ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาระดมความเห็นกำหนดทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาระดมความเห็นกำหนดทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาระดมความเห็นกำหนดทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ลดโอกาสเป็นประเทศอันดับต้นในการสร้างมลพิษให้กับโลก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม ร่วมกับภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาเชิงวิชาการอนาคตประเทศไทยกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง เผชิญหน้าผลลัพธ์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 สู่ประเด็นท้าทายในแผนที่ 11 เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตามหลักการภาคีมีส่วนร่วมการพัฒนา พร้อมทั้งสร้างเวทีพูดคุยด้านวิกฤตสิ่งแวดล้อม และอนาคตของประเทศไทย เพื่อเป็นสื่อกลางให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่มาจากประสบการณ์พัฒนา และนำข้อสรุปที่ได้ไปเสนอต่อสาธารณะให้เป็นการต่อยอดในการปรับเปลี่ยนแผนพัฒนาไปสู่ฉบับที่ 11 ต่อไป โดย นายสุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องจากเป็นประเทศอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียที่สร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากประชาชนในประเทศยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน และปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ก็อาจจะทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ในการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับโลก ทั้งนี้ ในส่วนของภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ น่าจะมีการตื่นตัว และกระตุ้นในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ตระหนักและเกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วน ขณะที่ นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่สำคัญ คือ การพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องของสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ไม่ใช่การพัฒนาแผนลอกเลียนแบบที่ประสบความสำเร็จมาจากต่างประเทศเหมือนในอดีต แต่ต้องมีการนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook