อนหน้านี้ สตง.ได้ให้อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมของเครื่องมือแพทย์ 3 รายการที่ติดอยู่ในรถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง จำนวน 232 คัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อตามสัญญาเลขที่ 11/2549 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2548 โดยมีอุปกรณ์คือ ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อนรวมอยู่ด้วย จากการตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว อย.ได้ตรวจสอบสินค้าตัวอย่างที่บริษัท สุพรีม โพรดักส์ จำกัด ส่งมอบให้แก่อย. และสินค้าตัวอย่างของบริษัท FIEU Corporation .co.ltd ตัวแทนจำหน่าย PHILADELPHIA COLLAR ในประเทศไทย

เลขาธิการอย. กล่าวว่า ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อนของทั้ง 2 บริษัท มีการแสดงเลขกำกับสินค้าตัวนูนไม่ตรงกับบนสติกเกอร์ทุกตัวอย่าง นอกจากนี้ ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อนที่บริษัท สุพรีม โพรดักส์ จำกัด นำเข้าทั้ง 4 ครั้ง พบว่าแหล่งกำเนิดต้นทางของสินค้ามาจากประเทศต้นทางที่มีข้อผิดสังเกต อาจเป็นไปได้ว่าเป็นความผิดพลาดของผู้ผลิต ซึ่งกรณีนี้ บริษัท FIEU Corporation .co.ltd ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยแจ้งว่าอาจเป็นความผิดพลาดของลอตการผลิต จึงทำให้เกิดการผิดพลาดขึ้น จึงระงับนำเข้าจนกว่าผู้ผลิตจะแก้ไขให้ถูกต้อง

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน ที่บริษัท สุพรีม นำเข้ามาในชุดของแผ่นพลาสติก ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ตามพ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ ยังไม่มี Certificate of Free Sales หรือการแจ้งขอผ่อนผันการนำเข้า ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 2.5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย.จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook