เลขานุการ คกก.กำหนดรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ระบุ หากการตั้งองค์กรพิเศษดูแล

เลขานุการ คกก.กำหนดรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ระบุ หากการตั้งองค์กรพิเศษดูแล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เลขานุการคณะกรรมการกำหนดรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (รับตรง) ระบุ หากการตั้งองค์กรพิเศษในการดูแลการรับตรงเพื่อเป็นศูนย์กลางประสานข้อมูลในการสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเป็นที่ยอมรับ ระบบแอดมิสชันอาจไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป นายสุริยา เสถียรกิจอำไพ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกำหนดรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา (รับตรง) เปิดเผยว่า จากการประชุมในครั้งแรกเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ประธานการประชุมได้วางกรอบการทำงานว่าอาจมีการตั้งองค์กรพิเศษเพื่อทำหน้าที่ประสานให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง พร้อมทั้งมีข้อมูลของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งว่าเปิดสอนสาขาวิชาใดบ้างระเบียบการรับสมัคร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยสามารถสมัครผ่านมาที่ศูนย์ได้ทันที และเมื่อเด็กเลือกคณะที่เรียนได้แล้วก็จะส่งข้อมูลการสมัครมาให้โดยศูนย์จะจัดส่งข้อมูลการสมัครของเด็กไปยังแต่ละมหาวิทยาลัยที่เลือก ซึ่งรัฐจะออกค่าใช้จ่ายในการสมัครให้จากเดิมที่เด็กต้องสมัครเอง และเมื่อมหาวิทยาลัยจะพิจารณาการรับนักศึกษาจากข้อมูลที่ส่งไปให้ทันที ทางมหาวิทยาลัยอาจจะไม่ต้องจัดสอบโดยอาจหันไปใช้คะแนนจากการสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ หรือ PAT ในเดือนกรกฎาคม เป็นองค์ประกอบ ร่วมกับ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ GPAX และ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET และหากมีเงื่อนไขเพิ่มเติมสามารถสอบสัมภาษณ์หรือทดสอบเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้เมื่อมหาวิทยาลัยตัดสินใจรับนักศึกษาแล้วก็จะส่งรายชื่อเด็กกลับมายังศูนย์ เพื่อที่จะได้ส่งชื่อต่อไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ ว่าเด็กมีที่เรียนแล้ว ฉะนั้นทุกแห่งจะดำเนินการพร้อมกันโดยทางศูนย์จะเป็นตัวกลางในการประสานให้ นายสุริยา กล่าวอีกว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯ ได้ส่งเรื่องไปยัง สกอ.แล้ว โดยจากนี้ไปจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากมหาวิทยาลัยต่างๆ นักเรียน ผู้ปกครอง อีกครั้ง ซึ่งจะเร่งให้มีข้อสรุปภายในเดือนเมษายนนี้ อย่างไรก็ตามหากรูปแบบดังกล่าวเป็นที่ยอมรับก็อาจใช้ได้ทันในปีการศึกษา 2554 ซึ่งจะทำให้ระบบแอดมิสชันไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook