สสว.คาดธุรกิจเอสเอ็มอีปี53โต3%

สสว.คาดธุรกิจเอสเอ็มอีปี53โต3%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)คาดการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์เอสเอ็มอีปี 2553 ว่า เศรษฐกิจในส่วนของ SMEs จะกลับมาขยายตัวจากปี 2552 ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.0 โดยสถานการณ์ของธุรกิจ SMEs จะมีแนวโน้มดังนี้คือภาคการเกษตร ผลผลิตและระดับราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2552 อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน การดำเนินมาตรการของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนการผลิตภาคเกษตร รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าเกษตร ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเกิดความแปรปรวนของสภาวะอากาศโลกจนทำให้ปริมาณผลผลิตการเกษตรของประเทศ ผู้ผลิตสินค้าเกษตรบางประเทศลดลง ส่งผลให้ Demand ในสินค้าเกษตรของโลกเพิ่มขึ้นในขณะที่ด้าน Supply ลดลงแต่อย่างไรก็ตามจากผลของข้อตกลง AFTA กับประเทศจีน จะทำให้สินค้าเกษตรของจีนสามารถเข้ามาแข่งขันกับสินค้าเกษตรของไทยได้โดยตรง โดยเฉพาะตลาดในประเทศเนื่องจากไม่มีกำแพงภาษี หรือข้อห้ามด้านชนิดของสินค้าเกษตรที่สามารถนำเข้ามาในประเทศไทยเหมือนใน อดีตภาคการผลิต โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมการผลิต มีแนวโน้มขยายตัวจากปี 2552 อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวโดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดสำคัญของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น อุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งคู่ค้าที่สำคัญ เช่น ออสเตรเลีย เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco Car) ที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จะทำการเปิดตัวในช่วงต้นปีหน้า โดยการที่อุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นหรือขยายตัวจากเดิม ได้ส่งผลต่อเนื่องถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ประกอบการ SMEs เช่น การผลิตยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตวัสดุก่อสร้างก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายรัฐบาลที่กระตุ้นการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรมเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SMEs มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการภาวะการฟื้นตัว ของภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มีความต้องการจากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการทำสัญญาความร่วมมือ JTEPA ทำให้การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่จากผลของข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศจีน ก็จะทำให้มีสินค้าอุตสาหกรรมจากจีนจำนวนมากที่สามารถเข้ามาแข่งขันกับธุรกิจ ภาคการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะการแข่งขันด้านต้นทุนหรือด้านราคาสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยต้องปรับตัวรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนี้ในปี 2553ภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวอันมาจากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2553 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน การผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แนวโน้มสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรุก ดังนั้นจึงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยในปี 2553 มีจำนวนประมาณ 14.8– 15.0 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณร้อยละ 10 แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความกังวลของการระบาดรอบใหม่ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ และความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีความอ่อนไหวภาคการค้า ในปี 2553 มีแนวโน้มการขยายตัวจากปี 2552 อันเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคมีมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจากผลของข้อตกลง AFTA หรือข้อตกลงกับประเทศจีน ก็จะส่งผลต่อทางเลือกในการเลือกสินค้าหรือทำการค้าจากแหล่งสินค้าที่มีต้น ทุนหรือราคาที่ต่ำในการแข่งขันด้วยเช่นกันสำหรับธุรกิจน่าสนใจปี 2553  จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ตามนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาล ซึ่งในส่วนที่เป็นธุรกิจ SMEs ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นไทย เช่น แพทย์แผนไทย อาหารไทย การพิมพ์ การออกแบบ-แฟชั่น หัตถกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ธรรมชาติและวิถีไทย การออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง รวมทั้ง Media Content และ Digital Content ที่นำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ เพลง การโฆษณา ซอฟท์แวร์ เป็นต้นซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์นี้มีข้อได้เปรียบสำคัญ คือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความรู้ ทักษะ ความชำนาญ หรือสิ่งที่เป็นความได้เปรียบสำคัญของวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาไทย ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันในด้านต้นทุนการผลิตหรือด้านราคาสินค้า เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทอื่นๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook