ไอ-คาเฟ่ ร้านเน็ตฉลาดใช้

ไอ-คาเฟ่ ร้านเน็ตฉลาดใช้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สวัสดีปีใหม่ 2553 กันอีกครั้ง หลายท่านคงกำลังปลื้มของขวัญปีใหม่ ช่วงวันหยุดปีใหม่ไปตระเวนดูสินค้าไอที และโทรศัพท์มือถือ ทั้งไอทีมอลล์ ฟอร์จูน และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง พนักงานขายส่วนใหญ่บอกว่า โทรศัพท์ มือถือราคาประมาณ 2,000-3,000 บาท เป็นกลุ่มที่ขายดีมาก ทั้งซื้อใช้เองและซื้อเป็นของขวัญปีใหม่

ส่วนสินค้าไอทีที่มักจะถูกผูกโบ ห่อของขวัญให้กัน ก็คือ พรินเตอร์ จอแอลซีดี 32 นิ้ว และเน็ตบุ๊ก น่าอิจฉาคนรับ จริง ๆ

วันนี้จะพาไปดูความคืบหน้าของโครงการไอ-คาเฟ่ โดยไมโครซอฟท์ประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการดี ๆ ที่น่าสนใจ ไมโครซอฟท์บอกว่า ปีนี้จะขยายไปยัง ต่างจังหวัดให้มากขึ้น เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีในแหล่งการเรียนรู้ที่ปลอดภัย

จุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการไอ-คาเฟ่ อีกอย่างก็คือ พยายามให้เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

ล่าสุดพบว่า มีร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศ ประมาณ 15,000 ร้าน ในจำนวนนี้ได้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8,000 ร้าน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปีที่แล้วไมโครซอฟท์ได้จัดกิจกรรมแนะนำโครงการ ไอ-คาเฟ่ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ก็มีร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เข้าร่วมและสอบถามข้อมูลเป็นจำนวนมาก

นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือกับร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศ ทำให้ร้านดังกล่าวสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น ที่ผ่านมา ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มีบทบาทสำคัญต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีขทศ ไมโครซอฟท์เสริมสร้างให้เกิดการใช้ไอทีมากขึ้นผ่านการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ มีโปรแกรมอีเลิร์นนิ่งของไมโครซอฟท์ ให้เยาวชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังได้ฝึกทักษะการใช้ไอที

ผู้คนจำนวนมากในท้องถิ่นที่ห่างไกลยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยี เนื่องจากไม่มีคอมพิวเตอร์ของตนเอง และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงเรียนยังมีไม่เพียงพอ ในความเป็นจริงแล้ว อัตราการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของนักเรียนในปัจจุบันอยู่ที่ 100 : 1 โครงการไอ-คาเฟ่ จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว และช่วยสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน โดยการสนับสนุนให้เยาวชนออกไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนในแหล่งการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและเหมาะสม ผู้ใช้งานทั่วไปก็สามารถใช้ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เป็นเสมือนห้องสมุด ที่ 2 สำหรับการค้นหาตำแหน่งงาน รวมทั้งการค้นคว้าหาข้อมูลที่พวกเขาต้องการสำหรับการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต

ส่วนร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ก็ได้ประโยชน์ เมื่อเข้าร่วมโครงการจะได้ใช้ซอฟต์แวร์ ลิขสิทธิ์ราคาพิเศษ รวมถึงการตกแต่งร้าน ซอฟต์แวร์กรองเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน รวมทั้งการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ 2007 เพื่อที่เจ้าของร้านจะได้มีความรู้ในการแนะนำลูกค้า และช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนาทักษะการ ทำงานและสามารถใช้ประโยชน์จากไอทีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นายชัยโรจน์ ลายประดิษฐ์ธำรง เจ้าของร้านเอส เกมส์ แอนด์ อินเทอร์เน็ต จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเข้าร่วมโครงการไอ-คาเฟ่ กล่าวว่า ภายในร้านมีเครื่องคอมพิว เตอร์ทั้งหมด 70 เครื่อง ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ จะได้ไม่ต้องมากังวลเกี่ยวกับปัญหาทางด้านกฎหมาย นับตั้งแต่ที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมดังกล่าว รู้สึกพอใจ และลูกค้าก็พอใจเช่นกัน เพราะได้มีโอกาสใช้ซอฟต์ แวร์วินโดว์ส 7 แท้ รวมทั้งสามารถเล่นเกมต่าง ๆ ที่รันบนแพล็ตฟอร์ม ของไมโครซอฟท์ได้

ไทยเป็นประเทศ แรกในโลก ที่นำร่องจัดทำโครงการไอ-คาเฟ่ หลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งไมโครซอฟท์ ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลร้านอินเทอร์เน็ตและร้านเกม ทั่วประเทศ ได้สำรวจความต้องการของ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศส่วนใหญ่พบว่า ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนให้ร้าน อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ มีโอกาสดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องและเหมาะสมในด้านซอฟต์ แวร์ อีกทั้งช่วยเปลี่ยนความคิดของคนส่วนใหญ่ที่คิดว่าร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มีภาพลักษณ์ที่เป็นแหล่งมั่วสุมไปเป็นแหล่งสำหรับการเรียนรู้

นี่เป็นอีกทางเลือกดี ๆ ข่าวดี ๆ ช่วงปีใหม่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่อยากเข้าร่วมในโครงการในช่วงเดือนนี้ (มกราคม 2553) ก็คลิกเข้ามาศึกษาข้อมูลก่อนที่ www.microsoft.com/thailand/get-it-right

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook