กรมสรรพากร เตรียมไล่กวดรายชื่อลุ่มเลี่ยงเสียภาษี

กรมสรรพากร เตรียมไล่กวดรายชื่อลุ่มเลี่ยงเสียภาษี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายวินัย  วิทวัชการเวช อธิบดีกรมสรรพากร  เปิดเผยว่ากรมสรรพากร จะตรวจสอบและจัดระดับคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่ในขณะนี้มีอยู่ประมาณ 40,000 ราย เนื่องจากสำนักงานบัญชีจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้เสียภาษีและกรมสรรพากร ดังนั้นจะมีการจัดกลุ่มสำนักงานบัญชีออกป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มดี ปกติ และเสี่ยง เพื่อประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีโดยรวม และเพิ่มความเข้มงวดในการสืบสวน และ ตรวจสอบภาษีอย่างต่อเนื่องกับผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม ผู้ขอคืนภาษีเป็นเท็จ และผู้สร้างรายจ่ายเท็จ ส่วน ผลการจัดเก็บรายได้ในเดือนพฤศจิกายน 2552 อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสามารถจัดเก็บรายได้ เป็นจำนวน 85,237 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 2,023 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.43 และสูงกว่าประมาณการ 7,084 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.06  ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน มียอดการจัดเก็บ 157,464 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 14,073 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 9.81 สำหรับการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากการจัดเก็บภาษีทุกประเภทสูงกว่าประมาณการ มีเพียงการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อยเนื่องจากได้มีการลดอัตราการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์ สำหรับการจัดเก็บภาษีในเดือนธันวาคมระหว่างวันที่1-8  ธ.ค. 2552 กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าสิ้นเดือนจะจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ8,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.3 โดยกรมสรรพากรได้ตั้งประมาณการจัดเก็บรายได้ของเดือนธันวาคม จำนวน 60,271 ล้านบาท ส่งผลให้การจัดเก็บของกรมสรรพากรทั้งปีงบประมาณ 2553 ที่ได้ตั้งประมาณการจัดเก็บไว้1,098,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ร้อยละ8-10 หรือคิดเป็น 100,000 ล้านบาท โดยแนวโน้มการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคในประเทศสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน นายวินัยกล่าวว่า  สำหรับนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีในปี 2553 กรมจะมีการพัฒนาระบบIT เพื่อเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กับระบบภาษีเงินได้ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลเพิ่มเติมกับ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมที่ดิน กรมแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงพาณิชย์ หน่วยราชการที่ทำนิติกรรมสัญญากับภาคเอกชนประจำ  นอกจากนี้จะมีการพัฒนาระบบการกำกับดูแลผู้เสียภาษี โดยกรมสรรพากรจะจัดทำห่วงโซ่ทางการค้าของธุรกิจ(Supply Chain) เพื่อตรวจสอบกิจาการที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ และกรมสรรพากรจะดูแลผู้เสียภาษีที่มีความเสี่ยงว่ากลุ่มใดมีความเสี่ยงมากหรือน้อย โดยมอบหมายให้กรมสรรพากรพื้นที่ทั้ง 121 พื้นที่ทั่วประเทศได้วิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้เสียภาษีในแต่ละ พื้นที่ว่ามีการเสียภาษีครบถ้วนหรือไม่

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook