ผลการประชุมโลกร้อน : อุณหภูมิที่ไม่อาจลดลง

ผลการประชุมโลกร้อน : อุณหภูมิที่ไม่อาจลดลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
การประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP-15 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งผู้แทนรัฐบาลจาก 192 ประเทศ เข้าร่วมประชุมตลอด 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 7-18 ธันวาคม 52 ที่ผ่านมา แต่ "ความร้อน และ "ความแรง อันเนื่องมาจากการประชุมนั้นยังไม่จบสิ้นทั้งที่เป็นการประชุมเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน แต่กลับสร้างทั้งความผิดหวังและสร้างอุณหภูมิที่สูงขึ้น เรียกได้ว่าความคาดหวังที่ต่างตั้งตารอกันเป็นปีจากการประชุมในครั้งนี้แทบจะกลายเป็นความว่างเปล่า ผลการประชุม ถ้าจะกล่าวในมุมมองกว้าง ๆ การประชุมครั้งนี้ถือว่าไม่บรรลุผลสำเร็จในการประชุมแม้จะใช้ระยะเวลายาวนานถึง 12 วัน โดยสามารถมีข้อตกลงร่วมกันในการต่อสู้กับโลกร้อนเพียง 1 ฉบับที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น การเล่นไพ่โป๊กเกอร์ด้านสภาพอากาศของผู้นำสหรัฐ จีน อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้ และประเทศยักษ์ใหญ่ในทวีปยุโรป โดยเดนมาร์กในฐานะประธานของการประชุมเป็นผู้กำหนดให้เล่นอย่างไรก็ตามแม้จะมีผลสำเร็จที่ถูกมองว่าน้อยนิดแต่ก็มีจุดเริ่มต้นหลาย ๆ อย่างที่ "หวัง ว่าจะกลายเป็นรูปธรรมและนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับโลกร้อนได้อย่างจริงจัง ได้แก่ การจำกัดมิให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส และการสนับสนุนกองทุนช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่จะเริ่มต้นด้วยเงินจำนวน 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ความคาดหวังที่ตั้งไว้ ระหว่างที่รอคอยให้เกิดการประชุมเพื่อต่อสู้กับวิกฤตโลกร้อน "ครั้งประวัติศาสตร์ ณ กรุงโคเปนเฮเกน หลายฝ่ายต่างมีความคาดหวังต่อการประชุมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความพยายามในการหาข้อตกลงที่จะนำมาใช้แทน "พิธีสารเกียวโต รวมทั้งบทบาทของประเทศร่ำรวยต่อความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน และบทบาทของมหาอำนาจอย่างอเมริกาและจีนที่ควรจะมีส่วนสำคัญในการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ความผิดหวัง ความผิดหวังประเด็นสำคัญจากการประชุม COP-15 ในครั้งนี้ก็คือ ในที่ประชุมไม่สามารถบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกหลังปี 2555 ตามพิธีสารเกียวโตได้โดยสิ้นเชิง แม้จะมีการตกลงให้มีการจำกัดไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส แต่กลับไม่มีแนวทางหรืารดำเนินการที่ชัดเจนเพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมายดังกล่าว ท่ามกลางความกังวลที่เริ่มก่อตัวมากขึ้นในปี 2550 โดยคณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ อันประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กว่า 2,500 คนจากทั่วโลก มารวมตัวกันเพื่อทำงานสืบหาข้อเท็จจริง และแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมีรายงานว่ามีความเป็นไปได้สูงกว่าร้อยละ 90 ว่าการกระทำของมนุษย์ ตลอด 5 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมได้จริงจากการประชุม COP-15 ในครั้งนี้ โดยผู้นำหลาย ๆ ประเทศต่างออกมาแสดงความผิดหวังต่อการประชุมอย่างต่อเนื่อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย กล่าวว่า ในการเจรจาระดับเจ้าหน้าที่เพื่อยกร่างมติ มีประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันจำนวนมาก จนระดับผู้นำคิดว่า เป็นไปได้ยากหากจะมาไล่หาข้อสรุปยุติทีละประเด็น ค่อนข้างชัดเจนว่าข้อตกลงนี้ไม่อาจจะมีผลผูกพันทางกฎหมายเกิดขึ้น โดยปัญหาอยู่ที่ความยุ่งยากในการเจรจา หรือความยุ่งยากในการลดภาวะเรือนกระจกของบางประเทศ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐออกมายอมรับว่า ข้อตกลงโคเปนเฮเกน ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาของนานาชาติได้ เพราะไม่ได้กำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่เหมาะสมอย่างจริงจัง ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาถูกจับมามองมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก คิดเป็นตัวเลขได้ถึงปีละ 5.7 ล้านตัน หรือร้อยละ 24 ของปริมาณก๊าซทั่วโลก ขณะที่สหรัฐมีประชากรเพียงร้อยละ 5 ของประชากรทั้งโลก และที่จะมองข้ามไม่ได้ก็คือประเทศจีนที่กลายมาเป็น "ตัวเด่น ในการประชุมที่ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องหลังจากการประชุม เนื่องจากประเทศจีนมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกติดต่อกันมาหลายปี และเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศปีละ 3.4 ล้านตัน หรือร้อยละ 15 ของโลก ความหวังหรืออุปสรรค ผู้มีบทบาทอย่างมากต่อการประชุม COP-15 นั้นได้แก่ สหภาพยุโรป อเมริกา และจีน ซึ่งถือเป็นประเทศที่อยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาต่าง ๆ ในการต่อสู่กับปัญหาโลกร้อนได้ แต่จากการประชุมในครั้งนี้หลาย ๆ ฝ่ายต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์สรัฐและอเมริกาต่อบทบาทในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านลบหรือด้านบวก โดยเฉพาะจีนที่ถูกทางอังกฤษตำหนิว่ามีส่วนในการล้มการเจรจา ไม่ยอมให้มีการกำหนดปริมาณการลดการปล่อยก๊าซก่อภาวะเรือนกระจก ในส่วนของยุโรป เป็นที่ทราบดีว่าสหภาพยุโรปนั้นมีการดำเนินการอย่างจริงจังเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด โดยเฉพาะมาตรการต่าง ๆ ในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งคำยืนยันต่อการรักษาสถานภาพของตลาดคาร์บอนเครดิตไม่ว่าผลการประชุม COP-15 จะเป็นเช่นไร แต่หากมองอีกมุมหนึ่งคาร์บอนเครดิตที่ถูกกำหนดให้เป็นกลไกทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือด้านสิ่งแวดล้อมต่อโลกใบนี้ กลับกลายเป็นส่วนสำคัญที่นอกจากจะไม่ช่วยให้ลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายแล้ว ยังเป็นส่วนกระตุ้นเชิงกลับให้ประเทศกำลังพัฒนามองข้ามความสำคัญที่แท้จริงของสิทธิการปล่อยก๊าซไปโดยสิ้นเชิง โดยมีการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซมากขึ้น แม้ดูเหมือนว่าจะมีการควบคุมแต่ในความเป็นจริงการปล่อยก๊าซของประเทศพัฒนาแล้วก็ไม่ได้ลดลง ซึ่งกลายเป็นเหมือนตลาดที่ฉวยโอกาสจากความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่จะช่วยกอบกู้สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน แม้การเจรจาเพื่อหาข้อตกลงในการต่อสู้กับโลกร้อนครั้งนี้จะยังไม่บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม แต่การวิพากษ์วิจารณ์ ความขัดแย้ง รวมถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำเสนอผ่านข่าวของนานาประเทศ น่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ประชาชนโลกตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตนี้อย่างจริงจังมากขึ้น อย่างน้อยประชาชนแต่ละประเทศก็ได้เห็นแล้วว่าประเด็นโลกร้อนนี้มีความสำคัญมากพอที่จะทำให้ผู้นำของตนเองออกมาแสดงความเห็น เสนอข้อเรียกร้อง หรือมีการโต้ตอบอย่างเผ็ดร้อนผ่านการประชุมที่ถือเป็น "ประวัติศาสตร์ อย่าง COP-15 ณ กรุงโคเปนเฮเกนที่ต่างต้องจดจำไว้ไปอีกนาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook